0(0)

ศิลปศึกษา (รหัสวิชา ทช21003) ม.ต้น ตำบลป่ากุมเกาะ ภาคเรียนที่ 2 /2564

สารบัญรายวิชา

2 บทเรียน

แบบทดสอบก่อนเรียน

แบบทดสอบกก่อนเรียน

บทที่ 1 ทัศนศิลป์ไทย?

ความหมายของทัศนศิลป์ ทัศนศิลป์ หมายถึง ศิลปะที่รับรู้ด้วยประสาทสัมผัสทางตา ศิลปะที่มองเห็น เมื่อพิจารณาความหมายที่มีผู้นิยามไว้ จะพบว่าการรับรู้เรื่องราว อารมณ์ ความรู้สึกของงานทัศนศิลป์นั้น จะต้องอาศัยประสาทตาเป็นสำคัญ นั่นคือตาจะรับรู้เกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ที่นำมาประกอบเป็นงานทัศนศิลป์ได้แก่ เส้น รูปร่าง รูปทรง สี แสงเงา และพื้นผิว เป็นต้น โดยศิลปะจะนำสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้มาสร้างสรรค์ผลงานด้วยวิธีการเขียนภาพ ระบายสีบ้าง ปั้นและสลักบ้างหรืองานโครงสร้างเป็นต้น การสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ให้เกิดคุณค่าทางศิลปะได้นั้น ขึ้นอยู่กับความสามารถ ทักษะและความคิดของศิลปินแต่ละคน งานทัศนศิลป์ที่ปรากฏให้เห็นสามารถแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ ทัศนศิลป์ 2 มิติ ได้แก่ ผลงานการเขียนภาพระบายสี ทัศนศิลป์ 3 มิติ ได้แก่ ผลงานประติมากรรม สถาปัตยกรรม เรื่อง ความหมายและความเป็นมาของทัศนศิลป์ไทย           ศิลปะประเภททัศนศิลป์ที่สำคัญของไทย ได้แก่ จิตรกรรม ประติมากรรม และสถาปัตยกรรม มีรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์ไทยที่สะท้อนให้เห็นวิถีชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณี ความเชื่อและรสนิยม เกี่ยวกับความงามของคนไทย           ลักษณะของศิลปะไทย           ศิลปะไทยได้รับอิทธิพลจากธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมในสังคมไทย ซึ่งมีลักษณะเด่น คือ ความงามอย่างนิ่มนวลมีความละเอียดประณีต ซึ่งแสดงให้เห็นถึงลักษณะนิสัยและจิตใจของคนไทยที่ได้สอดแทรกไว้ในผลงานที่สร้างสรรค์ขึ้น    โดยเฉพาะศิลปกรรมที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นศาสนาประจำชาติของไทย อาจกล่าวได้ว่าศิลปะไทยสร้างขึ้นเพื่อส่งเสริมพุทธศาสนา เป็นการเชื่อมโยง และโน้มน้าวจิตใจของประชาชนให้เกิดความเลื่อมใสศรัทธาในพุทธศาสนา

บทที่ 2 ดนตรีไทย

บทที่ 3 นาฏศิลป์ไทย

บทที่ 4 นาฏศิลป์ไทยกับการประกอบอาชีพ?

บทที่ 4 นาฏศิลป์ไทยกับการประกอบอาชีพ เรื่องที่ 4.1 แนวทางการนํานาฏศิลป์ไทยไปใช้ในการประกอบอาชีพนาฏศิลป์ไทยมีแนวทางในการประกอบอาชีพอย่างไร แนวทางในการประกอบอาชีพนาฏศิลป์ไทย ได้แก่ อาชีพการละเล่นพื้นเมืองของแต่ละภาค เช่น 1. อาชีพการแสดงหนังตะลุง 2. อาชีพการแสดงลิเก 3. อาชีพการแสดงหมอลํา เรื่องที่ 4.2 อาชีพการแสดงหนังตะลุง อาชีพการแสดงหนังตะลุงมีขั้นตอนอย่างไร ขั้นตอนการแสดงหนังตะลุง มีการลําดับการเล่น ดังนี้ 1. ตั้งเครื่องเบิกโรง เป็นการทําพิธีเอาฤกษ์ ขอที่ตั้งโรงและปิดเป่าเสนียดจัญไร เริ่มโดยเมื่อคณะหนังขึ้นโรงแล้วนายหนังจะตีกลองนําเอาฤกษ์ ลูกคูณบรรเลงเพลงเชิด ชั้นนี้เรียกว่าตั้งเครื่อง 2. โหมโรง การโหมโรงเป็นการบรรเลงดนตรีล้วน ๆ เพื่อเรียกคนดู และให้นายหนังได้เตรียมพร้อม การบรรเลงเพลงโหมโรงเดิมที่เล่ากันว่าใช้ “เพลงทับ” คือใช้ทับเป็นตัวยืนและ เดินจังหวะทํานองต่าง ๆ กันไป 3. ออกลิงหัวค่ํา เป็นธรรมเนียมการเล่นหนังตะลุงสมัยก่อน ปัจจุบันเลิกเล่นแล้วเข้าใจว่าได้รับทอิธพลจากหนังใหญ่ เพราะรูปที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นรูปจับ มีฤาษีอยู่กลาง ลิงขาวกับลิงดําอยู่คนละข้าง แต่รูปที่แยกเป็นรูปเดี่ยวๆ 3 รูป แบบเดียวกับของหนังตะลุงก็มี 4. ออกฤาษี เป็นการเล่นเพื่อคารวะครู และปัดเป่าเสนียดจัญไร โดยขออํานาจจากพระพรหม พระอิศวร พระนารายณ์ และเทวะอื่น ๆ และบางหนังยังขออํานาจจากพระรัตนตรัยด้วย 5. ออกรูปฉะ หรือรูปจับ คําว่า “ฉะ” คือสู้รบ ออกรูปฉะเป็นการออกรูปจากพระรามกับทศกัณฐ์ให้ต่อสู้กัน วิธีเล่นใช้ทํานองพากย์คล้ายหนังใหญ่ การเล่นชุดนี้หนังตะลุงเลิกเล่นไปนานแล้ว 6. ออกรูปปรายหน้าบท รูปปรายหน้าบท เป็นรูปผู้ชายถือดอกบัวบ้าง ธงชาติบ้าง ถือเป็นตัวแทนของนายหนัง ใช้เล่นเพื่อไหว้ครู ไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์และผู้ที่หนังเคารพนับถือทั้งหมดตลอดทั้งใช้ร้องกลอน ฝากเนื้อฝากตัวกับผู้ชม 7. ออกรูปบอกเรื่อง รูปบอกเรื่องเป็นรูปตลก หนังส่วนใหญ่ใช้รูปขวัญเมืองเล่นเพื่อเป็นตัวแทนของนายหนัง ไม่มีการร้องกลอน มีแต่พูด จุดประสงค์ของการออกรูปนี้เพื่อบอกกล่าวกับผู้ชมถึงเรื่องนิยายที่หนังจะหยิบยกขึ้นแสดง 8. เกี้ยวจอ เป็นการร้องกลอนสั้น ๆ ก่อนตั้งนามเมืองเพื่อให้เป็นคติสอนใจแก่ผู้ชมหรือเป็นกลอนพรรณนา ธรรมชาติและความในใจ กลอนที่ร้องนี้หนังจะแต่งไว้ก่อน และถือว่ามีความคมคาย 9. ตั้งนามเมือง หรือตั้งเมือง เป็นการออกรูปกษัตริย์ โดยสมมติขึ้นเปฺนเมือง ๆ หนึ่งจากนั้นจึงดําเนินเหตุการณ์ไปตามเรื่องที่กําหนดไว้ เรื่องที่ 4.3 อาชีพการแสดงลิเก อาชีพการแสดงลิเก มีขั้นตอนอย่างไร ขั้นตอนการแสดงลิเกมีวิธีการแสดง คือ เดินเรื่องรวดเร็ว ตลกขบขัน เริ่มด้วยโหมโรง 3 ลา จบแล้วบรรเลงเพลงสาธุการ ให้ผู้แสดงไหว้ครู แล้วจึงออกแขก บอกเรื่องที่จะแสดง สมัยก่อนมีการรําถวายมือหรือรําเบิกโรง แล้วจึงดําเนินเรื่อง ต่อมาการรําถวายมือก็เลิกไป ออกแขกแล้วก็จับเรื่องทันที การร่ายรําน้อยลงไปจนเกือบไม่เหลือเลย คงมีเพียงบางคณะที่ยัง ยึดศิลปะการรําอยู่ผู้แสดง เดิมใช้ผู้ชายล้วน ต่อมาแสดงชายจริงหญิงแท้นั้น ผู้แสดงต้องมีปฏิภาณในการร้องและเจรจา ดําเนินเรื่องโดยไม่มีการบอกบทเลย หัวหน้าคณะะเล่าให้ฟังก่อนเท่านั้น นอกจากนี้ การเจรจาต้องดัดเสียงให้ผิดปกติ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของลิเก แต่ตัวสามัญชนและตัว ตลกพูดเสียงธรรมดาเพลงและดนตรี ดําเนินเรื่องใช้เพลงหงส์ทองชั้นเดียว แต่ดัดแปลงให้ด้นได้เนื้อความมาก ๆ แล้วจึงรับด้วยปี่พาทย์ แต่ถ้าเล่นเรื่องต่างภาษา ก็ใช้เพลงที่มีสําเนียงภาษานั้น ๆ ตาม ท่องเรื่อง แต่ด้นให้คล้ายหงส์ทอง ต่อมานายดอกดิน เสือสง่า ได้ดัดแปลงเพลงมอญครวญของ ลิเกบันตนที่ใช้กับบทโศก มาเป็นเพลงแสดงความรักด้วย เรื่องที่แสดง นิยมใช้เรื่องละครนอก ละครใน และเรื่องพงศาวดารจีน มอญ ญวน เช่น สามก๊ก ราชาธิราช การแต่งกาย แต่งตัวด้วยเครื่องประดับสวยงาม เลียนแบบเครื่องทรงกษัตริย์จึงเรียกว่าลิเกทรงเครื่อง “สมัยของแพง” ก็ลดเครื่องแต่งกายที่แพรวพราวลงไป แต่บางคณะก็ยังรักษาแบบแผนเดิมไว้ โดยตัวนายโรงยังแต่งเลียนแบบเครื่องทรงของกษัตริย์ในส่วนที่มิใช่เครื่องต้น เช่น นุ่งผ้ายกทอง สวมเสื้อเข้มขาบหรือเยียรบับ แขนใหญ่ถึงข้อมือ คาดเข็มขัดนอกเสื้อ ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่าง ๆ แต่ดัดแปลงเสียใหม่ เช่น เครื่องสวมศีรษะเครื่องประดับหน้าอก สายสะพาย เครื่องประดับไหล่ ตัวนางนุ่งจีบยกทอง สวมเสื้อแขนกระบอกยาว ห่มสไบปีกแพรวพราว สวมกระบังหน้าต่อยอดมงกุฎ ที่แปลกกว่าการแสดงอื่น ๆ คือสวมถุงเท้ายาวสีขาวแทนการผัดฝุ่นอย่างละคร แต่ไม่สวมรองเท้า สถานที่แสดง ลานวัด ตลาด สนามกว้าง ๆ โดยปลูกเพิงสูงระดับตา ด้านหน้าเป็นที่แสดง ด้านหลังเป็นที่พักที่แต่งตัว เรื่องที่ 4.4 อาชีพการแสดงหมอลํา อาชีพการแสดงหมอลํามีขั้นตอนอย่างไร ขั้นตอนการแสดงหมอลํามีวิธีการแสดง ประกอบด้วยผู้แสดงและผู้บรรเลงดนตรี คือ หมอแคน แบ่งประเภทหมอลําดังนี้ 1. หมอลําพื้น ประกอบด้วยหมอลํา 1 คน หมอแคน 1 คน 2. หมอลํากลอน ประกอบด้วย หมอลํา 2 - 3 คน และหมอแคน 1 - 2 คน 3. หมอลําเรื่องต่อกลอน ประกอบด้วยหมอลําหลายคน เรียก หมอลําหมู่ ดนตรี ประกอบคือ แคน พิณ ฉิ่ง กลอง และเครื่องดนตรีสากล 4. หมอลําเพลิน ประกอบด้วยหมอลําหลายคนและผู้บรรเลงดนตรีหลายคน สถานที่แสดง เป็นมหรสพที่ใช้ในงานเทศกาล งานบวช งานกฐิน งานวันเกิด งานศพ ฯลฯ เป็นมหรสพที่ประชาชนชาวอีสานในอดีตนิยมชมชื่นมาก

แบบทดสอบกลางภาค

เกี่ยวกับผู้สอน

คุณครู จุฑามาศ ล้วนงาม เกิด 26 มีนาคม 2519 สถานที่อยู่ปัจจุบัน 43 หมู่ 5 ตำบลศรีสัชนาลัย อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย 64190 ตำแหน่ง ครู กศน.ตำบลป่ากุมเกาะ สถานที่ทำงาน กศน.อำเภอสวรรคโลก 10/2 ถนนประชาสงเคราะห์ ตำบลเมืองสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย 64110
5.00 (5 การให้คะแนน)

74 รายวิชา

1464 ผู้เรียน

เรียน

ระยะเวลาการลงทะเบียน: Lifetime