0(0)

ศิลปศึกษา ทช21003 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 ระดับ ม.ต้น

หลักสูตรรายวิชา

สาระสําคัญ

มีความรู้ความเข้าใจ มีคุณธรรม จริยธรรม ชื่นชม เห็นคุณค่าความงาม ความไพเราะ ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ทางทัศนศิลป์ไทย ดนตรีไทย นาฏศิลป์ไทย และวิเคราะห์ได้อย่างเหมาะสม

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

อธิบายความหมายของธรรมชาติ ความงาม ความไพเราะของทัศนศิลป์ไทย ดนตรีไทย และนาฏศิลป์ไทย

ขอบข่ายเนื้อหา

1. อธิบายความรู้พืนฐานของ ทัศนศิลป์ไทย ดนตรีไทย และนาฏศิลป์ไทย

2. สร้างสรรค์ผลงานโดยใช้ความรู้พืนฐาน ด้าน ทัศนศิลป์ไทย คนตรีไทย และนาฏศิลป์ไทย

3. ชืนชม เห็นคุณค่าของ ทัศนศิลป์ไทย ดนตรีไทย และนาฏศิลป์ไทย

4. วิเคราะห์ วิพากย์ วิจารณ์ งานด้านทัศนศิลป์ไทย ดนตรีไทย และนาฏศิลป์ไทย

5. อนุรักษ์สืบทอดภูมิปัญญาด้านทัศนศิลป์ไทย ดนตรีไทย และนาฏศิลป์ไทย

บทที่ 1 ทัศนศิลป์ไทย

บทที่ 2 ดนตรีไทย

บทที่ 3 นาฏศิลป์ไทย

บทที่ 4 นาฏศิลป์ไทยกับการประกอบอาชีพ

สื่อการเรียนรู้

1. หนังสือเรียน

2. กิจกรรม

สารบัญรายวิชา

4 บทเรียน

แบบทดสอบก่อนเรียน

แบบทดสอบก่อนเรียนวิชาศิลปศึกษา
แบบทดสอบกอนเรียนวิชาศิลปศึกษา ระดับ ม.ต้น

บทที่ 1 ทัศนศิลป์ไทย

บทที่ 2 ดนตรีไทย

บทที่ 3 นาฏศิลป์ไทย

บทที่ 4 นาฏศิลป์ไทยกับการประกอบอาชีพ

แบบทดสอบกลางภาค?

เรื่อง ความหมายและความเป็นมาของทัศนศิลป์ไทย           ศิลปะประเภททัศนศิลป์ที่สำคัญของไทย ได้แก่ จิตรกรรม ประติมากรรม และสถาปัตยกรรม มีรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์ไทยที่สะท้อนให้เห็นวิถีชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณี ความเชื่อและรสนิยม เกี่ยวกับความงามของคนไทย           ลักษณะของศิลปะไทย           ศิลปะไทยได้รับอิทธิพลจากธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมในสังคมไทย ซึ่งมีลักษณะเด่น คือ ความงามอย่างนิ่มนวลมีความละเอียดประณีต ซึ่งแสดงให้เห็นถึงลักษณะนิสัยและจิตใจของคนไทยที่ได้สอดแทรกไว้ในผลงานที่สร้างสรรค์ขึ้น    โดยเฉพาะศิลปกรรมที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นศาสนาประจำชาติของไทย อาจกล่าวได้ว่าศิลปะไทยสร้างขึ้นเพื่อส่งเสริมพุทธศาสนา เป็นการเชื่อมโยง และโน้มน้าวจิตใจของประชาชนให้เกิดความเลื่อมใสศรัทธาในพุทธศาสนา ดฉาดสีที่ใช้ส่วนใหญ่จะเป็นสีดำ สีน้ำตาล สีเขียว เส้นที่ใช้มักจะเป็นเส้นโค้ง ช่วยให้ภาพดูอ่อนช้อย นุ่มนวล ไม่แข็งกระด้าง จิตรกรรมไทยมักพบในวัดต่างๆเรียกว่า “จิตรกรรมฝาผนัง”              จิตรกรรมไทย จัดเป็นภาพเล่าเรื่องที่เขียนขึ้นด้วยความคิดจินตนาการของคนไทย มีลักษณะตามอุดมคติของช่างไทย คือ           1. เขียนสีแบน ไม่คำนึงถึงแสงและเงา นิยมตัดเส้นให้เห็นชัดเจน และเส้นที่ใช้ จะแสดงความรู้สึกเคลื่อนไหวนุ่มนวล           2. เขียนตัวพระ-นาง เป็นแบบละคร มีลีลา ท่าทางเหมือนกัน ผิดแผกแตกต่าง กันด้วยสีร่างกายและเครื่องประดับ 3. เขียนแบบตานกมอง หรือเป็นภาพต่ำกว่าสายตา โดยมุมมองจากที่สูงลงสู่ ล่าง จะเห็นเป็นรูป เรื่องราวได้ตลอดภาพ           4. เขียนติดต่อกันเป็นตอน ๆ สามารถดูจากซ้ายไปขวาหรือล่างและบนได้ทั่วภาพ โดยขั้นแต่ละตอนของภาพด้วยโขดหิน ต้นไม้ กำแพงเมือง เป็นต้น           5. เขียนประดับตกแต่งด้วยลวดลายไทย มีสีทองสร้างภาพให้เด่นเกิดบรรยากาศ สุขสว่างและมีคุณค่ามากขึ้น           ประติมากรรมไทย           ประติมากรรมเป็นผลงานศิลปกรรมที่เป็นรูปทรง 3 มิติ ประกอบจากความสูง ความกว้างและความนูน หรือความลึก   ประติมากรรมเกิดขึ้นจากกรรมวิธีการสร้างสรรค์แบบต่างๆ เช่น การปั้นและหล่อ การแกะสลัก การฉลุหรือดุน   ประติมากรรมไทยเป็นผลงานการสร้างสรรค์ของบรรพบุรุษ  ส่วนใหญ่เน้นเนื้อหาทางศาสนา มักปรากฏอยู่ตามวัดและวัง มีขนาดตั้งแต่เล็กที่สุด เช่น พระเครื่อง เครื่องรางของขลัง จนถึงขนาดใหญ่ที่สุด เช่น พระอัจนะ หรือพระอัฏฐารส             เมื่อพิจารณาภาพรวมของประติมากรรมไทยอาจแบ่งประติมากรรมออกเป็น 3 ประเภทคือ ประติมากรรมรูปเคารพ ประติมากรรมตกแต่ง และประติมากรรมเพื่อประโยชน์ใช้สอย           ผลงานประติมากรรมไทย แบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท สรุปได้ ดังนี้           1. ประติมากรรมไทยที่เกิดขึ้นจากความเชื่อ ความศรัทธา คตินิยมเกี่ยวข้องกับศาสนา เช่น พระพุทธรูปปางต่างๆ ลวดลายของฐานเจดีย์หรือพระปรางค์ต่างๆ           2. ประติมากรรมไทยพวกเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน  เช่น  โอ่ง  หม้อ  ไห  ครก  กระถาง           3. ประติมากรรมไทยพวกของเล่น ได้แก่ ตุ๊กตาดินปั้น ตุ๊กตาจากกระดาษ  ตุ๊กตาจากผ้า หุ่นกระบอก  ปลาตะเพียนสานใบลาน  หน้ากาก  วัสดุจากเปลือกหอย  ชฎาหัวโขน  ปลาตะเพียนสาน ใบลาน           4. ประติมากรรมไทยพวกเครื่องประดับตกแต่ง เช่น กระถางต้นไม้ โคมไฟดินเผา สถาปัตยกรรมไทย           สถาปัตยกรรมไทย หมายถึง ศิลปะการก่อสร้างของไทย  อันได้แก่ อาคาร บ้านเรือน โบสถ์ วิหาร วัง สถูป และสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ ที่มีมูลเหตุที่มาของการก่อสร้างอาคารบ้านเรือนในแต่ละท้องถิ่น จะมีลักษณะผิดแผกแตกต่างกันไปบ้างตามสภาพทางภูมิศาสตร์ และคตินิยมของแต่ละท้องถิ่น แต่สิ่งก่อสร้างทางศาสนาพุทธ มักจะมีลักษณะที่ไม่แตกต่างกันมากนัก เพราะมีความเชื่อ ความศรัทธาและแบบแผนพิธีกรรมที่เหมือน ๆ กัน           สถาปัตยกรรมไทย สามารถจัดหมวดหมู่ ตามลักษณะการใช้งานได้ ประเภท คือ           1. สถาปัตยกรรมที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัย  ได้แก่  บ้านเรือน ตำหนัก วังและพระราชวัง เป็นต้น บ้านหรือเรือนเป็นที่อยู่อาศัยของสามัญชน ธรรมดาทั่วไป ซึ่งมีทั้งเรือนไม้ และเรือนปูน  เรือนไม้มีอยู่ 2 ชนิด คือ เรือนเครื่องผูก เป็นเรือนไม้ไผ่ ปูด้วยฟากไม้ไผ่ หลังคามุงด้วย ใบจาก หญ้าคา หรือใบไม้ อีกอย่างหนึ่งเรียกว่า เรือนเครื่องสับ เป็นไม้จริงทั้งเนื้ออ่อน และเนื้อแข็ง ตามแต่ละท้องถิ่น หลังคามุง ด้วยกระเบื้อง ดินเผา พื้นและฝาเป็นไม้จริงทั้งหมด ลักษณะเรือน ไม้ของไทยในแต่ละท้องถิ่นแตกต่างกัน และโดยทั่วไปแล้วจะมี ลักษณะสำคัญร่วมกันคือ เป็นเรือนไม้ชั้นเดียว  ใต้ถุนสูง  หลังคาทรงจั่วเอียงลาดชัน           2. สถาปัตยกรรมที่เกี่ยวข้องศาสนา ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในบริเวณสงฆ์ ที่เรียกว่า วัด ซึ่งประกอบไปด้วยสถาปัตยกรรมหลายอย่าง ได้แก่ โบสถ์ เป็นที่กระทำสังฆกรรมของพระภิกษุ วิหารใช้ประดิษฐาน พระพุทธรูปสำคัญ และกระทำสังฆกรรมด้วยเหมือนกัน กุฎิ เป็นที่ อยู่ของพระภิกษุ สามเณร หอไตร เป็นที่เก็บรักษาพระไตรปิฎกและคัมภีร์สำคัญทางศาสนา หอระฆังและหอกลอง เป็นที่ใช้เก็บระฆังหรือกลองเพื่อตีบอกโมงยาม หรือเรียกชุมนุมชาวบ้าน สถูปเป็นที่ฝังศพ  เจดีย์  เป็นที่ระลึกอันเกี่ยว เนื่องกับศาสนา ภาพพิมพ์           การพิมพ์ภาพ หมายถึง การถ่ายทอดรูปแบบจากแม่พิมพ์ออกมาเป็นผลงานที่มีลักษณะเหมือน กันกับแม่พิมพ์ทุกประการ และได้ภาพที่เหมือนกันมีจำนวนตั้งแต่ 2 ชิ้นขึ้นไป การพิมพ์ภาพเป็นงานที่พัฒนาต่อเนื่องมาจากการวาดภาพ ซึ่งการวาดภาพไม่สามารถ สร้างผลงาน 2 ชิ้น ที่มีลักษณะเหมือน กันทุกประการได้ จึงมีการพัฒนาการพิมพ์ขึ้นมา ชาติจีนเป็นชาติแรกที่นำเอาวิธีการพิมพ์มาใช้อย่างแพร่หลายมานานนับพันปี    จากนั้นจึงได้แพร่หลายออกไปในภูมิภาคต่างๆของโลก   ชนชาติทางตะวันตกได้พัฒนาการพิมพ์ภาพขึ้นมาอย่างมากมาย มีการนำเอาเครื่องจักรกลต่างๆ เข้ามาใช้ในการพิมพ์   ทำให้การพิมพ์มีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน           การพิมพ์ภาพมีองค์ประกอบที่สำคัญดังนี้           1. แม่พิมพ์ เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการพิมพ์           2. วัสดุที่ใช้พิมพ์ลงไป           3. สีที่ใช้ในการพิมพ์           4. ผู้พิมพ์           ผลงานที่ได้จากการพิมพ์มีชนิด คือ           1. ภาพพิมพ์ เป็นผลงานพิมพ์ที่เป็นภาพต่างๆ เพื่อความสวยงามหรือบอกเล่าเรื่องราวต่าง ๆ อาจมี ข้อความ ตัวอักษรหรือตัวเลขประกอบหรือไม่มีก็ได้            2. สิ่งพิมพ์ เป็นผลงานพิมพ์ที่ใช้บอกเล่าเรื่องราวต่างๆ เป็นตัวอักษร ข้อความ ตัวเลข อาจมี ภาพประกอบหรือไม่มีก็ได้           ประเภทของการพิมพ์ การพิมพ์แบ่งออกได้หลายประเภทตามลักษณะต่าง ดังนี้           1. แบ่งตามจุดมุ่งหมายในการ พิมพ์ ได้ 2 ประเภท คือ               1.1 ศิลปภาพพิมพ์ เป็นงานพิมพ์ภาพเพื่อให้เกิดความสวยงามเป็น งานวิจิตรศิลป์               1.2 ออกแบบภาพพิมพ์ เป็นงานพิมพ์ภาพประโยชน์ใช้สอย  นอกเหนือไปจากความสวยงาม ได้แก่ หนังสือต่างๆ บัตรภาพต่างๆ ภาพโฆษณา ปฏิทิน ฯลฯ จัดเป็นงาน ประยุกต์ศิลป์           2. แบ่งตามกรรมวิธีในการพิมพ์ ได้ 2 ประเภท คือ               2.1 ภาพพิมพ์ต้นแบบ เป็นผลงานพิมพ์ที่สร้างจากแม่พิมพ์และวิธีการพิมพ์ที่ถูกสร้างสรรค์ และกำหนดขึ้นโดยศิลปินเจ้าของผลงานและเจ้าของผลงาน จะต้องลงนามรับรองผลงานทุกชิ้น บอกลำดับที่ในการพิมพ์ เทคนิคการพิมพ์               2.2 ภาพพิมพ์จำลองแบบ   เป็นผลงานพิมพ์ที่สร้างจากแม่พิมพ์ หรือวิธีการพิมพ์วิธีอื่น ซึ่งไม่ใช่วิธีการเดิมแต่ได้รูปแบบเหมือนเดิม บางกรณีอาจเป็นการ ละเมิดลิขสิทธิ์ผู้อื่น           3. แบ่งตามจำนวนครั้งที่พิมพ์ ได้ 2 ประเภท คือ               3.1 ภาพพิมพ์ถาวร เป็นภาพพิมพ์ที่พิมพ์ออกมาจากแม่พิมพ์ใดๆ ที่ได้ผลงานออกมามีลักษณะเหมือนกันทุกประการ ตั้งแต่ 2 ชิ้นขึ้นไป               3.2 ภาพพิมพ์ครั้งเดียว เป็นภาพพิมพ์ที่พิมพ์ออกมาได้ผลงานเพียงภาพเดียว ถ้าพิมพ์อีกจะได้ผลงานที่ไม่เหมือนเดิม           4. แบ่งตามประเภทของแม่พิมพ์ ได้ 4 ประเภท คือ                4.1 แม่พิมพ์นูน เป็นการพิมพ์โดยให้สีติดอยู่บนผิวหน้าที่ทำให้นูนขึ้นมาของแม่พิมพ์ ภาพที่ได้เกิดจากสีที่ติดอยู่ในส่วนบนนั้น    แม่พิมพ์นูนเป็นแม่พิมพ์ที่ทำขึ้นมาเป็นประเภทแรก ภาพพิมพ์ชนิดนี้ได้แก่ ภาพพิมพ์แกะไม้ ในอดีตผู้คนมักจะหาวิชาความรู้ได้จากในวัดเพราะวัดจะเป็นศูนย์กลางของนักปราชญ์หรือผู้รู้ ใช้เป็นสถานที่ในการเผยแพร่วิชาความรู้ต่างๆ จิตรกรรมฝาผนังที่เขียนตามศาลา โบสถ์ วิหารก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่เราจะหาความรู้ในเรื่องต่างๆ ได้   โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับพุทธประวัติ ชาดก วรรณคดีและนิทานพื้นบ้าน   ซึ่งนอกจากจะได้ความรู้ในเรื่องศาสนา ประวัติศาสตร์ วรรณคดีแล้ว เรายังได้อรรถรสแห่งความสนุกสนานเพลิดเพลินกับความสวยงามของภาพวาดเหล่านี้อีกด้วย                4.2  แม่พิมพ์ร่องลึก เป็นการพิมพ์โดยให้สีอยู่ในร่องที่ทำให้ลึกลงไปของแม่พิมพ์โดยใช้แผ่นโลหะทำเป็นแม่พิมพ์ ( แผ่นโลหะที่นิยมใช้คือแผ่นทองแดง ) และทำให้ลึกลงไปโดยใช้น้ำกรดกัด แม่พิมพ์ร่องลึกนี้พัฒนาขึ้นโดย ชาวตะวันตก สามารถพิมพ์งานที่มีความ ละเอียด คมชัดสูง สมัยก่อนใช้ในการพิมพ์   หนังสือ  พระคัมภีร์  แผนที่  เอกสารต่างๆ แสตมป์  ธนบัตร  ปัจจุบันใช้ใน การพิมพ์งานที่เป็นศิลปะ และธนบัตร           4.3  แม่พิมพ์พื้นราบ เป็นการพิมพ์โดยให้สีติดอยู่บนผิวหน้า ที่ราบเรียบของแม่พิมพ์ โดยไม่ต้องขุดหรือแกะพื้นผิวลงไป   แต่ใช้สารเคมีเข้าช่วย   ภาพพิมพ์ชนิดนี้ได้แก่  ภาพพิมพ์หิน การพิมพ์ออฟเซท ภาพพิมพ์กระดาษ ภาพพิมพ์ครั้งเดียว           4.4  แม่พิมพ์ฉลุ เป็นการพิมพ์โดยให้สีผ่านทะลุช่องของแม่พิมพ์ลงไปสู่ผลงานที่อยู่ด้านหลัง เป็นการพิมพ์ชนิดเดียวที่ได้รูปที่มีด้านเดียวกันกับแม่พิมพ์ ไม่กลับซ้าย เป็นขวา ภาพพิมพ์ชนิดนี้ได้แก่ ภาพพิมพ์ฉลุ ภาพพิมพ์ตะแกรงไหม ในอดีตผู้คนมักจะหาวิชาความรู้ได้จากในวัดเพราะวัดจะเป็นศูนย์กลางของนักปราชญ์หรือผู้รู้  ใช้เป็นสถานที่ในการเผยแพร่วิชาความรู้ต่างๆ จิตรกรรมฝาผนังที่เขียนตามศาลา โบสถ์ วิหารก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่เราจะหาความรู้ในเรื่องต่างๆ ได้โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับพุทธประวัติ ชาดก   วรรณคดีและนิทานพื้นบ้าน   ซึ่งนอกจากจะได้ความรู้ในเรื่องศาสนา ประวัติศาสตร์ วรรณคดีแล้ว เรายังได้อรรถรสแห่งความสนุกสนานเพลิดเพลินกับความสวยงามของภาพพิมพ์ต่าง ๆ เหล่านี้อีกด้วย

เกี่ยวกับผู้สอน

0 (0 การให้คะแนน)

56 รายวิชา

687 ผู้เรียน

เรียน

ระยะเวลาการลงทะเบียน: Lifetime