0(0)

วิชา โรคอุบัติใหม่ รหัสวิชา ทช3200014 ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ภาคเรียนที่ 2/2566 ศกร.ตำบลย่านยาว

หลักสูตรรายวิชา

 

โครงสร้างหนังสือแบบเรียน

ทช3200014  โรคอุบัติใหม่

สาระทักษะการดำเนินชีวิต

 

มาตรฐานการเรียนรู้ระดับ

รู้ เข้าใจ มีคุณธรรม จริยธรรม เจตคติที่ดี มีทักษะในการดูแล และสร้างเสริมการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีปฏิบัติจนเป็นกิจนิสัย วางแผนพัฒนาสุขภาพดำรงสุขภาพของตนเองและครอบครัว ตลอดจนสนับสนุนให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการส่งเสริมด้านสุขภาพพลานามัยและพัฒนาสภาพแวดล้อมที่ดี

ตัวชี้วัด

  1. บอกความหมายโรคอุบัติใหม่ได้
  2. อธิบาย ความสำคัญ การเตรียมความพร้อมเรื่องโรคอุบัติใหม่ได้
  3. อธิบายเกี่ยวกับโรคอุบัติใหม่ในประเทศไทยได้
  4. 4. เจตคติที่ดีเกี่ยวกับการดูแลส่งเสริมอนามัยของตนเองต่อการป้องกันและการควบคุมโรคอุบัติใหม่ได้
  5. ทักษะการปฏิบัติตนในการดูแลสุขภาพอนามัยของตนเองและการแก้ปัญหาโรคอุบัติใหม่ได้

สาระสำคัญ

โรคอุบัติใหม่ (Emerging infectious diseases) นอกจากก่อให้เกิดผลกระทบโดยตรง ต่อสุขภาพของประชาชนแล้ว ยังทำให้เกิดความ เสียหายต่อทั้งทรัพยากร เศรษฐกิจ หรือแม้แต่ความมั่นคงของประเทศ ตลอดระยะเวลา 20 ปี ที่ผ่านมามีโรคอุบัติใหม่ปรากฏขึ้นมากมาย แม้ว่าการระบาดของโรคอุบัติใหม่บางโรคได้สิ้นสุดลงแล้ว แต่ก็มีอีกหลายโรคที่ยังคงระบาดต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน และโดยเฉพาะขณะนี้ เกิดการระบาดของโรคโควิด-19 ทำใหม่มีผู้ติดเชื้อหลายล้านราย และผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ยิ่งตอกย้ำความสำคัญ ของปัญหาโรคอุบัติใหม่ ถึงแม้ที่ผ่านมาเราไม่สามารถคาดการณ์ได้ล่วงหน้าว่าจะเกิดโรคอุบัติใหม่ชนิดไหน ที่ไหน หรือเมื่อไหร่ แต่หากได้เข้าใจถึงกลไกการเกิดโรคอุบัติใหม่ โดยเฉพาะ สาเหตุหรือปัจจัยที่สนับสนุนการอุบัติขึ้นและการระบาดของโรคเหล่านี้ ก็น่าจะเป็นพื้นฐานของการ วางแผนมาตรการสำหรับป้องกันและควบคุมโรคที่อาจจะอุบัติขึ้นใหม่ในอนาคต

เพื่อเตรียมความพร้อมการศึกษาในศตวรรษที่ 21 สถานการณ์โลกมีความแตกต่างจากศตวรรษที่ 20 และ 19 ระบบการศึกษา ต้องมีการพัฒนาเพื่อให้สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 โดยวิชาแกนหลักนี้จะนำไปสู่การกำหนดเป็นกรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์สำคัญต่อการจัดการเรียนรู้ในเนื้อหาเชิงสหวิยาการ หรือหัวข้อสำหรับศตวรรษที่ 21 โดยการส่งเสริมความเข้าใจในเนื้อหาวิชาแกนหลักและสอดแทรกทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เข้าไปในทุกวิชาแกนหลักความรู้ด้านสุขภาพ  ยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ที่เป็นโจทย์ในหลายประเด็นทั้งในเรื่องพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิตการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ที่ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21  สอดคล้องนโยบาย กศน.ปรับปรุงและพัฒนาโครงสร้างและระบบบริหารจัดการองค์กรปัจจัยพื้นฐานในการจัดการศึกษาและการประชาสัมพันธ์สร้างความรู้ต่อสาธารณชน  สมรรถนะ กศน. ข้อที่ 2 การจัดการตนเอง  ความสามารถในการใช้กระบวนการดำเนินชีวิต  และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียนของสถานศึกษา ข้อ 3 ผู้เรียนการศึกษาขั้นพื้นฐานมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์  คิดอย่างมีวิจารณญาณและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกับผู้อื่น ข้อ 8 ผู้จบการศึกษาขั้นพื้นฐานนำความรู้  ทักษะพื้นฐานที่ได้รับไปใช้หรือประยุกต์ใช้

 

ขอบข่ายเนื้อหา

  1. ความหมาย ความสำคัญ การเตรียมความพร้อมเรื่องโรคอุบัติใหม่

และสถานการณ์โรคอุบัติใหม่ในประเทศไทย             จำนวน  40  ชั่วโมง

  1. โรคอุบัติใหม่ในประเทศไทย จำนวน 40  ชั่วโมง
  2. แนวทางการป้องกัน การควบคุมโรค และการแก้ปัญหาโรคอุบัติใหม่

จำนวน  40  ชั่วโมง

 

สื่อประกอบการเรียนรู้ 

  1. หนังสือแบบเรียน โรคอุบัติใหม่ รหัสรายวิชา ทช3200014
  2. สื่อเสริมการเรียนรู้อื่น ๆ

จำนวนหน่วยกิต 

3 หน่วยกิต (120 ชั่วโมง)

กิจกรรมเรียนรู้ 

  1. ทำแบบทดสอบก่อนเรียน และตรวจสอบคำตอบจากเฉลยท้ายเล่ม
  2. ศึกษาเนื้อหาสาระในหน่วยการเรียนรู้ทุกบทเรียน
  3. ทำกิจกรรมตามที่กำหนด
  4. ทำแบบทดสอบหลังเรียน และตรวจสอบคำตอบจากเฉลยท้ายเล่ม

การประเมินผล 

  1. ทำแบบทดสอบก่อนเรียน – หลังเรียน
  2. ทำกิจกรรมในแต่ละบทเรียน
  3. เข้ารับการทดสอบปลายภาค

 

สารบัญรายวิชา

3 บทเรียน

บทที่ 1 โรคอุบัติใหม่

เนื้อหาบทที่ 1 โรคอุบัติใหม่
แบบฝึกหัด บทที่ 1 โรคอุบัติใหม่ (10 คะแนน)

บทที่ 2 โรคอุบัติใหม่ในประเทศไทย

บทที่ 3 แนวทางการป้องกัน การควบคุมโรค และการแก้ปัญหาโรคอุบัติใหม่

เกี่ยวกับผู้สอน

ครูวชิรญา ศรีสวัสดิ์ เกิดวันที่ 22 มีนาคม 2526 บ้านเลขที่ 116 ม.6 ต.ย่านยาว อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย ตำแหน่ง ครู กศน.ตำบลย่านยาว สถานที่ทำงาน กศน.อำเภอสวรรคโลก 10/2 ถ.ประชาสงเคราะห์ ต.เมืองสวรรคโลก อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย 64110
5.00 (9 การให้คะแนน)

73 รายวิชา

1795 ผู้เรียน

เรียน

ระยะเวลาการลงทะเบียน: Lifetime