5.00(2)

วิชา ภาษาไทย พท31001 ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย กศน.ตำบลเมืองบางขลัง ภาคเรียนที่ 1/2566

  • ลงทะเบียนแล้ว 217
  • อัปเดตล่าสุด 12 กันยายน 2023

หลักสูตรรายวิชา

รายละเอียดคําอธิบายรายวิชา พท ภาษาไทย จํานวน 5 หน่วยกิต  ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

มาตรฐานการเรียนร้ระดับ

การฟัง การดู

1. สามารถเลือกสือ ในการฟัง และดูอย่างสร้างสรรค์
2. สามารถฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ
3. เป็นผู้มีมารยาทในการฟังและดู
การพูด

1. สามารถพูด ทั้งทีเป็นทางการและไม่เป็นทางการ โดยใช้ภาษาถูกต้องเหมาะสม
2. สามารถแสดงความคิดเห็นเชิงวิเคราะห์ และประเมินค่าการใช้ภาษาพูดจากสือต่างๆ
3. มีมารยาทในการพูด
การอ่าน

1. สามารถอ่านอย่าง มีวิจารณญาณ จัดลําดับความคิดจากเรืองที่อ่าน
2. สามารถศึกษาภาษาถิ่น สํานวน สุภาษิตทีมีอยู่ในวรรณคดี วรรณกรรมปัจจุบันและวรรณกรรมท้องถิ่น
3. สามารถวิเคราะห์ วิจารณ์ ประเมินค่าองค์ประกอบของวรรณคดี วรรณกรรมปัจจุบันวรรณกรรมท้องถิ่น
4. สามารถค้นคว้าหาความรู้จากสือสิงพิมพ์และสือสารสนเทศ
5. ปฏิบัติตนเป็ นผู้มีมารยาทในการอ่าน และนิสัยรักการอ่าน

การเขียน

1. รู้และเข้าใจหลักการเขียนประเภทต่างๆ โดยใช้คําในการเขียนได้ตรงความหมาย และถูกต้องตามอักขระวิธีและระดับภาษา
2. สามารถวิพากษ์วิจารณ์และประเมินงานเขียนของผู้อืน เพือนํามาพัฒนางานเขียน
3. สามารถแต่งคําประพันธ์ประเภทร้อยแก้วและร้อยกรอง
4. มีมารยาทในการเขียน และนิสัยรักการเขียน

หลักการใช้ภาษา

1. รู้และเข้าใจธรรมชาติของภาษา
2. สามารถใช้ภาษาสร้างมนุษยสัมพันธ์ในการปฏิบัติงานร่วมกับผู้อืน และใช้คําราชาศัพท์คําสุภาพได้ถูกต้องตามฐานะของบุคคล

วรรณคดี วรรณกรรม สามารถวิเคราะห์และเห็นคุณค่าวรรณคดี วรรณกรรมปัจจุบัน และวรรณกรรมท้องถิ่นโดยใช้หลักการพินิจวรรณคดี

ภาษาไทยกับการประกอบอาชีพ

1. ใช้ความรู้ด้านการพูดภาษาไทยเพือการประกอบอาชีพ
2. ใช้ความรู้ด้านการเขียนภาษาไทยเพือการประกอบอาชีพ

สารบัญรายวิชา

17 บทเรียน

แบบทดสอบก่อนเรียน

แบบทดสอบก่อนเรียน

บทที่ 1 การฟัง การดู?

เรื่องที่ 1 การเลือกสื่อในการฟังและดู สังคมปัจจุบันช่องทางการนําเสนอข้อมูลให้ดูและฟังจะมีมากมาย ดังนั้น ผู้เรียนควรรู้จักเลือกที่จะ ดูและฟัง เมื่อได้รับรู้ข้อมูลแล้ว การรู้จักวิเคราะห์ วิจารณ์ เพื่อนําไปใช้ในทางสร้างสรรค์ เป็นสิ่งจําเป็น เพราะผลที่ตามมาจากการดูและฟังจะเป็นผลบวกหรือลบแก่สังคม ก็ขึ้นอยู่กับการนําไปใช้ นั่นคือผลดี จะเกิดแก่สังคมก็เมื่อผู้ดูและฟังนําผลที่ได้นั้นไปใช้อย่างสร้างสรรค์ หรือในปัจจุบันจะมีสํานวนที่ใช้กัน อย่างแพร่หลายว่าคิดบวก ปะประเภทของสื่อในการนําไปใช้ประโยชน์ มีดังนี้ 1. สื่อโฆษณา สื่อประเภทนี้ผู้ฟังต้องรู้จุดมุ่งหมาย เพราะส่วนใหญ่จะเป็นการสื่อให้คล้อยตาม อาจไม่สมเหตุสมผล ผู้ฟังต้องพิจารณาไตร่ตรองก่อนซื้อหรือก่อนตัดสินใจ 2. สื่อเพื่อความบันเทิง เช่น เพลง, เรื่องเล่า ซึ่งอาจมีการแสดงประกอบด้วย เช่น นิทาน นิยาย หรือสื่อประเภทละคร สื่อเหล่านี้ผู้รับสารต้องระมัดระวัง ใช้วิจารณญาณประกอบการตัดสินใจก่อนที่จะ ซื้อหรือทําตาม 3. ข่าวสาร สื่อประเภทนี้ผู้รับสารต้องมีความพร้อมพอสมควร เพราะควรต้องรู้จักแหล่งข่าว ผู้นําเสนอข่าว การจับประเด็น ความมีเหตุมีผล รู้จักเปรียบเทียบเนื้อหาจากที่มาของข่าวหลาย ๆ แห่ง เป็นต้น 4. ปาฐกถา เนื้อหาประเภทนี้ผู้รับสารต้องฟังอย่างมีสมาธิเพื่อจับประเด็นสําคัญให้ได้ และก่อน ตัดสินใจเชื่อหรือนําข้อมูลส่วนใดไปใช้ประโยชน์ต้องมีความรู้พื้นฐานในเรื่องนั้น ๆ อยู่บ้าง 5. สุนทรพจน์ สื่อประเภทนี้ส่วนใหญ่จะไม่ยาว และมีใจความที่เข้าใจง่าย ชัดเจน แต่ผู้ฟงจะตอง รู้จักกลั่นกรองสิ่งที่ดีไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติ หลักการฟังและดูอย่างสร้างสรรค์ 1. ต้องเข้าใจความหมาย 2. ต้องเข้าใจลักษณะของข้อความ 3. ต้องเข้าใจในลักษณะประโยคใจความ 4. ต้องรู้จักประเภทของสาร 5. ต้องตีความในสารได้ตรงตามเจตนาของผู้ส่งสาร 6. ตั้งใจฟังและดูให้ตลอดเรื่อง 7. สรุปใจความสําคัญ วิจารณญาณในการฟังและดู พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานได้ให้ความหมายของ วิจารณญาณไว้ว่าปัญญาที่สามารถรูปหรือให้เหตุผลที่ถูกต้อง คํานี้มาจากคําว่า วิจารณ์ ซึ่งแปลว่า การคิดใคร่ครวญโดยใช้เหตุผลและคําว่า ญาณ ซึ่งแปลว่าปัญญาหรือความรู้ในชั้นสูง วิจารณญาณในการฟังและดู คือ การรับสารให้เข้าใจเนื้อหาสาระโดยอาศัยความรู้ ความคิด เหตุผล และประสบการณ์ประกอบการใช้ปัญญาคิดใคร่ครวญแล้วสามารถนําไปใช้ได้อย่างเหมาะสม การฟังและดูให้เกิดวิจารณญาณนั้นมีขั้นตอนในการพัฒนาเป็นลําดับบางทีก็อาจเป็นไปอย่าง รวดเร็ว บางทีก็ต้องอาศัยเวล ทั้งนี้ ยอมขึ้นอยู่กับพื้นฐานความรู้ ประสบการณ์ของบุคคลและ ความยุ่งยากซับซ้อนของเรื่องหรือสารที่ฟัง

บทที่ 2 การพูด

บทที่ 3 การอ่าน

บทที่ 4 การเขียน

บทที่ 5 หลักการใช้ภาษา

บทที่ 6 ภาษาไทยกับช่องทางการประกอบอาชีพ

แบบทดสอบหลังเรียน

สอบกลางภาค 10 คะแนน

วิดิโอสรุปเนื้อหาสำคัญ รายวิชาภาษาไทย พท31001

วิดิโอติวข้อสอบ วิชาภาษาไทย พท31001

เกี่ยวกับผู้สอน

ครูทิพย์รัตน์ บุตะเคียน เกิดวันที่ 5 ธันวาคม 2523 สถานที่เกิด จังหวัดศรีสะเกษ ที่อยู่ปัจจุบัน 1/2 ตำบลหนองกลับ อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย ตำแหน่ง ครู กศน.ตำบล สถานที่ทำงาน กศน.อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย
4.22 (9 การให้คะแนน)

56 รายวิชา

1333 ผู้เรียน

ความคิดเห็นจากผู้เรียน

5.0

Total 2 Ratings

5
2 การให้คะแนน
4
0 คะแนน
3
0 คะแนน
2
0 คะแนน
1
0 คะแนน
เรียน

ระยะเวลาการลงทะเบียน: Lifetime