0(0)

รายวิชา ภาษาไทย (พท21001) ม.ต้น (2/2565)

หลักสูตรรายวิชา

โครงสร้างรายวิชาภาษาไทย (พท21001)
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
สาระสำคัญ
1. การอ่านเป็นทักษะทางภาษาที่สำคัญเพราะช่วยให้สามารถรับรู้ข่าวสารและเหตุการณ์
ต่าง ๆ ของสังคม ทำให้ปรับตัวได้กับความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการต่าง ๆ สามารถวิเคราะห์ วิจารณ์
และนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
2. การเขียนเป็นการสื่อสารที่จัดระบบความคิด การเลือกประเด็น การเลือกสรรถ้อยคำ
เพื่อถ่ายทอดเป็นตัวอักษรในการสื่อความรู้ ความคิด ประสบการณ์ อารมณ์ ความรู้สึก จากผู้เขียนไปยัง
ผู้อ่าน
3. การฟัง การดู และการพูด เป็นทักษะที่สำคัญของการสื่อสารในการดำเนินชีวิตประจำวัน
จึงจำเป็นต้องเข้าใจหลักการเบื้องต้น และต้องคำนึงถึงมารยาทในการฟัง การดูและการพูดด้วย
4. การใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องตามหลักภาษา ทำให้เกิดความภาคภูมิใจในภูมิปัญญาของ
คนไทยจึงต้องตระหนักถึงความสำคัญของภาษาและต้องอนุรักษ์ภาษาไทยไว้เป็นสมบัติของชาติ
สืบต่อไป
5. การใช้ทักษะทางภาษาไทยในการแสวงหาความรู้ การเข้าใจระดับของภาษาสามารถ
ใช้คำพูดและเขียนได้ดี ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและส่วนรวม
6. วรรณคดีไทยเป็นมรดกของภาษาและวัฒนธรรมที่มีคุณค่า เป็นมรดกทางปัญญาของคนไทย
แสดงถึงความรุ่งเรืองของวัฒนธรรมทางภาษา เป็นการเชิดชูความเป็นอารยะของชาติ
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
เมื่อศึกษาชุดวิชาแล้ว ผู้เรียนสามารถ
1. จับใจความสำคัญ และเล่าเรื่องได้ ตีความได้ อ่านในใจและอ่านออกเสียง วิเคราะห์
วิจารณ์ ประเมินค่าได้ เลือกหนังสือและสารสนเทศได้และมีมารยาทในการอ่านและมีนิสัยรักการอ่าน
2. อธิบายการเขียนเบื้องต้นได้ เขียนเรียงความ ย่อความ เขียนจดหมาย เขียนโต้แย้ง
เขียนรายงาน เขียนคำขวัญ เขียนประกาศ เขียนเชิญชวน กรอกแบบรายการ แต่งคำประพันธ์
บอกคุณค่าของถ้อยคำภาษาและสามารถเลือกใช้ถ้อยคำในการประพันธ์ เขียนอ้างอิง เขียนเลขไทย
ได้ถูกต้องสวยงาม
3. บอกหลักเบื้องต้น และจุดมุ่งหมายของการฟัง การดูและการพูดได้ และสามารถพูด
ในโอกาสต่าง ๆ ได้
4. บอกลักษณะสำคัญของภาษาและการใช้ภาษาในการสื่อการ ใช้พจนานุกรมและสารานุกรม
ในชีวิตประจำวันได้
5. บอกชนิดและหน้าที่ของคำ ประโยค และนำไปใช้ได้ถูกต้อง
6. ใช้เครื่องหมายวรรคตอน อักษรย่อ คำราชาศัพท์ หลักการประชุม การอภิปราย
การโต้วาที
7. บอกความหมายของวรรณคดีและวรรณกรรม องค์ประกอบและรูปแบบลักษณะเด่นของ
วรรณคดีได้
8. บอกความหมายของวรรณกรรมมุขปาฐะ และวรรณกรรมลายลักษณ์ได้
9. บอกความหมายและลักษณะเด่นของวรรณกรรมท้องถิ่น ประเภทรูปแบบของวรรณกรรมไทย
ปัจจุบันได้
10. อ่านวรรณคดีและวรรณกรรม บอกแนวความคิด ค่านิยม คุณค่าหรือแสดงความคิดเห็นได้
11. บอกลักษณะสำคัญและคุณค่าของเพลงพื้นบ้าน และบทกล่อมเด็กพร้อมทั้งร้องเพลงพื้นบ้าน
และบทกล่อมเด็กได้
ขอบข่ายเนื้อหา
บทที่ 1 การฟัง การดู
บทที่ 2 การพูด
บทที่ 3 การอ่าน
บทที่ 4 การเขียน
บทที่ 5 หลักการใช้ภาษา
บทที่ 6 วรรณคดี และวรรณกรรม
บทที่ 7 ภาษาไทยกับการประกอบอาชีพ

สารบัญรายวิชา

51 บทเรียน

บทที่ 1 การฟัง การดู?

1. สรุปความจับประเด็นสำคัญของเรื่องที่ฟังและดู 2. วิเคราะห์ความน่าเชื่อถือ จากการฟัง และดูสื่อโฆษณา และข่าวสารประจำวัน อย่างมีเหตุผล 3. วิเคราะห์การใช้น้ำเสียง กิริยา ท่าทาง ถ้อยคำของผู้พูด อย่างมีเหตุผล 4. ปฏิบัติตนเป็นผู้มีมารยาทในการฟังและดู
ตัวชี้วัด บทที่ 1 การฟัง การดู
ความคิดรวบยอด บทที่ 1 การฟัง การดู
เรื่องที่ 1 หลักเบื้องต้นของการฟังและการดู
เรื่องที่ 2 หลักการฟังเพื่อจับใจความสำคัญ
เรื่องที่ 3 หลักการฟัง การดู อย่างมีวิจารณญาณ
เรื่องที่ 4 มารยาทในการฟัง การดู
วิดีโอการสอน บทที่ 1 การฟังและการดู7:50
ใบงาน บทที่ 1 การฟัง การดู (10 คะแนน)

บทที่ 2 การพูด

บทที่ 3 การอ่าน

บทที่ 4 การเขียน

บทที่ 5 หลักการใช้ภาษา

บทที่ 6 วรรณคดี และวรรณกรรม

บทที่ 7 ภาษาไทยกับช่องทางการประกอบอาชีพ

เกี่ยวกับผู้สอน

นางสาวกัลยา สุขเพียง ชื่อเล่น ครูเปิ้ล ตำแหน่ง ครู กศน.ตำบลวังพิณพาทย์ สถานที่ทำงาน กศน.อำเภอสวรรคโลก 10/2 ถ.ประชาสงเคราะห์ ต.เมืองสวรรคโลก อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย 64110 ข้อมูลการติดต่อ เบอร์โทร 0924096916
0 (0 การให้คะแนน)

18 รายวิชา

224 ผู้เรียน

เรียน

ระยะเวลาการลงทะเบียน: Lifetime