0(0)

รายวิชาวัสดุศาสตร์3 พว32034 ภาคเรียน2/2566 ระดับม.ปลาย ศกร.ตำบลนาทุ่ง

หลักสูตรรายวิชา

สาระสำคัญ

1 วัสดุศาสตร์ Materials( Science) หมายถึง การศึกษาที่เกี่ยวข้องกับวัตถุเป็นการนำความรูทางวิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ เพื่ออธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่าง องค์ประกอบพื้นฐานของวัสดุ และสมบัติของวัสุด ซึ่งความรู้ ดังกล่าวจะนำมาผลิตหรือผลิตภัณฑ์เพื่อแก้ปัญหาหรืออธิบายสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับวัสดุและสมบัติที่สนในได้แก่ โลหะ พลาสติก หรือ พอลิเมอร์ และเซรามิกส์ โดยวัสดุศาสตร์ มีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์จึงถือได้ว่าจะเป็นส่วนหนึ่งปัจจัยพื้นฐานในการดำเนินชีวิตและเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาประประเทศให้ก้าวทันเทคโนโลยีที่ทันสมัยในต่างๆในอนาคต

2.มนุษย์มีความผูกพันกับวัสดุศาสตร์มาเป็นเวลาช้านาน โดยเราสามารถพัฒนาสมบัติของวัสดุให้สามารถใช้งานในด้านต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน ในการพัฒนาสมบัติของวัสดุย่อมเกิดมลพิษจากการผลิตและการใช้งานวัสดุ และเกิดผลกระทบที่เกิดจากการใช้วัสดุต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมได้

3.การคัดแยกวัสดุที่ใช้แล้วเป็นวิธีการลดปริมาณวัสดุที่ใช้แล้วที่เกิดขึ้นจากต้นทาง ได้แก่ ครัวเรือน สถานประกอบการต่าง ๆ ก่อนทิ้ง ในการจัดการวัสดุที่ใช้แล้ว จำเป็นต้องจัดให้มีระบบการคัดแยกวัสดุที่ใช้แล้ว ประเภทต่าง ๆ ตามแต่ลักษณะองค์ประกอบโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำกลับไปใช้ประโยชน์ใหม่ โดยจัดวางภาชนะให้เหมาะสม ตลอดจนวางระบบการเก็บรวบรวมวัสดุที่ใช้แล้วอย่างมีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับระบบการคัดแยกวัสดุที่ใช้แล้ว เพื่อเป็นการสะดวกแก่ผู้เก็บขนและสามารถนำวัสดุที่ใช้แล้วบางชนิดไปขายเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับตนเองและครอบครัว รวมทั้งง่ายต่อการนำไปกำจัด หลัก 3R เป็นหลักการจัดการเศษวัสดุ เพื่อลดปริมาณเศษวัสดุ ได้แก่ รีดิวซ์ (Reduce) คือ การใช้น้อยหรือลดการใช้ รียูส (Reuse) คือ การใช้ซ้ำ และ รีไซเคิล (Recycle) คือ การผลิตใช้ใหม่ ใช้เป็นแนวทางปฏิบัติในการลดปริมาณเศษวัสดุในครัวเรือน โรงเรียน และชุมชน

4. ปัจจุบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองต่อการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน การพัฒนาวัสดุให้มีสมบัติที่เหมาะกับความต้องการใช้งาน จึงเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง อันจะช่วยให้การพัฒนาของเทคโนโลยีเติบโตไปพร้อมกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ควบคู่กันไป โดยทิศทางการพัฒนาวัสดุเพื่อให้มีความเหมาะกับการใช้งาน จึงมุ่งเน้นพัฒนาให้วัสดุมีความเบา แข็งแรงทนทาน ทนต่อสภาพอากาศ มีความยืดหยุ่นสูง นำไฟฟ้ายิ่งยวด หรือวัสดุที่มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตามความต้องการของภาคอุตสาหกรรม

5. สะเต็มศึกษา (STEM Education) คือ แนวทางการจัดการศึกษาที่บูรณาการความรู้ใน 4 สหวิทยาการ ได้แก่ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรม เทคโนโลยี และคณิตศาสตร์ โดยเน้นการนำความรู้ไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริง รวมทั้งการพัฒนากระบวนการหรือผลผลิตใหม่ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต และการทำงาน

6. การเผาเศษวัสดุเหลือทิ้งเป็นการจัดการเศษวัสดุเหลือทิ้ง เป็นวิธีที่ได้รับความนิยมสามารถกำจัดของเสียที่มาจากการรักษาพยาบาลและของเสียที่มีพิษได้ ดีกว่าการกำจัดเศษวัสดุเหลือทิ้งโดยวิธีฝังกลบและอาจนำส่วนที่เหลือนี้ไปใช้ประโยชน์ได้ ผลกระทบทางระบบนิเวศน์ก็น้อยกว่า

ความจำเป็นที่จะต้องแสวงหาแหล่งพลังงานหมุนเวียนทดแทนพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลซึ่งนับวันจะมีปริมาณลดน้อยลงและมีราคาสูงขึ้น เศษวัสดุเหลือทิ้งเป็นอีก ทางเลือกหนึ่งด้านการผลิตพลังงาน เพราะเศษวัสดุเหลือทิ้ง มีศักยภาพที่สามารถนำมาใช้เพื่อผลิตพลังงานได้ ทั้งนี้ เนื่องจากมีปริมาณมาก และไม่ต้องซื้อหาแต่ในปัจจุบันมีการนำเศษวัสดุเหลือทิ้งมาผลิต เป็นพลังงานน้อยมากเมื่อเทียบกับพลังงานทดแทนด้านอื่น ๆ

สารบัญรายวิชา

11 บทเรียน

หน่วยที่ 1 หลักวัสดุศาสตร์

เรื่องที่1 ความหมายของวัสดุศาสตร์
เรื่องที่ 2 สมบัติวัสดุศาสตร์
แบบฝึกหัดวิชาวัสดุศาสตร์3 หน่วยที่ 1 (5คะแนน)

หน่วยที่ 2 การใช้ประโยชน์และผลกระทบจากวัสดุ

หน่วยที่ 3 การคัดแยกและการรีไซเคิลวัสดุ

หน่วยที่ 4 แนวโน้มการใช้วัสดุและทิศทางการพัฒนาวัสดุในอนาคต

หน่วยที่ 5 สิ่งประดิษฐ์จากวัสดุตามหลักสะเต็มศึกษา

เกี่ยวกับผู้สอน

0 (0 การให้คะแนน)

56 รายวิชา

687 ผู้เรียน

เรียน

ระยะเวลาการลงทะเบียน: Lifetime