เรื่องที่ 1 องค์ประกอบของระบบขยายอาชีพตามแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
1. ภาพรวมขององค์ประกอบระบบการขยายอาชีพตามแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ระบบต่าง ๆ ทั่วไปมักจะประกอบด้วยการจัดปัจจัยนําเข้า กระบวนการดําเนินงานผลผลิต และการประเมินพัฒนา ดังนั้นการจัดทําระบบขยายอาชีพตามแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อ พัฒนาเศรษฐกิจของผู้เรียน ครอบครัวชุมชนให้มีความพอเพียงได้ด้วยการนําเป้าหมายความคิดของ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาอ้างอิง ประยุกต์เป็นระบบดําเนินการ ซึ่งมีลักษณะภาพรวมดังนี้
1. ขั้นตอนการใช้เหตุผล วิเคราะห์ ปัญหาความต้องการ ของการขยายอาชีพ เพื่อได้ ข้อมูลสารสนเทศที่เป็นเหตุเป็นผล ด้วยการศึกษาสํารวจ ตรวจสอบเหตุการณ์ สรุปจําแนกข้อมูลเชิงเหตุผล ด้านต่าง ๆ เช่น (1) ลูกค้า (2) คุณภาพผลิตภัณฑ์ที่ลูกค้าต้องการ (3) ช่องทางการตลาดเพื่อการจัดจําหน่าย (4) ทุนที่มีอยู่ ทั้งเงินทุน อุปกรณ์ ที่ดิน แรงงาน และองค์ความรู้ที่จะต้องใช้
2. ขั้นตอนการใช้หลักความพอประมาณความพอดี กําหนดแผนธุรกิจที่เหมาะสม ทําได้จริง ต้องการนําข้อมูลเชิงเหตุและผลมาเป็นฐานในการคิด
3. ขั้นตอนการใช้หลักภูมิคุ้มกัน สร้างความมั่นคงลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับการขยาย อาชีพด้วยการวิเคราะห์ศักยภาพ เพื่อจัดการความเสี่ยงกับผลการดําเนินงาน เช่น (1) สภาวะแวดล้อม ภายใน จุดอ่อน จุดแข็ง ของการดําเนินงานที่เกี่ยวข้องกับ ผลิตภัณฑ์ ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ของกําไร คู่แข่ง ส่วนแบ่งตลาด และสมรรถนะของธุรกิจ (2) สภาวะแวดล้อมภายนอกด้านโอกาสและอุปสรรคที่ เกี่ยวข้อง นโยบาย ของฝ่ายปกครอง คู่แข่งขัน กฎหมายระเบียบต่าง ๆ
4. ขั้นตอนการใช้หลักความรอบรู้ เพื่อวางระบบการจัดการการตลาดและการจัดการ การผลิต ขั้นตอนนี้เป็นการกําหนดกิจกรรมและขั้นตอนดําเนินกิจกรรมเป็นรายละเอียดของการทํางานที่ จะต้องให้ผู้ร่วมงานได้รู้เท่ากันทุกฝ่าย จึงมีรายละเอียดของความรู้มากมายที่จะต้องเรียนรู้ ทําความเข้าใจ จัดเป็นเอกสารคู่มือดําเนินงาน
5. ขั้นตอนการใช้หลักคุณธรรม เพื่อการขับเคลื่อน ควบคุม ประเมินและพัฒนาผลได้ ทางธุรกิจที่มีลักษณะสังคมชื่นชมยินดีและเป็นไปในทางที่ต้องการ
2. ความสัมพันธ์ ระหว่างความมีเหตุผล ความพอดี และภูมิคุ้มกัน เพื่อนําไปสู่การจัดทําแผนธุรกิจของ การขยายอาชีพ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีความประสงค์ที่จะให้ประชาชนดําเนินการประกอบอาชีพ ไปอย่างมีเหตุผล มีความพอดี มีภูมิคุ้มกันให้ปลอดจากอันตราย
3. ความรอบรู้กับการทําแผนขั้นตอนการจัดการการตลาดและการผลิต ขั้นตอนต่อไปจากการทําแผนธุรกิจเป็นขั้นตอนการจัดทําแผนปฏิบัติการธุรกิจ เป็นการ กําหนดกิจกรรมและขั้นตอนการดําเนินงานของการจัดการการตลาดและการผลิต เป็นขั้นตอนที่ ผู้ประกอบอาชีพจะต้องมีประสบการณ์ความรู้ที่หลากหลายและซับซ้อนไปตามลักษณะธุรกิจให้เพียงพอ ผู้ประกอบอาชีพจําเป็นที่จะต้องพัฒนาตนเองให้เป็นบุคคลรอบรู้
4. ลักษณะการใช้คุณธรรม ขับเคลื่อนธุรกิจ คุณธรรมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง สภาพคุณงามความดีของ การทํามาหากิน การผลิต การจําหน่ายจ่ายแจก การบริโภค การใช้สอยที่มีความขยัน ความประหยัด ความซื่อสัตย์ และความอดทนเป็นหลักในการทํางาน
เรื่องที่ 2 การจัดทําแผนธุรกิจ
1. โครงสร้างแผนธุรกิจตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การทําธุรกิจ หมายถึง การงานประจําเกี่ยวกับการทํามาหากิน ค้าขายแลกเปลี่ยน จากความหมายดังกล่าว ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้ ระบุพัฒนาการของการทํามาหากินไว้เป็นระดับตั้งแต่ (1) ทําให้พออยู่พอกิน (2) ทําให้อยู่ดีมีสุข และเข้าสู่ (3) ความมั่งมีศรีสุข การทํามาหากิน ค้าขาย แลกเปลี่ยนหรือที่เรียกว่า ธุรกิจนั้น จําเป็นที่จะต้องมีแผนในทุกระดับ
สรุป การดําเนินการธุรกิจตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตั้ง่แตระดับทําให้พออยู่พอกินพ้นความอดอยาก แบ่งปั่นผู้ที่ยังอดอยากได้ก้าวไปสู่การสร้างความอยู่ดีมีสุขที่จะต้องเพิ่มผลผลิต สร้างรายได้ให้พอเพียงกับการดํารงและพัฒนาคุณภาพชีวิต และเก็บออมสร้างทุนเพื่อก้าวย่างไปสู่ความ มั่งมีศรีสุขที่สามารถขยายธุรกิจออกไปสู้ตลาดการแข่งขัน สร้างงานสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนของ ตนเอง เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจของชุมชน การดําเนินธุรกิจตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หากพิจารณาความสัมพันธ์ ระหว่างหลักเศรษฐกิจพอเพียงกับขั้นตอนทางธุรกิจจะสรุปได้ว่า
1. การเริ่มต้นธุรกิจจะต้องเริ่มต้นที่ความมีเหตุมีผล ซึ่งเป็นเรื่องของข้อมูลสารสนเทศ ต่าง ๆ ที่ผู้ทําธุรกิจจะต้องศึกษาความต้องการ แสวงหาความเข้าใจจนบอกได้ว่าจะทําอะไร เพราะอย่างไร
2. เมื่อรู้ว่าทําอะไร อย่างไร ก็จะต้องกําหนดความพอดีของภารกิจที่จะทําแต่ให้สัมพันธ์ กับสภาพชีวิต ทุนต่าง ๆ ที่มีอยู่ไม่ทําอะไรเกินเลยจนสร้างความเดือดร้อนสู่ความล้มเหลวให้กับตนเอง
3. เมื่อรู้ว่าทําอะไรแค่ไหน จะต้องทําอย่างมีภูมิคุ้มกันให้ปลอดภัยไม่ล้มเหลว ด้วย การวาง้เปาหมายการดําเนินงานและความคาดหวังต่าง ๆ ในรูปแบบธุรกิจให้สอดคล้องกับจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส อุปสรรคต่าง ๆ และทบทวนตรวจสอบความอยาก ความติดยึดในตัวเราให้ถ่องแท้
4. เมื่อกําหนดเป้าหมายความคาดหวังต่าง ๆ ของธุรกิจที่คาดว่ามีความปลอดภัย ไม่ล้มเหลวชัดเจนแล้ว ก็ถึงขั้นตอนการปฏิบัติการในธุรกิจ จะต้องทําแผนปฏิบัติการเข้าสู่การปฏิบัติจริง ขั้นตอนนี้จะต้องใช้องค์ความรู้ต่าง ๆ ในรูปของสหวิทยาการ ผู้ประกอบอาชีพจะต้องมีความรอบรู้ด้วย การแสวงหาความรู้ ทดลองตรวจสอบความรู้อย่างกระจ่างทุกด้านที่จะนําเข้ามาใช้ดําเนินการ
5. การดําเนินปฏิบัติการสู่ความสําเร็จให้ผู้ประกอบการจะต้องยืนอยู่บนฐานคุณธรรมที่ เริ่มจากความขยัน ความประหยัด ความซื่อสัตย์และความอดทน