หนังสือเรียนวิชาทักษะการขยายอาชีพ อช31002

บทที่ 2 ตรวจสอบระบบความพร้อมการสร้างอาชีพให้มีความมั่นคง

วิดิโอสรุปเนื้อหาวิชาทักษะการขยายอาชีพ อช31002

บทที่ 2 ตรวจสอบระบบความพร้อมการสร้างอาชีพให้มีความมั่นคง

เรื่องที่ 1 การตรวจสอบระบบความพร้อมการสร้างอาชีพให้มั่นคง

          ทุน ในการประกอบอาชีพ การจัดการทุนเป็นเรื่องสําคัญ เพราะทุนจะต้องผันแปรสําคัญต่อ ความมั่นคงของอาชีพ ทุนมีหลายประเภทที่ผู้ประกอบอาชีพจะนําเข้ามาบูรณาการใช้ลงทุนประกอบการ เช่น

1. เงินทุน ได้มาจากการออม จากการสะสมทุน จากการกู้ยืมสถาบันการเงิน

2. ทุนที่ดิน เป็นที่ตั้งสถานประกอบการ เป็นฐานการผลิตที่จะต้องมีการจัดการให้การใช้ที่ดิน เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

3. ทุนทางสิ่งแวดล้อม เช่น การเกษตรอินทรีย์ ตั้งบนพื้นที่ป่าเขาโดยรอบ ทําให้ได้ความชื้นและ ปุ๋ยธรรมชาติมาตามลม และไหลมากับน้ําฝน ทําให้ลดต้นทุนเกี่ยวกับปุ๋ยหมักและจุลินทรีย์ลงได้

               ผลผลิต เป็นตัวเป้าหมายการประกอบอาชีพที่จะต้องมีมาตรฐาน ข้อกําหนดในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งในรูป ลายลักษณ์อักษร ในรูปของค่านิยมที่ยอมรับกันทั่วไปที่ผู้ผลิตจะต้องทําให้ได้ตามมาตรฐานในการจัดการ ให้เกิดผลผลิตมีองค์ประกอบร่วมอยู่หลายประการ เช่น

1. คุณภาพผลผลิต ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน ค่านิยมของลูกค้า

2. กระบวนการผลิต ต้องสามารถลดต้นทุนได้

3. การจัดการผลผลิตส่งมอบให้ลูกค้าในสภาพที่มีคุณภาพให้มากที่สุด

4. ความปลอดภัยของผลผลิต

           ลูกค้า เป็นองค์ประกอบที่สําคัญเพราะถ้าไม่มีลูกค้าก็จะไม่เกิดการหมุนเวียนทางรายได้ รูปแบบ เศรษฐกิจจะเป็นการทําเพื่ออยู่เพื่อกิน แบ่งปั่นกันในชุมชน ประเทศชาติคงไม่มีรายได้มาพัฒนาประเทศ การประกอบอาชีพจึงให้ความสําคัญกับลูกค้าที่จะต้องสร้างความผูกพันภักดีต่อกันและขยายวงกว้าง ออกไป ทําให้ผลผลิตจําหน่ายได้ปริมาณสูงขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อความมั่นคง ยั่งยืนของอาชีพ ส่วนบุคคลและสังคมประเทศชาติ

          การพัฒนาตนเอง การประกอบอาชีพธุรกิจ ผู้ประกอบอาชีพจําเป็นต่องศึกษาวิเคราะห์สภาพการผลิต การตลาด การลงทุน ค่านิยม นวัตกรรมเทคโนโลยีต่าง ๆ ให้สามารถจัดการพัฒนาธุรกิจให้ก้าวหน้าสัมพันธ์กับการ เปลี่ยนแปลงของสังคมโลก เพื่อสร้างความมั่นคงในอาชีพให้เติบโตขึ้นไม่ให้อาชีพตกต่ําและตายลง 

             วิเคราะห์ชุมชน การขยายงานอาชีพ เป็นแนวทางการดําเนินงานอาชพี ให้มีความเข้มแข็งและเกิดความมนั่คงใน การประกอบอาชีพ ที่มีความสอดคล้องกับความต้องการของตลาด การขยายงานอาชีพ จะประสบความสําเร็จหรือไม่นั้นขึ้น อยู่กับการศึกษาและการวิเคราะห์ ข้อมูลสถานการณ์ของชุมชนทั้งภายในและภายนอก ให้ตรงกับสภาพความเป็นจริงตามสภาพการณ์ที่มี การเปลี่ยนแปลง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและกําหนดเป้าหมายการขยายงานอาชีพที่ชัดเจน

                  ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เชื่อว่า คนไทยสามารถพัฒนาศักยภาพการคิด การกระทําให้เข้มแข็งขึ้น เพื่อสร้าง เศรษฐกิจแก้ปัญหาความยากจนด้วยการสร้างลักษณะนิสัยประจําให้เป็นบุคคลที่จะทําอะไรต้องคิดหา เหตุผล คิดตัดสินใจระบบความพอดีสําหรับตนเองหรือชุมชน กําหนดแนวทางสร้างภูมิคุ้มกันให้กับ อาชีพที่จะทํา เรียนรู้ สร้างความรอบรู้ให้กระจ่างพึ่งพาตนเองได้ และมีคุณธรรม จริยธรรม ส่งผลให้การ พัฒนาเศรษฐกิจของบุคคล สามารถสร้างความพอเพียงอยู่ดีมีสุข และก้าวถึงความมั่งมีศรีสุข ดํารงชีวิต อย่างพอเพียงเกื้อกูลสังคมได้

การเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพ การคิด การกระทํา ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จะมุ่งเน้นองค์ประกอบแห่งคุณค่า 5 ประการ คือ

1. การพัฒนาทักษะการคิดหาเหตุผล

2. การพัฒนาทักษะการคิดตัดสินใจระบุความพอดีสําหรับตนเองและชุมชน

3. การพัฒนาทักษะการคิดกําหนดแนวทางสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเรื่องที่จะทํา

4. การพัฒนาทักษะการแสวงหาความรู้และสรุปองค์ความรู้ในเรื่องที่จะทํา

5. การพัฒนาเจตคติเพื่อการคิดการกระทําให้เกิดคุณค่าในคุณธรรมและจริยธรรม

สรุป ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นเรื่องของความรู้สึก ความมุ่งมั่น การรู้ทันและเข้าใจในสิ่งที่จะ ทําคิดสร้างสรรคและรับรู้โลกกว้าง เพื่อการดํารงชีวิตอยู่อย่างพอเพียงในสังคม ชุมชนของงาน และก้าว เข้าสู่โลกแห่งการแข่งขันทางเศรษฐกิจในระบบทุนนิยมได่อย่างมีสติปัญญา ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไม่ได้ปฏิเสธทุนนิยม แต่จะใช้พลังแห่งสติปัญญา พัฒนาตนเอง สังคม ชุมชน ร่วมกัน สร้างทุนนิยมใหม่ นําพาประเทศเข้าสู่ความเป็นมหาอํานาจแห่งสันติสุขที่มั่นคง ยั่งยืน

สรุป การวิเคราะห์ตรวจสอบระบบความพร้อมในการสร้างอาชีพ เป็นกระบวนการวิเคราะห์ ด้วยตารางสองตาราง เพื่อสรุปความคิดรวบยอดของปฏิสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบทางเศรษฐกิจ พอเพียง กับองค์ประกอบในระบบอาชีพ จากสภาพที่เป็นจริงของผู้ประกอบอาชีพจะสะท้อนให้รู้จัก ตนเองมองเห็นสภาพที่ต้องเสริมเติมให้เกิดความพร้อม