0(0)

รายวิชาคุณธรรมในการดำเนินชีวิต (สค 23031) ระดับ ม.ต้น ภาคเรียนที่ 2/2566 ครูกัลยา สุขเพียง

สารบัญรายวิชา

5 บทเรียน

บทที่ 1 ความหมายของคุณธรรม จริยธรรม?

เรื่องที่ 1 ความหมายของคุณธรรม จริยธรรม คุณธรรม (Moral ) คือ คุณ + ธรรมะ คุณงามความดีที่เป็นธรรมชาติ ก่อให้เกิด ประโยชน์ต่อตนเองและสังคม ซึ่งรวมสรุปว่าคือ สภาพคุณงาม ความดี คุณธรรม คือ ความดีงามในจิตใจที่ทำให้บุคคลประพฤติดี ผู้มีคุณธรรมเป็นผู้มีความเคยชินในการประพฤติดีด้วยความรู้สึกในทางดีงาม คุณธรรมเป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับกิเลสซึ่งเป็นความไม่ดีในจิตใจ ผู้มีคุณธรรมจึงเป็นผู้ที่ไม่มาก ด้วยกิเลสซึ่งจะได้รับการยกย่องว่าเป็นคนดี คุณธรรมตามพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อกล่าวถึงคุณธรรมโดยทั่วไปจะระบุชื่อคุณธรรมว่าความละอายแก่ใจ ความเมตตากรุณา ความหวังดี ความซื่อสัตย์สุจริต ความเห็นอกเห็นใจ ความจริงใจ ความยุติธรรม ความเที่ยงตรง ความเสียสละ ความสามัคคี ความอดทน ความอดกลั้น ความขยัน การให้อภัย ความเกรงใจและอื่น ๆ การฝึกฝน และปฏิบัติตนให้มีคุณธรรม ไม่จำเป็นต้องพะวงในการเรียกชื่อคุณธรรม เพราะเป็นสิ่งที่ดีที่ทุกคนสามารถยึดถือปฏิบัติได้โดยไม่ต้องคำนึงว่าเป็นของลัทธิใด การฝึกฝนคุณธรรมควรฝึกตาม ความต้องการและสภาพแวดล้อมประเทศไทยในสมัยปัจจุบันกำลังมุ่งปลูกผังคุณธรรมสำหรับประชาชน 4 ประการ เพื่อความร่มเย็นของชาติบ้านเมืองตามพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ดังนี้ การรักษาความสัตย์ ความจริงใจต่อตัวเองที่จะประพฤติปฏิบัติแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์และเป็นธรรม การรู้จักข่มใจตนเอง ฝึกใจตนเองให้ประพฤติปฏิบัติอยู่ในความสัตย์ความดีนั้น การอดทน อดกลั้น และอดออม ที่จะไม่ประพฤติล่วงความสัตย์สุจริตไม่ว่าจะด้วยประการใด การรู้จักละวางความชั่ว ความทุจริต และรู้จักสละประโยชน์ส่วนน้อยของตนเพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่ของบ้านเมือง คุณธรรมตามแนวคิดของ อริสโตเติล อริสโตเติลนักปราชญ์ชาวกรีก ได้ให้แนวทางของคุณธรรมหลัก ๆ ไว้ 4 ประการ คือ ความรอบคอบ คือ รู้ว่าอะไรควรประพฤติปฏิบัติ อะไรไม่ควรประพฤติปฏิบัติ ความกล้าหาญ คือ ความกล้าเผชิญต่อความเป็นจริง การรู้จักประมาณ คือ รู้จักควบคุมความต้องการและการกระทำให้เหมาะสมกับสภาพและฐานะของตน ความยุติธรรม คือ การให้แก่ทุกคนตามความเหมาะสม การพัฒนาบุคคลด้วยคุณธรรมต้องฝึกฝนให้มีความรู้สึกตระหนักว่าอะไรดี อะไรควร อะไรไม่ควร อะไรไม่ดี และปฏิบัติแต่ในทางที่ถูกที่ควรให้เป็นปกติวิสัย การพัฒนาในสิ่งดังกล่าวควรใช้สิ่งโน้มนำให้มีคุณธรรมสูง มีความระลึกได้ว่าอะไรไม่ควร และความรู้สึกตัวว่ากำลังทำอะไรอยู่ ผู้หวังความสงบสุขความเจริญและความมั่นคงแก่ตนเองและประเทศชาติ ต้องฝึกฝนตนเองให้มีคุณธรรม คุณธรรมเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นมากสำหรับบุคลากรที่พึงประสงค์ขององค์การ องค์การควรให้การส่งเสริมสนับสนุนและชักจูงให้บุคลากรขององค์การสนใจคุณธรรมและพร้อมปฏิบัติกับชีวิตการทำงานของตนเอง คุณธรรม พจนานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตสถาน ( 2530 : 190 ) ได้ให้ความหมายของ คุณธรรมว่า คุณธรรม หมายถึง สภาพคุณงามความดีหรือหน้าที่อันพึงมีอยู่ในตัว ลิขิต ธีรเวคิน ( 2548 ) ได้กล่าวไว้ว่า คุณธรรม คือ จิตวิญญาณของปัจเจกบุคคล ศาสนาและอุดมการณ์ เป็นดวงวิญญาณของปัจเจกบุคคลและสังคมด้วย ปัจเจกบุคคลต้องมีวิญญาณ สังคมต้องมีจิตวิญญาณ คุณธรรมของปัจเจกบุคคลอยู่ที่การกล่อมเกลาเรียนรู้โดยพ่อแม่ สถาบันการศึกษา ศาสนา พรรคการเมืองและองค์กรของรัฐ รองศาสตราจารย์ ดร. ทิศนา แขมมณี ( 2546 : 4 ) ได้ให้ความหมายไว้ว่า คุณธรรม หมายถึง คุณลักษณะหรือสภาวะภายในจิตใจของมนุษย์ที่เป็นไปในทางที่ถูกต้องดีงาม ซึ่งเป็นภาวะนามธรรมอยู่ในจิตใจ สัญญา สัญญาวิวัฒน์ ( 2527 : 387 ) ได้ให้ความหมายว่า คุณธรรม หมายถึง ความดี ความงาม ความซื่อสัตย์ ความพอดี ความอดทน ขยันหมั่นเพียร จากความหมายของคุณธรรมที่กล่าวมาพอสรุปได้ว่า คุณธรรม หมายถึง หลักของความดี ความงาม ความถูกต้อง ซึ่งจะแสดงออกมาโดยการกระทำ ทางกาย วาจาและจิตใจของแต่ละบุคคล ซึ่งเป็นหลักประจำใจในการประพฤติปฏิบัติจนเกิดเป็นนิสัยเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ต่อตนเองผู้อื่นและสังคม คุณธรรม หมายถึง สภาพคุณงามความดีทางความพฤติและจิตใจ เช่น ความเป็นผู้ไม่กล่าวเท็จโดยหวังประโยชน์ส่วนตนเป็นคุณธรรมประการหนึ่ง คำว่า คุณ ภาษาบาลีแปลว่า ประเภท, ชนิด ธรรม หมายถึง หลักความจริง หลักการในการปฏิบัติ ดังนั้น อาจอธิบายได้ว่า คุณธรรม คือ จริยธรรมที่แยกเป็นรายละเอียดแต่ละประเภท เช่น เมตตา กรุณา เสียสละ ซื่อสัตย์ อดทน ฯลฯ สิ่งเหล่านี้หากผู้ใดประพฤติปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ ก็จะเป็นสภาพคุณงามความดีทางความประพฤติและจิตใจของผู้นั้น จริยธรรม (Ethics) คำว่า “จริยธรรม” แยกออกเป็น จริย + ธรรม ซึ่งคำว่า จริย หมายถึง ความประพฤติหรือกิริยาที่ควรประพฤติ ส่วนคำว่า ธรรม มีความหมายหลายประการ เช่น คุณความดี, หลักคำสอนของศาสนา, หลักปฏิบัติ เมื่อนำคำทั้งสองมารวมกันเป็น “จริยธรรม” จึงมีความหมายตามตัวอักษรว่า “หลักแห่งความประพฤติ” หรือ “แนวทางของการประพฤติ” จริยธรรม เป็นสิ่งที่ควรประพฤติ มีที่มาจากบทบัญญัติหรือคำสั่งสอนของศาสนา หรือใครก็ได้ที่เป็นผู้มีจริยธรรม และได้รับความเคารพนับถือมาแล้ว ความสําคัญของคุณธรรม และจริยธรรม พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คุณธรรม แปลว่าสภาพคุณงามความดี จริยธรรม แปลว่า ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ ศีลธรรม กฎศีลธรรม บางครั้งก็เรียกควบกันไป เป็นคุณธรรม จริยธรรม คุณธรรมและจริยธรรมของบุคคลที่มีต่อสังคมในสังคมประชาธิปไตย คุณธรรมและจริยธรรมของบุคคลที่พึงมีต่อสังคม หมายถึง การมีคุณงามความดีในการทําหน้าที่ พลเมืองของสังคมประชาธิปไตย คุณธรรมและจริยธรรมของบุคคลที่มีต่อสังคมในสังคมประชาธิปไตย ประกอบด้วย การมีรูปแบบความคิดสร้างสรรค์ทางบวก ในการแสดงบทบาทอย่างแข็งขันในการร่วมพัฒนา และแก้ปัญหาของสังคมด้านต่าง ๆ เช่น การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจประเด็นสาธารณะอย่างแข็งขัน การมีส่วนร่วมในการกระทําเพื่อส่วนรวมด้วยความเต็มใจ การสนับสนุนการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน การปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบของบ้านเมือง เคารพในกฎกติกาของสังคม การติดตามตรวจสอบการทํางานของผู้บริหารและหน่วยงานของรัฐ เรื่องที่ 2 ลักษณะของผู้มีคุณธรรม เรื่อง “คุณธรรม” เป็นประเด็นที่กล่าวถกเถียงกันอย่างกว้างขวางในสังคมทุกวันนี้ สื่อต่าง ๆล้วนกล่าวว่า “เราต้องการคนมีคุณธรรม” อีกทั้งคนจำนวนมากก็เรียกร้องวิธีการสรรหาผู้มีคุณธรรม แล้วคนเหล่านั้นเข้าใจหรือไม่ว่า “คุณธรรม คืออะไร” แล้ว “ผู้มีคุณธรรม มีลักษณะเช่นไร” คุณธรรมนั้น มีมากมายหลายระดับ แต่โดยภาพรวมแล้วผู้ที่มีคุณธรรมจะมีลักษณะ ดังต่อไปนี้ มีเหตุผล สามารถมองโลกตามความเป็นจริง โดยมีคุณสมบัติย่อยดังนี้ 1.1 ปราศจากอคติ มีความเป็นกลาง ทำให้สามารถวิเคราะห์สิ่งต่าง ๆ อย่างชัดแจ้งตามความเป็นจริง 1.2 ไม่กล่าวยกย่องความดีงามของตน ด้วยทราบว่า ความดีหรือความชั่วมิได้เกิดขึ้นเพียงเพราะลมปาก หากพิสูจน์ความจริงใจด้วยการกระทำ และเวลา 1.3 ยอมรับในความผิดพลาดหรือข้อบกพร่องของตนเอง แล้วพยายามปรับปรุงแก้ไข ด้วยรู้ว่าคนทุกคนสามารถทำผิดได้ คนที่ไม่เคยทำผิด คือคนที่ไม่เคยทำสิ่งใดเลย 1.4 หลีกเลี่ยงการวิพากษ์วิจารณ์ ตำหนิ นินทา หรือกล่าวหาผู้อื่น เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นชนวนของความแตกแยกในหมู่คณะ อีกทั้งเป็นการแสดงถึงความเป็นผู้มีใจคับแคบ 2. มีเมตตา ทั้งต่อตนเองและเพื่อนร่วมโลก ทำให้มองสิ่งต่าง ๆ บนโลกด้วยความรัก และการสร้างสรรค์สร้างสรรค์ ยอมรับ ให้เกียรติ และชื่นชมยินดีในความสำเร็จ หรือความดีงามของผู้อื่น เพราะไม่มีใครสามารถอยู่คนเดียว แล้วสามารถจัดการทำสิ่งต่าง ๆ ตามลำพังได้ สิ่งมีชีวิตทุกชนิดย่อมต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ดังนั้นจึงต้องรู้จักชื่นชม ขอบคุณ ให้เกียรติ และยินดีในความดีงาม หรือสิ่งดี ๆ ของผู้อื่น 4. รู้จักให้อภัยผู้อื่น ด้วยคนทุกคนไม่มีใครสมบูรณ์แบบ และไม่มีใครอยากจะทำผิดพลาดดังนั้นคนทุกคนจึงต้องการโอกาสจากผู้อื่นในการปรับปรุงตนเองทั้งสิ้น 5. สามารถประสานประโยชน์เพื่อส่วนรวม รู้จักนำเอาส่วนที่ดีของกลุ่มคน หรือสิ่งต่าง ๆ มารวมกัน หรือร่วมกันเพื่อการพัฒนาให้ก้าวหน้าหรือมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 6. มีความเสียสละ 7. มีความหนักแน่น กล้าหาญ และเฉียบขาด เมื่อเห็นว่าสิ่งที่ตนทำเป็นสิ่งที่ดี ถูกต้อง และเป็นประโยชน์แล้ว ย่อมต้องหนักแน่น มั่นใจ และกล้าหาญที่จะทำสิ่งเหล่านั้นโดยไม่หวั่นไหว ต่อกระแสต่าง ๆ รอบข้าง 8. เป็นผู้มีวิสัยทัศน์กว้างไกล และมองโลกในแง่ดีเสมอ เป็นผู้ที่สามารถมองสิ่งต่าง ๆ ทั้งข้อดี ข้อเสีย ข้อจำกัดต่าง ๆ อย่างรอบด้าน มิใช่มองเพียงแง่มุมเดียว อีกทั้งการมองหรือวิเคราะห์นั้นต้องเป็นไปในทางสร้างสรรค์ หรือแง่บวกเสมอ เพื่อเป็นประโยชน์ในการพัฒนาสิ่งต่าง ๆ ให้ดียิ่งขึ้น จะเห็นได้ว่าเราทุกคน สามารถเป็นผู้มีคุณธรรมได้ ถ้ามีคุณสมบัติดังกล่าว แล้วทำไมเราจึงไม่พยายามพัฒนาตนไปสู่ความมีคุณธรรม ถ้าคนทุกคนเป็นผู้มีคุณธรรม สังคมก็จะเป็นสังคมที่มีคุณธรรม ลักษณะของผู้มีจริยธรรม ผู้มีจริยธรรมจะเป็นผู้ที่มีคุณลักษณะดังนี้ เป็นผู้ที่มีความเพียรความพยายามประกอบความดี ละอายต่อการปฏิบัติชั่ว เป็นผู้มีความซื่อสัตย์สุจริต ยุติธรรม และมีเมตตากรุณา เป็นผู้มีสติปัญญา รู้สึกตัวอยู่เสมอ ไม่ประมาท เป็นผู้ใฝ่หาความรู้ ความสามารถในการประกอบอาชีพ เพื่อความมั่นคง เรื่องที่ 3 ปัญหาและสาเหตุของการขาดคุณธรรม จริยธรรม การเปลี่ยนแปลงทางสังคม คือ เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้คนในสังคมขาดคุณธรรม จริยธรรม จากสังคมไทยดั้งเดิมที่มีวิถีชีวิตแบบง่าย ผู้คนมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดสนิทสนม รักนับถือเอื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน ต่อมาเมื่อระบบชีวิตและวัฒนธรรมของสังคมไทยเปลี่ยนไป และเพื่อการพัฒนาประเทศสู่ความทันสมัยแบบสากล มีค่านิยมวัตถุนิยมและมีวิถีชีวิตที่ต้องมีการแข่งขันทำนองใครดีใครได้ ใครดีใครอยู่ ทำให้ระบบคุณธรรม จริยธรรมในสังคมไทยเสื่อมลง สภาพปัญหาการขาดคุณธรรมจริยธรรม พบว่า เกิดจากสาเหตุหลายประการ สรุปได้เป็น 2 สาเหตุ คือ สาเหตุภายในและสาเหตุภายนอก สาเหตุภายใน ได้แก่ ขาดความรู้ด้านคุณธรรมจริยธรรม ขาดจิตสำนึกที่ดี มีความเห็นที่ผิด ชอบสนุกชอบสบาย เห็นแก่ได้ ขาดสติพิจารณาเหตุผล ขาดหลักธรรมในการดำเนินชีวิต มีค่านิยมที่ไม่ถูกต้อง มีจิตใจหยาบกระด้าง ชอบเที่ยว ไม่เห็นโทษของการเที่ยวกลางคืน ไม่ยอมรับฟังคำแนะนำ ขาดความตระหนักในหน้าที่ อยากรู้อยากเห็นอยากทดลอง นิยมความรุนแรง ขาดความรู้เรื่องกฎระเบียบวินัยของสังคม มีนิสัยมักง่าย เห็นแก่ตัว ชอบอวดความยิ่งใหญ่ ขาดการวางแผนชีวิตที่ดี ไม่เห็นความสำคัญของการให้ ถือตนเป็นใหญ่ สภาพจิตใจอ่อนแอ ขาดความรู้เรื่องกรรม ขาดความอ่อนน้อมถ่อมตน ไม่เคารพนับถือผู้ใหญ่ ไม่เห็นโทษของการพนัน ไม่เห็นคุณของความขยัน สาเหตุจากภายนอก ได้แก่ ขาดการอบรมแนะนำที่ถูกต้อง ขาดแบบอย่างที่ดี ขาดความอบอุ่นจากครอบครัว กระทำตามเพื่อน การเปลี่ยนแปลงทางระบบเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ภาวะเศรษฐกิจบีบคั้น เลียนแบบพฤติกรรมทางสื่อมวลชนและสังคมที่ไม่ดี มีสถานเริงรมย์เปิดบริการมาก สภาพแวดล้อมยั่วยุและชักนำ เพื่อให้สังคมและเพื่อนยอมรับ ผู้ถือกฎ ระเบียบวินัยทางสังคมปฏิบัติหย่อนยาน ผู้ใหญ่ไม่ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ขาดการปลูกฝังในสิ่งที่ดีงาม ความด้อยในฐานะอาชีพและสังคม สถานศึกษาไม่เอื้อต่อการศึกษาเล่าเรียน แนวทางแก้ปัญหาการขาดคุณธรรมจริยธรรมของเยาวชน พบว่า แนวทางแก้ปัญหาสรุปได้เป็น 2 แนวทาง คือ การแก้ปัญหาโดยตัวของเยาวชนเอง และการแก้ปัญหาโดยบุคคลหรือหน่วยงานภายนอก การแก้ปัญหาของตัวเยาวชน ได้แก่ เยาวชนจะต้องที่จิตสำนึกที่ดี สนใจใฝ่เรียนรู้และน้อมนำหลักคุณธรรมจริยธรรมมาใช้ในการ ดำเนินชีวิต เยาวชนจะต้องไม่ประมาท พร้อมที่จะรับฟังเหตุผล ปรับตัวให้เหมาะสมและปรับปรุงพัฒนา ตนเองให้ดีขึ้น ส่วนการแก้ปัญหาโดยบุคคลหรือหน่วยงานภายนอก ได้แก่ ครอบครัว ครู- อาจารย์ บุคลกรทางการศึกษา พระสงฆ์ และผู้ใหญ่ในสังคมจะต้องทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดี ให้ความรักความอบอุ่น ให้คำปรึกษาแนะนำในสิ่งที่ถูกต้อง ให้การช่วยเหลือแก้ปัญหา สถานศึกษาจะต้องปรับปรุงหลักสูตรโดยบรรจุเนื้อหาวิชาด้านคุณธรรมจริยธรรมให้มากขึ้น นิมนต์พระภิกษุมาช่วยสอนช่วยอบรมให้ความรู้ด้านคุณธรรมจริยธรรม ครูผู้สอนจะต้องมีความรู้ด้านการบูรณาการคุณธรรมจริยธรรมเข้ากับเนื้อหาวิชาหลัก นำพฤติกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรมมาเป็นส่วนหนึ่งของการประเมินผลรายวิชาด้วยอาจจัดเรียนนอกสถานที่โดยใช้วัดเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ จัดโครงการอบรมคุณธรรมจริยธรรมอย่างต่อเนื่อง สื่อมวลชนต้องนำเสนอข้อมูลหรือเผยแพร่ข่าวสารด้านคุณธรรมจริยธรรมให้เหมาะสมกับเยาวชน แนวทางการแก้ปัญหาการขาดคุณธรรม จริยธรรม การปลูกฝังให้คนรู้จักและเห็นคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรมอย่างจริงจัง มากกว่าความมั่งคั่งร่ำรวย ยศศักดิ์และชื่อเสียง เห็นคุณค่าอันเกิดจากสติปัญญาและคุณธรรมว่ามีค่าเหนือกว่าความสุขทางวัตถุภายนอก วิธีการปลูกฝังที่สำคัญ คือ การสั่งสอน การพร่ำสอน โดยครอบครัว โรงเรียน วัด มีหน้าที่ในการอบรมสั่งสอนโดยตรง หรือสื่อมวลชนซึ่งสามารถขัดเกลาทางอ้อมได้ โดยการสื่อสารข่าวสารข้อมูลที่จะสร้างคุณธรรมและจริยธรรมให้เกิดขึ้นแก่บุคคลและสังคม การทำตัวอย่างให้ดู โดยเฉพาะคนในครอบครัว บิดา มารดา ต้องเป็นตัวอย่างที่ดีของลูก ผู้นำในสังคมทุกระดับควรเป็นตัวอย่างแก่ประชาชนในด้านการประพฤติปฏิบัติที่มีคุณธรรมและจริยธรรม ยกย่องเชิดชูบุคคลที่มีคุณธรรม จริยธรรม เพื่อให้เห็นคุณค่าของคนที่มีคุณธรรม จริยธรรมให้ถือเป็นคนดี เป็นตัวอย่างในสังคม เรื่องที่ 5 ประโยชน์ของคุณธรรม จริยธรรม โดยสรุปแล้วการมีคุณธรรม จริยธรรม จะมีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต ดังนี้ คือ เป็นประโยชน์ต่อตนเอง การปฏิบัติตามหลักจริยธรรมย่อมก่อให้เกิดผลดีแก่ตนเอง ความรู้ความสามารถที่ตนมีอยู่ก็จะถูกมาใช้ในทางที่เป็นประโยชน์ จริยธรรมบางข้อ เช่น ความมัธยัสถ์ คามรับผิดชอบ การรู้จักประมาณตน ฯลฯ เมื่อเราปฏิบัติตามแล้วย่อมทำให้ตัวเราได้รับความสำเร็จและความเจริญในชีวิต เป็นประโยชน์ต่อสังคม จริยธรรมทำให้ครอบครัวและสังคมอยู่กันได้ด้วยความสุข จริยธรรมบางข้อ ความมีวินัย ความกตัญญูกตเวที การรู้จักเคารพในความคิดเห็นของผู้อื่น การไม่เบียดเบียนเหล่านี้ล้วนเป็นหลักสำคัญที่จะทำให้คนในครอบครัวและในสังคมอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข
รื่องที่ 1 ความหมายของคุณธรรม จริยธรรม
การมอบหมายงานแบบฝึกหัดบทที่ 1 (จำนวน 10 คะแนน)

บทที่ 2 การดำเนินชีวิตตามหลักคุณธรรม จริยธรรม?

เรื่องที่ 1 คุณธรรม จริยธรรมเพื่อการอยู่ร่วมกัน คุณธรรม จริยธรรมเพื่อการอยู่ร่วมกันในสังคมมีมากมาย แต่ที่สำคัญๆที่คนในสังคมควรยึดถือประพฤติปฏิบัติ มีดังนี้ ความอดทน ความอดทน หมายถึง ความสามารถที่จะทนต่อความลำบาก มีจิตใจเข้มแข็งที่จะทำความดี และสามารถควบคุมตนเองมิให้ทำชั่ว อันได้แก่ 1. อดทนต่อความยากลำบาก คือ มีจิตใจเข้มแข็งที่จะทำงานให้ลุล่วงสำเร็จหนักเอาเบาสู้ ไม่ว่าจะเหน็ดเหนื่อย ก็เพียรพยายามทำงานที่ตั้งใจไว้ให้สำเร็จไม่ทำการทุจริตแม้ชีวิตจะลำบาก เพราะความจนก็ไม่ละโมบคิดเอาผู้อื่นโดยมิชอบ แต่ต้องใช้ความอดทนเพียรทำงานของตนให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ 2. อดทนต่อความเจ็บป่วย หมายถึง อดทนต่อความเจ็บป่วยทางกายไม่โอดครวญ ไม่ท้อแท้ ไม่แสดงอาการฉุนเฉียว ไม่แสดงความอ่อนแอจนเกินเหตุ ไม่นำเอาความเจ็บป่วยเล็กๆน้อยๆมาอ้างเพื่อขออภิสิทธิ์ที่จะได้โน่นได้นี่ หรือที่จะไม่ต้องทำโน่นทำนี่ ทำให้กลายเป็นคนสมเพช เวทนา เป็นที่น่าเหยียดหยามของคนข้างเคียง อดทนต่อความเจ็บใจ หมายถึง การอดทนต่อการกระทำล่วงเกิน เช่น ถูกดูหมิ่น ถูกนินทา ถูกยั่วยุ เป็นต้น เราต้องมีความอดทนและอดกลั้นตามควรมิใช่ว่าเขาพูดผิดใจนิดเดียวก็ท้าตีท้าต่อย อย่างไรก็ตามหากมีคนล่วงเกินอย่างรุนแรงและโดยเจตนาก็ต้องตอบโต้ด้วยสันติวิธี โดยอาศัยกระบวนการของกฎหมาย หรือระเบียบกฎเกณฑ์ที่ยึดอยู่เป็นเรื่องมือ 4. อดทนต่อกิเลส หมายถึง อดทนต่อสิ่งต่างๆที่เข้ามายั่วยวนชวนให้หลงใหลให้หมกมุ่น มัวเมา รู้จักเดินสายกลาง ไม่ปล่อยตัวให้ถลำไปในทางทุจริต ความรับผิดชอบ ความรับผิดชอบ เป็นสิ่งที่ควบคู่กันไปกับหน้าที่ คนที่มีความรับผิดชอบ คือคนที่ตั้งใจปฏิบัติ ภารกิจในหน้าที่ของตน ให้สำเร็จลุล่วงลงตามเป้าหมายที่พึงประสงค์ด้วยความเพียรพยายาม และยอมรับผลของการกระทำนั้นไม่ว่าจะเป็นความชอบหรือความผิด โดยเต็มใจไม่หลีกเลี่ยง บุคคลจึงมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบ 5 ทาง คือ 1. ความรับผิดชอบทางกาย เป็นหน้าที่ของแต่ละบุคคลที่จะต้องดูแลรักษาสุขภาพของตนเองให้ดีอยู่เสมอ เพื่อการมีชีวิตที่มีคุณค่าและการประกอบหน้าที่การงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีอารมณ์ที่แจ่มใสเบิกบาน ส่งผลต่อมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีในการติดต่อกับบุคคลอื่นๆ 2. ความรับผิดชอบทางจิตใจ คือ การรู้จักการฝึกอบรมจิตใจ ให้เกิดคุณธรรม จริยธรรมภายในจิตใจ และรู้จักการควบคุมจิตใจมิให้กระทะความชั่วเกิดขึ้น 3. ความรับผิดชอบทางเศรษฐกิจ คือ การทำหน้าที่ในการทำงานเพื่อเลี้ยงตนเองและครอบครัวจากการประกอบอาชะที่สุจริต ด้วยความขยันหมั่นเพียรไม่ตกเป็นภาระทางสังคม 4. ความรับผิดชอบทางสติปัญญา เป็นหน้าที่ที่บุคคลต้องหมั่นศึกษาเล่าเรียนแสวงหาความรู้และพัฒนาสติปัญญาให้ถึงขั้นสูงสุดเท่าที่จะทำได้เพื่อพัฒนาตนเองให้มีคุณประโยชน์ต่อตนเอง สังคมและประเทศชาติ 5. ความรับผิดชอบต่อสังคม การประพฤติปฏิบัติตนตามกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ แบบแผนคำสั่ง จารีตประเพณี หลักคำสอนทางศาสนา ค่านิยมของสังคม เพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวม การรับใช้ชุมชนตามความรู้ ความสามารถในฐานะที่เป็นสมาชิกของชุมชน สามารถกระทำประโยชน์ให้เกิดแก่ชุมชน จากสติปัญญาความสามารถเท่าที่มีอยู่ เช่น การช่วยเหลือในการรักษาสิ่งแวดล้อมของชุมชน การช่วยเหลือในกิจการเยาวชน สตรีและคนชรา การช่วยเหลือด้านการป้องกันอัคคีภัย หรือความร่วมมือในการขุดคุดคลองสร้างถนน การใช้สิทธิในการเลือกตั้งบุคคลในระบอบประชาธิปไตย เพื่อดำเนินกิจกรรมของท้องถิ่นโดยสุจริต เที่ยงธรรม โดยไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนหรือพรรคพวก การช่วยในดารดูแลสาธารณสมบัติของชุน มิให้เสียหายหรือถูกทำลายเพื่อการคงไว้ซึ่งการใช้ประโยชน์ร่วมกันของชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ความซื่อสัตย์ ความซื่อสัตย์ หมายถึง การประพฤติปฏิบัติอย่างตรงไปตรงมา ชอบตามครรลองคลองธรรม ทั้งกาย วาจา ใจ และทั้งต่อตนเองและผู้อื่น ความซื่อสัตย์สุจริตอาจจำแนกออกได้เป็น 4 อย่าง คือ ซื่อสัตย์สุจริตต่อตนเอง คือ มีศีลธรรมประจำใจ มีความรู้สึกผิดชอบชั่วดีมีความละอายใจ และเกรงกลัวต่อการกระทำผิด การกระทำชั่ว นั่นคือ มีความเคารพในเกียรติและศักดิ์ศรีของตน มีความตั้งใจมั่นที่จะประพฤติตนเป็นคนดี ไม่หันเข้าหาอบายมุข ซื่อสัตย์สุจริตต่อบุคคล หมายถึง คนอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเรา เช่น บิดา มารดา ผู้มีพระคุณ ครูอาจารย์ มิตรสหาย หัวหน้างานและคนที่ต่ำกว่า เป็นต้น เราจำเป็นต้องมีความซื่อสัตย์สุจริตต่อผู้อื่น ประพฤติดี ตรงไปตรงมาต่อผู้อื่นอย่างสม่ำเสมอไม่คิดคดทรยศ ไม่กลับกลอกเหลวไหล ไม่ชักชวนไปในทางเสื่อมเสีย ไม่สอพอเพื่อหาผลประโยชน์ส่วนตน ซื่อสัตย์ต่อหน้าที่การงาน คือ ปฏิบัติหน้าที่ทำงานอย่างตรงไปตรงมา ไม่ใช้อำนาจหน้าที่แสวงหาผลประโยชน์ให้แก่ตนและพรรคพวกโดยผิดทำนองคลองธรรม ตั้งใจทำงาน ให้สำเร็จด้วยความระมัดระวัง ไม่ประมาทเลินเล่อ ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคและความลำบากทั้งปวง ซื่อสัตย์สุจริตต่อสังคมและประเทศชาติ คือ ประพฤติอยู่ในกรอบของกฎหมายและระเบียบข้อบังคับของสังคมและหมู่คณะ มีความสามัคคีร่วมมือร่วมใจกันทำงานของส่วนรวมให้สำเร็จ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ ไม่กระทำการใดๆ ที่จะเป็นทางให้ประเทศชาติมีอันตราย หากแต่ทำงานเพื่อประโยชน์ส่วนตน พยายามรักษาความสงบสุขในบ้านเมืองคนในชาติ มีความรักใคร่กันฉันพี่น้อง ก็จะทำให้เกิดสันติภาพในการอยู่ร่วมกัน ความมีระเบียบวินัย ได้แก่ วินัยทางโลก ได้แก่ การปฏิบัติตนตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับต่างๆที่สังคมกำหนดขึ้น เพื่อไม่ให้ล่วงละเมิดสิทธิของบุคคลอื่น วินัยทางธรรม ได้แก่ การปฏิบัติตามหลักข้อปฏิบัติที่แต่ละศาสนาที่กำหนดให้ศาสนิกชนของตนเองได้ปฏิบัติตาม เพื่อจุดมุ่งหมายของศาสนาและเพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของบรรดาศาสนิกชน คนมีวินัย คือ คนที่รู้จักบังคับควบคุมตัวเอง คือบังคับกาย วาจา ใจ ของตนให้อยู่ในระเบียบแบบแผนของสังคม ทุกคนจึงควรต้องระมัดระวังตัวอยู่เสมอเพื่อไม่ให้ทำอะไรที่ผิดระเบียบหรือวินัย นอกจากนี้วินัย ยังมีส่วนทำให้คนในสังคมมีความสงบสุขเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ทั้งทางด้านจิตใจและความประพฤติ นำมาซึ่งความเจริญแก่สังคมสืบต่อไป ความยุติธรรม ความยุติธรรม หมายถึง ความคิดที่มีเหตุผล บนพื้นฐานของความสมควรถูกต้องสมเหตุสมผล และเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย ความยุติธรรมเกิดขึ้นได้โดยการละเว้นการมีอคติต่างๆ ในทางศาสนา เรียกว่า การเว้นอคติทั้ง 4 คือ ลำเอียงเพราะรัก ลำเอียงเพราะโกรธ ลำเอียงเพราะหลง และลำเอียงเพราะกลัว ความยุติธรรมจะช่วยให้บุคคลปฏิบัติอย่างเที่ยงตรง ไม่เห็นประโยชน์ส่วนตนบนความทุกข์ยากลำบากของผู้อื่น เป็นคุณธรรมที่เป็นประโยชน์แก่สังคม ปัญหาในการดำเนินชีวิต 1.ปัญหาประชากร 2.ปัญหาด้านเศรษฐกิจ การเพิ่มประชากรในอัตราสูง ทำให้การพัฒนาประเทศและการพัฒนาด้านคุณภาพของชีวิตเป็นไปอย่างล่าช้า ด้านครอบครัวไม่สามารถจะดำเนินชีวิตได้ตามเป้าหมายเพราะการระเหเร่ร่อนของหัวหน้าครอบครัวหรือบางทีย้ายเข้ามาอยู่ทั้งครอบครัวรายได้ไม่พอกับรายจ่าย ไม่มีเงินเก็บไว้ใช้ในยามทุกข์ยากหรือยามที่จำเป็น เป็นการหาใช้กินค่ำ ถ้าเกิดปัญหาในครอบครัวขึ้นมาต้องพึ่งรัฐบาลช่วยเพราะไม่สามารถขจัดปัญหาได้ด้วยตนเองได้ในด้านตัวบุคคลก่อให้เกิดปัญหาด้านอารมณ์ เกิดความอิจฉา มองโลกในแง่ร้าย สุขภาพจิตเสีย มีผลต่อบุคลิกภาพของบุคคลในครอบครัว ความเจริญก้าวหน้าของครอบครัวก็ล่าช้าเช่นกัน 3.ปัญหาด้านสังคม ได้แก่ การแตกแยกของครอบครัว การศึกษา อาชญากรรม ยาเสพติด หรือมีการประกอบอาชีพที่สังคมรังเกียจ เช่น การค้าประเวณี ล่อลวง เหล่านี้เป็นต้น 3.1 ปัญหาการแตกแยกของครอบครัว ทำให้ครอบครัวเดือดร้อน พ่อแม่ลูกต้องแยกจากกัน เกิดปัญหาแก่เด็กทำให้พัฒนาการของเด็กไม่เป็นไปตามขั้นตอนการเจริญเติบโตและสุขภาพจิตเสื่อมอารมณ์เครียดจะกลายเป็นเด็กที่ด้อยในด้านการศึกษา และประพฤติต่อต้านสังคม เป็นการประชดชีวิตตนเอง เหล่านี้เป็นสิ่งที่ทำให้การดำเนินชีวิตครอบครัวไม่ราบรื่น 3.2 การศึกษา ในด้านการศึกษานี้ ส่วนมากอยู่ในระดับต่ำ ไม่สามารถยกระดับตนเองได้ ต้องทำงานหนัก รายได้น้อย เพราะออกจากโรงเรียนก่อนจบ โดยต้องช่วยครอบครัวประกอบอาชีพต่อไป เมื่อตนเองเป็นหัวหน้าครอบครัว รายได้ไม่พอในการใช้จ่าย บุตรก็อาจจะไม่ได้รับการศึกษาที่ดีได้เช่นกัน และเด็กที่มีปัญหาด้านการย้ายภูมิลำเนา จะเป็นเด็กที่ไม่มีทะเบียนเกิด ไม่สามารถที่จะเข้าโรงเรียนได้ตามเกณฑ์อายุที่กระทรวงกำหนดไว้ เด็กเหล่านี้จะพบเป็นจำนวนมาก ก่อให้เกิดปัญหาในเรื่องการพัฒนาคุณภาพชีวิต 3.3 อาชญากรรม อาชญากรรมนี้จะเกิดได้ทุกยุคทุกสมัย จะมีมากหรือน้อยแล้วแต่สถานการณ์ของบ้านเมืองและชุมชนนั้นๆ อาชญากรเหล่านี้ ได้แก่ -พวกที่ทำเป็นครั้งคราว เมื่อโอกาสอำนวย หรือเพราะไม่สามารถควบคุมตนเองได้ สถานการณ์เช่นนั้น เช่น เมาเหล้า อยากทดลองทำ เหล่านี้เป็นต้น -พวกที่ทำเป็นนิสัย พวกนี้ทำโดยเป็นสันดานที่อยากได้ของผู้อื่นโดยหวังรวยแบบไม่ต้องลงทุน ส่วนมากพบในพวกติดยาเสพติดแบบเรื้อรัง -พวกที่ทำเป็นอาชีพ พวกนี้พวกนี้รู้เทคนิคในการกระทำเป็นอย่างดี เช่น พวกล้วงกระเป๋า ย่องเบา เป็นต้น -พวกจิต อปกติ พวกนี้อยากทำเพราะสนุก ทั้งๆ ที่ ฐานะก็พอมีพอกินแต่เป็นเรื่องผลักดันเพราะตามที่ผิดปกติด้านจิตใจ -พวกทำงานระดับสูง พวกนี้ทำเป็นหัวหน้าใหญ่ ตั้งเป็นกลุ่มมีลูกน้องมาก มีอิทธิพลมาก สิ่งเหล่านี้เกิดจากความไม่ราบรื่นของครอบครัว เริ่มจากเกะกะเกเรในเด็กชาย ในเด็กหญิงเริ่มเที่ยวกลางคืนเล็กๆน้อยๆ ต่อไปก็เสริฟอาหารกลางคืน และก็ลองทำต่อๆ ไป สิ่งใดได้เงินดีไม่เหนื่อยมากก็ย่อมจะเสี่ยงทำสิ่งนั้น เพื่อปากท้องและครอบครัว 3.4 ยาเสพติด ผู้ที่เคลื่อนย้ายเข้ามาประกอบอาชีพที่ต้องใช้แรงงานหนักมาก เวลาว่างก็หาทางที่จะพักผ่อนโดยการทดลองเมื่อเกิดความพึงพอใจจึงทำให้ติดยาเสพติดเป็นประจำขาดไม่ได้ พวกนี้มักมั่วสุมรวมกลุ่มเป็นพวกเดียวกัน มีพฤติกรรมคล้ายกัน ในลักษณะเช่นนี้ เด็กที่อยู่ในครอบครัวจะพบเห็นแบบที่ไม่ถูกต้อง เด็กมีแนวโน้มที่จะติดยาได้ 3.5ปัญหาด้านจราจรปัญหานี้พบบ่อยในย่านแออัด สิ่งต่างๆเหล่านี้เป็นปัญหาที่แก้ไขได้ยากเพราะประชากรเพิ่มมาก 3.6 ปัญหาที่อยู่อาศัย เป็นปัญหาสำคัญเพราะมนุษย์เราถ้าขาดที่พักพิงคงอยู่ไม่ได้ ปัญหาเช่นนี้พบอยู่ทั่วโลกเพราะรัฐบาลไม่สามารถจะจัดที่อยู่อาศัยให้แก่พลเมืองถ้วนหน้าได้ เพียงแต่พยายามช่วยเหลือทางด้านควบคุมอาคารให้ถูกสุขลักษณะในการอยู่อาศัยปัญหาที่พบในประเทศไทยในด้านที่อยู่อาศัย สภาพที่ก่อให้เกิดปัญหานี้มีปัจจัยสำคัญ ได้แก่ ความไม่มั่นคงของครอบครัว การอุตสาหกรรมแบบใหม่ การเคลื่อนย้ายสถานที่ตั้งครอบครัวและการอพยพ การทำงานนอกบ้านของแม่บ้าน การปรับตัวเมื่อเกิดปัญหาขึ้นในชีวิตประจำวัน ทุกคนต้องมีปัญหาเกิดขึ้นอยู่ที่มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับการปรับตัว และความเข้าใจซึ่งกันและกัน พยายามยึดหลักต่อไปนี้ ยอมรับว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นเป็นบทเรียนที่เราต้องแก้ไขได้ โดยหาวิธีการในการแก้ปัญหานั้นๆ ยอมรับความเห็นอกเห็นใจ และความช่วยเหลือจากผู้อื่นบ้างเพราะทุกคนที่อยู่ในสังคมต้องมีการ ช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน เช่น ถ้าเดือดร้อนการเงิน อาจจะยอมรับการช่วยเหลือจากผู้ใหญ่ได้ เป็นต้น เตรียมรับสถานการณ์ที่ไม่ได้คิดว่าจะเกิด พยายามทำตนให้มีประโยชน์ที่สุดแก่ครอบครัว โดยทำหน้าที่พ่อบ้าน แม่บ้าน ที่ดีที่สุด แม้ว่าจะต้องทำงานนอกบ้านก็ต้องพยายามระงับอารมณ์ร้อน เพราะความเหน็ดเหนื่อยจากนอกบ้าน ไม่นำงานนอกบ้านมาเป็นเหตุให้เกิดการขัดขวางการดำเนินชีวิตของครอบครัวที่จะเป็นไปด้วยดี ต้องทำเป็นไม่รู้ไม่เห็นสิ่งที่ต่างฝ่ายต่างทำขึ้น การปรับตัวในการดำเนินชีวิต ปัญหาต่าง ๆในครอบครัวเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ถ้าแต่ละครอบครัวมีการปรับตัวเข้าหากัน ผ่อนสั้น ผ่อนยาว เข้าใจซึ่งกันและกัน ปรึกษาหารือซึ่งกันและกัน พยายามหาความสุขให้กับชีวิตครอบครัวมากที่สุด การปรับตัวในการดำเนินชีวิต ได้แก่ การปรับตัวเรื่องการใช้จ่าย การใช้จ่ายต้องพยายามเข้าใจซึ่งกันและกัน เพราะเป็นระยะที่เริ่มสร้างตัวสิ่งที่เป็นสิ่งฟุ่มเฟื่อยต่างๆ พยายามค่อยๆ ลดลง ทั้งสองฝ่ายต้องช่วยกันปรับนิสัย การเที่ยวเตร่ กินอาหารนอกบ้าน เสื้อผ้าฟุ่มเฟื่อย สิ่งเหล่านี้เป็นเหตุให้ครอบครัวไม่มีความสุขได้ ถ้าการเงินไม่พอใช้จ่ายภายในครอบครัว เป็นสาเหตุให้ครอบครัวไม่มีความสุข เรื่องที่ 2 รูปแบบของการดำเนินชีวิต สร้างชั้นสังคมและรูปแบบการดำเนินชีวิต โคลแมน ได้แบ่ง ชนชั้นของสังคมอย่างไม่เป็นทางการ ออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ เป็น 3 ระดับ และแบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยได้ 7 กลุ่ม ซึ่งมีลักษณะโดยทั่วไปสรุปได้ดังนี้ ชนชั้นสูง ( Upper class ) แบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยได้เป็น 3 กลุ่มคือ 1.1 กลุ่มชั้นสูงระดับบน (Upper – Uppers) ได้แก่กลุ่มชั้นยอดเยี่ยมของสังคม (social elite) มีความร่ำรวยเพราะได้รับมรดกตกทอดมากมาย มีบ้านเรือนอยู่ในชุมชนคนร่ำรวยโดยเฉพาะ มีบ้านพักตากอากาศ ลูกๆ เข้าเรียนในโรงเรียนที่ดีที่สุด การตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์จะไม่พิจารณาถึงราคามากนัก แต่จะคำนึงถึงรสนิยมและความพอใจมากกว่า สังคมกลุ่มนี้มีประมาณ 0.3% 1.2 กลุ่มชั้นสูงระดับล่าง (Lower – Upper) ได้แก่ กลุ่มที่มีรายได้สูงที่สุดของสังคม กลุ่มนี้สร้างฐานะความร่ำรวยจากความสามารถพิเศษของตนเอง เช่น เป็นประธานบริษัท หรือหัวหน้างานอาชีพต่างๆที่ประสบผลสำเร็จ ได้รับการศึกษาสูง ชอบช่วยเหลือสังคม ชอบซื้อผลิตภัณฑ์ที่เป็นสัญลักษณ์แสดงฐานะเพื่อตนเอง และครอบครัว เช่นมีบ้านราคาแพงไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท มีสระว่ายน้ำส่วนตัว รถยนต์ราคาแพง เป็นต้น และการซื้อสินค้าจะไม่ถือเรื่องเงินเป็นสำคัญ สังคมกลุ่มนี้มีประมาณ 1.2 % 1.3 กลุ่มชนชั้นกลางระดับบน (Upper – Middles)ได้แก่ กลุ่มที่มีรายได้ระดับสูงจากการประกอบอาชีพอย่างแท้จริง เป็นผู้ที่ได้รับตำแหน่งและมีเงินเดือนสูง เช่น นักบริหาร ผู้จัดการบริษัท และนักวิชาชีพชั้นสูงต่างๆ ฐานะทางสังคมขึ้นอยู่กับอาชีพและรายได้ที่ได้รับ ส่วนมากจะเป็น ผู้ที่มีการศึกษาดี แต่ไม่ได้จบจากสถาบันที่มีชื่อเสียง มีความต้องการอยากให้ลูกได้รับการศึกษาที่ดี ชอบซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูง มีบ้านที่สวยงาม อาจเป็นบ้านเดี่ยวที่หรูหรา ราคา 2 – 10 ล้านบาท ชอบเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม และมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีและมีความสุข สังคมกลุ่มนี้มีประมาณ 12.5% 2 ชนชั้นกลาง ( Middle class) แบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยได้ 2 กลุ่ม คือ 2.1 กลุ่มชั้นกลาง (Middle class) ได้แก่ กลุ่มคนที่ทำงานเป็นพนักงานในออฟฟิศทั่วไป (white – collar workers) และพวกคนงานในโรงงานระดับสูง (top – level blue – collar worker) จำนวนมากผ่านการศึกษาระดับวิทยาลัย ต้องการให้สังคมยอมรับนับถือ อาศัยอยู่ในทาวเฮ้าส์หรืออพาร์ตเมนท์ และพยายามกระทำในสิ่งที่ถูกต้องเหมาะสม มักจะซื้อผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่นิยมเพื่อยกระดับตนเองให้ทันสมัย สังคมกลุ่มนี้มีประมาณ 32 % 2.2 กลุ่มผู้ใช้แรงงาน (Working class) ได้แก่ กลุ่มผู้ใช้แรงงานทั้งในออฟฟิศและในโรงงานส่วนที่เหลือ ซึ่งเป็นกลุ่มที่ใหญ่ที่สุดในสังคม ประกอบด้วยคนงานที่มีทักษะและกึ่งทักษะ (skilled and semiskilled workers) รวมทั้งพนักงานขายในธุรกิจขนาดย่อยทั่วไป ใช้ชีวิตมีความสุขไปแต่ละวันมกกว่าจะอดออมเพื่ออนาคต มีความภักดีในตราและชื่อสินค้า มากกว่าจะซื้อสินค้าเพื่อมุ่งแสดงฐานะ สังคมกลุ่มนี้มีประมาณ 38 % ชนชั้นล่าง ( lower class) แบ่งเป็นกลุ่มย่อยได้ 2 กลุ่มคือ 3.1 กลุ่มชั้นล่างระดับบน (Upper – Lowers) ได้แก่ กลุ่มผู้ทำงานส่วนใหญ่ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นงานประเภทที่ไม่ต้องมีทักษะหรือกึ่งทักษะ ได้รับการศึกษาต่ำ รายได้น้อย มีมาตรฐานการครองชีพระดับความยากจนหรือเหนือกว่าเพียงเล็กน้อยเท่านั้นการยกระดับสังคมของตนเองให้สูงขึ้นค่อนข้างจะลำบาก จึงเพียงแต่ป้องกันมิให้ฐานะตนเองตกต่ำลงไปมากกว่านี้และอาศัยอยู่ในบ้านที่พอจะสู้ค่าใช้จ่ายได้เท่านั้นกลุ่มนี้มี ประมาณ 9 % 3.2 กลุ่มชั้นล่างระดับล่าง (Lower – Lowers) ได้แก่ กลุ่มผู้ว่างงานไม่มีงานจะทำ หรือหากมีจะมีทำอยู่บ้าง ส่วนใหญ่ก็เป็นงานต่ำต้อย (menial jobs) มีรายได้ การศึกษา ที่พักอาศัย ในระดับที่น่าสงสารมากที่สุด เป็นกลุ่มชั้นล่างสุดของสังคม ไม่สนใจหางานทำที่ถาวร ส่วนใหญ่ประทังชีวิตอยู่ด้วยการรับเงินช่วยเหลือจากหน่วยงานการกุศล หรือประชาสงเคราะห์เท่านั้น กลุ่มนี้มีประมาณ 7% การดำเนินชีวิตตามแนวพุทธธรรม การดำรงชีวิตนับว่าเป็นเรื่องใหญ่ เพราะจะต้องต่อสู้กับปัญหาน้อยใหญ่นานัปการ ทั้งปัญหาการครองชีวิต ปัญหาสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และปัญหาสุขภาพอนามัย ซึ่งแต่ละคนก็มีปัญหาที่แตกต่างกันไปคนละหลายปัญหา ชีวิตควรเป็นอยู่อย่างมีความสุข เมื่อคนที่เคยรู้จักคุ้นเคยเคยพบกัน คำถามประโยคที่สองหลังจากกล่าวคำว่า สวัสดีเป็นการทักทายคือ สบายดีไหม? “คำว่าสบายดี” ในความหมายก็คือ มีความสุขเพราะมนุษย์โดยทั่วไปพากันแสวงหาความสุข ความสุขจึงเป็นเป้าหมายใหญ่ของชีวิต ความสุขมีทั้งสุขแบบโลก และสุขแบบธรรม สุขแบบโลกเป็นความสุขของชาวโลก หรือชาวบ้านซึ่งได้แก่พวกคฤหัสถ์ หรือฆราวาสจะพึงมีส่วนสุขแบบธรรมเป็นความสุขเกิดจากฌานสมบัติและภาวะที่ไม่มีกิเลสหรือปราศจากความทุกข์ทางใจ ความสุขของคฤหัสถ์ ความสุขของคฤหาสน์หรือชาวบ้านทั่วๆไปมี 4 อย่างคือ(พระราชวรมุนีประยุทธ์ปยุตโต พจนานุกรมพุทธศาสตร์:173) 1) อัตถิสุข สุขเกิดจากความมีทรัพย์ คือความภูมิใจ เอิบอิ่มใจ ว่าตนมีโภคทรัพย์ที่ได้มาด้วยน้ำพักน้ำแรงความขยันหมั่นเพียรของตนและโดยชอบธรรม 2) โภคสุข สุขเกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์ คือความภูมิใจ เอิบอิ่มใจว่าตนได้ใช้ทรัพย์ที่ได้มาโดยชอบนั้น เลี้ยงชีพ เลี้ยงผู้ควรเลี้ยงและบำเพ็ญประโยชน์ให้แก่สาธารณะ 3) อนณสุข สุขเกิดจากความไม่เป็นหนี้ คือความภูมิใจเอิบอิ่มใจว่า ตนเป็นไทไม่มีหนี้สินติดค้างใคร 4) อนวัชชสุข สุขเกิดจากความประพฤติไม่มีโทษ คือความภูมิใจเอิบอิ่มใจว่าตนมีความประพฤติสุจริต ไม่บกพร่องเสียหาย ใครๆ ติเตียน ไม่ได้ทั้งทางกายวาจาใจ ความสุขเกิดจากความสันโดษ คำว่า สันโดษ แปลว่า ความยินดี คือความพอใจ ความยินดีด้วยของของตน ซึ่งได้มาด้วยเรื่องแรงความเพียรโดยชอบธรรม ความยินดีด้วยปัจจัยสี่ ตามมีตามได้ ความรู้จักอิ่มรู้จักพอ มีความเข้าใจผิดกันว่า สันโดษ คือความไม่กระตือรือร้น งอมืองอเท้าไม่ดิ้นรนขวนขวายหาทรัพย์ เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาถึงกับในสมัยรัฐบาล จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ไม่เห็นด้วยที่จะให้พระสงฆ์เทศน์เรื่องความสันโดษเพราะว่าประชาชนจะไม่ให้ความร่วมมือในการพัฒนา แต่ความหมายของสันโดษมิได้เป็นไปในลักษณะนั้น เป็นหลักธรรมที่ให้คนยั้งคิดถึงความถูกต้องเพื่อให้มีความสุขในการดำรงชีวิต สันโดษมี 3 อย่าง คือ 1) ยถาลาภสันโดษ คือความยินดีตามที่ได้ยินดีตามที่พึ่งได้ คือตนได้สิ่งใดมาหรือเพียรหาสิ่งใดมาได้เมื่อเป็นสิ่งที่ตนพึ่งได้ ไม่ว่าจะหยาบหรือประณีตแค่ไหนก็ยินดีพอใจด้วยสิ่งนั้น 2) ยถาพลสันโดษ คือยินดีตามกำลัง ยินดีแต่พอแก่กำลังร่างกายสุขภาพและวิสัยแห่งการใช้สอยของตน ไม่ยินดีอยากได้เกินกำลังตนมี หรือยากได้สิ่งใดมาอันไม่ถูกกับกำลังร่างกาย หรือสุขภาพ 3) ยถาสารุปปสันโดษ คือยินดีตามสมควร ยินดีตามที่เหมาะสมกับตนอันสมควรแก่ภาวะฐานะ แนวทางชีวิต และจุดมุ่งหมายแห่งการบำเพ็ญกิจของตน

บทที่ 3 เบญจศีลและคุณธรรม 9 ประการ?

เรื่องที่ 1 เบญจศีลธรรม เบญจศีล หรือ ปัญจสีล แปลว่า ศีล 5 เป็นศีลหรือข้อห้ามในลำดับเบื้องต้นตามพระโอวาทของพระพุทธโคดม พระศาสดาแห่งพุทธศาสนาพระองค์ปัจจุบัน แต่ทั้งนี้เบญจศีลเป็นหลักการที่มีมาและเป็นที่สั่งสอนทั่วไปก่อนพระพุทธโคดมอุบัติแล้วจัดเป็นศีลขั้นต่ำของพระโสดาบัน เบญจศีลเป็นหลักธรรมประจำสังคมมนุษย์ ในพิธีกรรมทั้งปวงแห่งพุทธศาสนา ภิกษุจึงนิยม กล่าวเป็น ภาษาบาลี มอบศีลที่ตนมีให้บุคคลร่วมรักษาด้วย เรียกว่า “ให้ศีล” และพุทธศาสนิกจักกล่าวรับปากว่าจะรักษาศีลหรือที่เรียกว่ากล่าว”รับศีล”ทั้งนี้ ไม่เพียงแต่ภิกษุเท่านั้นที่ให้ศีลฆราวาสผู้รักษาศีลอยู่แล้วก็สามารถให้ศีลแก่บุคคลอื่นได้ด้วย เบญจศีล คือ ศีล 5 ได้แก่ 1. ปาณาติปาตา เวรมณี เว้นจากฆ่าสัตว์มีชีวิต 2. อทินนาทานา เวรมณี เว้นจากการถือเอาของที่เจ้าของมิได้ให้ 3. กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี เว้นจากการประพฤติผิดในกาม 4. มุสาวาทา เวรมณี เว้นจากการกล่าวเท็จ 5. สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานา เวรมณี เว้นจากดื่มนำเมา คือ สุรา และเมรัย องค์ประกอบ ของเบญจศีล เบญจศีลในศาสนาพุทธประกอบด้วยข้อห้ามห้าข้อเช่นที่ปรากฏในคำสมาทานศีล ดังต่อไปนี้ ลำดับที่ คำสมาทาน คำแปล 1. ปาณาติบาต ปาณาติปาตา เวรมณี สิกฺขาปทํสมาทิยามิ เราจักถือศีลโดยเว้นจากการเบียดเบียนชีวิต 2. อทินนาทาน อทินฺนาทานา เวรมณี สิกฺขาปทํสมาทิยามิ เราจักถือศีลโดยเว้นจากการเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้ 3.กาเมสุมิจฉาจาร กาเมสุมิจฺฉาจารา เวรมณี สิกฺขาปทํสมาทิยามิ เราจักถือศีลโดยเว้นจากการประพฤติไม่เหมาะสมทางเพศ 4. มุสาวาท มุสาวาทา เวรมณี สิกฺขาปทํสมาทิยามิ เราจักถือศีลโดยเว้นจากการกล่าวเท็จ 5. สุราเมรยมัชปมาทัฏฐาน สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺฐานา เวรมณี สิกฺขาปทํสมาทิยามิ เราจักถือศีลโดยเว้นจากการบริโภคสุรายาเมาอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท เบญจธรรม คือ ธรรม 5 ข้อ 1. เมตตา กรุณา คู่กับ ศีลข้อที่ 1 2. สัมมาอาชีวะ คู่กับ ศีลข้อที่ 2 3. ความสำรวมในกาม คู่กับ ศีลข้อที่ 3 4. ความมีสัตย์ คู่กับ ศีลข้อที่ 4 5. ความมีสติรอบคอบ คู่กับ ศีลข้อที่ 5 คำว่า “ธรรม” ได้แก่ สภาพที่ทรงไว้ หมายความว่า ทรงสัตว์ผู้ปฏิบัติธรรมไว้ไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว “กัลยาชน”ได้แก่ คนที่ตั้งอยู่ในกัลยาณธรรม เป็นคนมีความประพฤติดีงาม เป็นที่นิยมถือของคนทั่วไป การรักษาศีล การรักษาเบญจศีลสามารถกระทำได้สองวิธี ดังนี้ สมาทานวิรัติ คือ สมาทานหรือขอรับศีลจากภิกษุ ซึ่งต่อมามีการพัฒนารูปแบบให้เป็นการกล่าวคำขอและคำรับศีล รวมทั้งมีคำสรุปอานิสงส์ของศีลด้วย ในอรรถกถาชาดก ปรากฏกตอนหนึ่งว่า พระโพธิสัตว์เคยให้เบญจศีลแก่ยักษ์ด้วย นี้หมายความว่า มิใช่แต่ภิกษุเท่านั้น แม้คฤหัสถ์ที่มีศีลก็สามารถให้ศีลตามที่มีผู้ขอได้ สัมปัตวิรัติ คือ งดเว้นไม่ทำบาปขณะประสบกับสถานการณ์ที่กระตุ้นให้ทำบาป เบญจศีล และเบญจธรรม คำว่า “ศีล” ได้แก่ ข้อประพฤติข้อปฏิบัติสำหรับควบคุมกายและวาจาให้ตั้งอยู่ในความดีงาม นอกจากนี้ “ศีล” ยังแปลได้อีกหลายอย่าง เช่น แปลว่า เย็น ศีรษะ เกษม สุข อดทน ความสำรวม ความก้าวล่วงละเมิด เป็นต้น ผู้ที่ถือศีลย่อมได้รับอานิสงส์ อย่างนี้ คือ 1. ไม่ต้องประสบความเดือดร้อนในภายหน้า 2. ย่อมประสบความสำเร็จในการทำมาหากิน 3. ชื่อเสียงเกียรติยศของผู้มีศีลย่อมแพร่หลายไปในหมู่นรชน (ในหมู่คนดี) 4. ย่อมเป็นผู้องอาจ ไม่เก้อเขิน เมื่อเข้าไปในหมู่ของผู้มีศีล 5. เป็นผู้ไม่หลงทำกาลกิริยา คือ ก่อนตายก็มีสติ ตายไปอย่างสงบ ไม่ทุรนทุราย 6. เมื่อตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ไม่ต้องตกนรก 7. ผู้ที่บำเพ็ญศีลให้บริบูรณ์ มีสติบริบูรณ์ ย่อมทำตนให้สิ้นอาสวะได้ คือ สิ้นกิเลสได้ ศีลในทางพระพุทธศาสนามีการจัดอันดับข้อ ดังต่อไปนี้ ศีล 5 ข้อ สำหรับสาธุชนทั่วไป มีชื่อเรียกว่า นิจศีล ปกติศีล ศีล 8 ข้อ สำหรับอุบาสก อุบาสิกา มีชื่อเรียกว่า คหัฏฐศีล อุโบสถศีล ศีล 10 ข้อ สำหรับสามเณร สามเณรี มีชื่อเรียกว่า อนุปสัมปันนศีล ศีล 227 ข้อ สำหรับพระภิกษุ มีชื่อเรียกว่า ภิกขุศีล ศีล 311 ข้อ สำหรับพระภิกษุณี มีชื่อเรียกว่า ภิกขุนีศีล มนุษย์ที่เกิดมาในโลกนี้ย่อมมีรูปพรรณสัณฐานเป็นต่าง ๆ กัน บางคนก็มีรูปงามบางคนก็มีรูปทราม ทั้งนี้ย่อมแล้วแต่เหตุจะตกแต่งให้ เหตุดีก็ตกแต่งให้มีรูปงาม เหตุชั่วก็ตกแต่งให้มีรูปทรามเพราะเลือกเอาตามใจหวังไม่ได้ คนมีรูปงามก็เป็นที่นิยมชมชอบของผู้พบเห็น ถ้ามีรูปเลวทรามก็ตรงกันขาม เหมือนดอกไม้ที่งามและไม่งาม ถ้าเป็นดอกไม้งามและมีกลิ่นหอม ก็ย่อมเป็นชอบใจของคนทั่วไป ถ้าเป็นดอกไม้ไม่งามทั้งไรกลิ่นหอมด้วยแล้ว ยิ่งไม่มีคนปรารถนาเลย คนเราก็เช่นเดียวกัน ถ้ารูปงามน้ำใจดี ย่อมเป็นที่รักใคร่นิยมชมชอบของผู้พบเห็น ถ้ารูปงามหากไร้คุณธรรมประจำใจ ก็สู้คนรูปชั่วเลวทราม แต่มีคุณธรรมประจำใจไม่ได้ รูปพรรณสัณฐานได้มาอย่างไร ย่อมเป็นอยู่อย่างนั้น ตัดแปลงแก้ไข้ไม่ได้ แต่ใจนั้นก็มักเป็นไปตามพื้นเดิมถึงอย่างนั้นก็ยังมีทางแก้ไขได้ ด้วยความตั้งใจอันดีเหมือนของที่ไม่หอมมาแต่เดิม เขายังอบให้หอมได้ แต่ธรรมดาใจนั้นมักผันแปรไม่แน่นอนมั่นคงลงได้นักปราชญ์มีพระพุทธเจ้า เป็นต้น จึงได้กำหนดวางแบบแผนความประพฤติไว้เป็นหลักฐาน การตั้งใจประพฤติตามบัญญัตินั้น ชื่อว่า ” ศีล” ศีลนี้เป็นแนวทางสำหรับให้คนประพฤติความดี คนเราแรกจะประพฤติความดี ถ้าไม่ถืออะไรเป็นหลัก ใจย่อมไม่มั่นคง อาจเอนเอียงไปหาทุจริตอีกได้ เพราะโมหะครอบงำ เมื่อบำเพ็ญศีลให้บริบูรณ์เป็นปกติมรรยาทได้แล้วจึงจะประพฤติคุณธรรมอย่างอื่น ก็มักยั่งยืน ไม่ผันแปร นี้แลเป็นประโยชน์แห่งการบัญญัติศีลขึ้น ความมุ่งหมายอันดับแรกพึงรู้ว่า การรักษาศีลห้า หรือที่เรียกว่า “เบญจศีล” นี้เป็นการรักษาตนเอง เป็นการป้องกันตนเอง ไม่ให้เสียคน หรือที่เรียกว่า เสียตัว เพราะตัวเราแต่ละคนนั้นเป็นของหายากและมีจำกัด คือ มีตัวเดียวเท่านั้น ไม่มีตัวแทน อยู่ก็อยู่หมด เสียก็เสียหมด เป็นพระก็เป็นหมด เป็นโจรก็เป็นหมด หรือ เข้าคุกก็เข้าหมดเช่นเดียวกัน การรักษาศีลห้านั้น มีความมุ่งหมายก็คือ ให้รักษาตนเองไว้ไม่ให้เสียหาย และยังผลพลอยได้อีกมากทั้งทางครอบครัว ทางสังคม ประเทศชาติ และเป็นพื้นฐานให้ตนเองบำเพ็ญ สมาธิ ปัญญา จนถึงได้มรรคผลนิพพาน พึงทราบว่าคนไม่มีศีล ย่อมไม่อาจบำเพ็ญ สมาธิ ปัญญาให้ได้ผลเต็มที่ได้ฯ หลักสำคัญในการรักษาศีล ผู้ที่จะรักษาศีลห้า พึงทราบหลักในทางวิชาการ และทางปฏิบัติ โดยย่อ คือ 1. ความมุ่งหมายในการรักษาศีล 5 2. ข้อห้ามของผู้รักษาศีล 5 ความมุ่งหมายในการรักษาศีล 5 ดังได้กล่าวมาแล้วว่า การรักษาศีลห้ามีความมุ่งหมายในการป้องกันรักษาตนไม่ให้เสียหาย ของทุกสิ่งทุกอย่างมันจะดีหรือจะเสีย จะคงทนถาวรหรือชำรุดหักพังโดยง่าย สำคัญอยู่ที่พื้นฐานของสิ่งนั้น ฉะนั้นช่างก่อสร้างที่เขาจะสร้างตึก จึงต้องตอกเสาเข็มลงรากตรงจุดที่จะรับน้ำหนักไว้แข็งแรง ชีวิตของคฤหัสถ์ก็เช่นกัน ต้องแบกน้ำหนัก เพราะเรื่องครอบครัว เรื่องหน้าที่การงาน เรื่องยากดีมีจน ความสุขความทุกข์ร้อยแปด จำจะต้องสร้างพื้นฐานของชีวิตให้มั่นคง จึงจะรับน้ำหนักไว้อย่างปลอดภัย เราจะเคยเห็นคนที่มีพื้นฐานชีวิตไม่ดีพอ พอตนจะต้องรับภาระหรือกระทบกระแทกเข้าเลยต้องกระทำความผิดถึงติดคุกติดตะรางก็มี นั่นแสดงความที่ชีวิตพังทลายไป น่าเสียดายมาก ทางศาสนาชี้จุดสำคัญทีจะต้องสร้างพื้นฐานไว้ให้มั่นคงเป็นพิเศษ 5 จุด เป็นการปิดช่องทางที่ตัวเองจะเสีย 5 ทางด้วยกัน และวิธีว่านี้ ก็คือ การรักษาศีล 5 ข้อ ศีลข้อที่ 1 ป้องกันทางที่ตนจะเสียหาย เพราะความโหดร้าย ศีลข้อที่ 2 ป้องกันทางที่ตนจะเสียหาย เพราะความมือไว้ ศีลข้อที่ 3 ป้องกันทางที่ตนจะเสียหาย เพราะความใจเร็ว ศีลข้อที่ 4 ป้องกันทางที่ตนจะเสียหาย เพราะขี้ปด ศีลข้อที่ 5 ป้องกันทางที่ตนจะเสียหาย เพราะความขาดสติ หมายความว่า ชีวิตของคฤหัสถ์ทั้งหลายมักจะพังทลายในเพราะ 5 อย่างนี้ คือ 1. ความโหดร้ายในสันดาน 2. ความอยากได้ทรัพย์ของคนอื่นในทางที่ผิดๆ 3. ความร่านในทางกามเกี่ยวกันเพศตรงข้าม 4. ความไม่มีสัจจะประจำใจ 5. ความประมาทขาดสติ สัมปชัญญะ วิธีแก้ก็คือ การหันเข้ามาปรับพื้นฐานสันดานตนเอง โดยวิธีรักษาด้วยเบญจศีล ข้อห้ามของผู้รักษาศีล 5 ความเบียดเบียนกันทางโลกซึ่งเป็นไปโดยกายทวาร ย่อเป็น 3 ประการ คือ 1. เบียดเบียนชีวิตร่างกาย 2. เบียดเบียนทรัพย์สมบัติ 3. เบียดเบียนประเพณี คือ ทำเชื้อสายผู้อื่นให้สับสน ความประพฤติเสียด้วยวาจา อันมีมุสาวาทคือกล่าวคำเท็จเป็นที่ตั้ง คนจะประพฤติก็เพราะความประมาท และความประมาทนั้นไม่มีมูลอื่นทียิ่งกว่าน้ำเมา เมื่อดื่มเข้าไปแล้วย่อมทำให้ความคิดวิปริตทันที เหตุนั้นนักปราชญ์ทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้นเล็งเห็นการณ์น้จึงบัญญัติศีลมีองค์ 5 ไว้ดังกล่าวแล้วคำอาราธนาศีล หมายความว่า การนิมนต์ หรือ เชิญพระภิกษุ หรือผู้หนึ่งให้เป็นผู้ให้ศีล คำสมาทานศีล หมายความว่า การว่าตามผู้ที่เราอาราธนาเพื่อให้ศีล ตั้งแต่ นโม ตสฺส ภควต เป็นต้นไป องค์แห่งศีลอย่างหนึ่งๆ เรียกว่า “สิกขาบท” ศีลมีองค์ 5 จึงเป็นสิกขาบท 5 ประการรวมเรียกว่า เบญจศีล การ รักษาศีล คือ การตั้งเจตนางดเว้นจากการทำความผิดดังท่านบัญญัติไว้เป็นเรื่องที่ตังใจงด ตั้งใจเว้น ตั้งใจไม่ทำอีก ต้องมี “ความตั้งใจ” กำกับไว้เสมอไม่ใช่เพราะมีเหตุอื่นบังคับตน จึงไม่ทำความผิด แต่ไม่ทำเพราะตนเองได้ตั้งใจไว้ว่าจะงดเว้น ความตั้งใจดังว่ามานี้ ทางศาสนา เรียกว่า” วิรัติ” เจตนาที่งดเว้นจากความชั่ว วิรัติ ผู้ปฏิบัติตามสิกขาบท 5 ประการนั้นย่อมมีวิรัติด้วย วิรัติมี 3 ประการ คือ 1. สัมปัตตวิรัติ เว้นจากวัตถุที่จะพึงล่วงได้อันมาถึงเฉพาะหน้า ได้แก่ วิรัติของตนทั่วไป 2. สมาทานวิรัติ เว้นด้วยอำนาจการถือเป็นกิจวัตร ได้แก่ พระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา 3. สมุจเฉทวิรัติ เว้นด้วยตัดขาด มีอันไม่ทำอย่างนั้นเป็นปกติ ได้แก่ พระอริยเจ้า (พระอรหันต์) คำว่า รูปธรรม – นามธรรม คนที่เกิดมาอาศัยเหตุแต่งขึ้น คุมธาตุทั้ง 4 คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม ขึ้นเป็นร่างกาย เรียกว่า รูปธรรม แต่เพราะอาศัยความพร้อมเพรียงแห่งธาตุ 4 จึงมีใจ รู้จักคิดตริตรองและรู้สึกกำหนดหมายต่าง ๆ จึงเรียกว่า นามธรรม ถ้ารวมรูปธรรมและนามธรรมเข้าด้วยกัน เรียกว่า สังขาร ซึ่งแปลว่าสิ่งที่เหตุแต่งขึ้น คุณธรรม 9 ประการ ขยัน คือ ผู้ที่มีความตั้งใจเพียรพยายามทำหน้าที่การงานอย่างจริงจังและต่อเนื่องในเรื่องที่ถูกที่ควร สู้งานมีความพยายาม ไม่ท้อถอย กล้าเผชิญอุปสรรค รักงานที่ทำ ตั้งใจทำหน้าที่อย่างจริงจัง ประหยัด คือ ผู้ที่ดำเนินชีวิตความเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย รู้จักฐานะการเงินของตน คิดก่อนใช้ คิดก่อนซื้อ เก็บออมถนอมใช้ทรัพย์สินสิ่งของอย่างคุ้มค่าไม่ฟุ่มเฟือย ฟุ้งเฟ้อ รู้จักทำบัญชี รายรับ – รายจ่าย ของตนเองอยู่เสมอ 3. ซื่อสัตย์ คือ ผู้ที่มีความประพฤติตรงทั้งต่อเวลา ต่อหน้าที่ และต่อวิชาชีพ มีความจริงใจปลอดจากความรู้สึกสำเอียง หรืออคติ ไม่ใช้เล่ห์กลคดโกงทั้งทางตรงและทางอ้อม รับรู้หน้าที่ของตนเองปฏิบัติอย่างเต็มที่และถูกต้อง 4. มีวินัย คือ ผู้ที่ปฏิบัติตนในขอบเขต กฎ ระเบียบของสถานศึกษา สถาบัน องค์กร และประเทศ โดยที่ตนยินดีปฏิบัติตามอย่างเต็มใจและตั้งใจยึดมั่นในระเบียบแบบแผนข้อบังคับและข้อปฏิบัติ รวมถึงการมีวินัยทั้งต่อตนเองและสังคม 5. สุภาพ คือ ผู้ที่มีความอ่อนน้อมถ่อมตนตามสถานภาพและกาลเทศะ มีสัมมาคารวะ เรียบร้อยไม่ก้าวร้าว รุนแรง หรือวางอำนาจข่มผู้อื่นทั้งโดยวาจาและท่าทางเป็นผู้มีมารยาทดีงามวางตนเหมาะสมกับวัฒนธรรมไทย 6. สะอาด คือ ผู้ที่รักษาร่างกาย ที่อยู่อาศัย และสิ่งแวดล้อมได้อย่างถูกต้องตามสุขลักษณะ ฝึกฝนจิตไม่ให้ขุ่นมัว มีความแจ่มใสอยู่เสมอ ปราศจากความมัวหมองทั้งกาย ใจและสภาพแวดล้อมมีความผ่องใสเป็นที่เจริญตาทำให้เกิดความสบายใจแก่ผู้พบเห็น 7. สามัคคี คือ ผู้ที่เปิดใจกว้าง รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รู้บทบาทของตนทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามที่ดี มีความมุ่งมั่นต่อการรวม พลัง ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เพื่อให้การงานสำเร็จลุล่วง สามารถแก้ปัญหาและขจัดความขัดแย้งได้ เป็นผู้มีเหตุมีผล ยอมรับความแตกต่าง ความหลากหลายทางวัฒนธรรม ความคิดและความเชื่อ พร้อมที่จะปรับตัวเพื่ออยู่ร่วมกันอย่างสันติและสมานฉันท์ 8. มีน้ำใจ คือ ผู้ให้และผู้อาสาช่วยเหลือสังคม รู้จักแบ่งปัน เสียสละความสุขส่วนตน เพื่อทำประโยชน์ให้แก่ผู้อื่น เห็นอก เห็นใจ และเห็นคุณค่าในเพื่อมนุษย์และผู้ที่มีความเดียดร้อน มีความเอื้ออาทรเอาใจใส่อาสาช่วยเหลือสังคมด้วยแรงกายและสติปัญญาลงมือปฏิบัติการเพื่อบรรเทาปัญหาหรือร่วมสร้าง สรรค์สิ่งดีงามให้เกิดขึ้นในชุมชน 9.ความกตัญญู คือ ความรู้คุณ หมายถึงความเป็นผู้มีใจกระจ่าง มีสติ มีปัญญาบริบูรณ์ รู้อุปการคุณที่ผู้อื่นกระทำแล้วแก่ตน ผู้ใดก็ตามที่ทำคุณแก่ตนแล้ว ไม่ว่าจะมากก็ตาม น้อยก็ตามแล้วก็ตามระลึกนึกถึงด้วยความซาบซึ้งไม่ลืมเลย

บทที่ 4 คุณธรรมในการครองเรือน?

เรื่องที่ 1 คุณธรรมในการครองเรือน การครองเรือน หรือ ชีวิตสมรส คือการที่ชายและหญิงมีความพอใจในรสสัมผัสซึ่งกันและกัน ตกลงใจที่จะใช้ชีวิตคู่ร่วมกัน จะเผชิญกับปัญหาร่วมกัน และมีความพยายามที่จะดำเนินชีวิตร่วมกันเพื่อความสุขในการครองเรือน การที่บุคคล 2 คน ซึ่งต่างก็มีพื้นฐานจากครอบครัวเดิมต่างกัน มีความคิด ค่านิยม รสนิยมต่างกัน มาอยู่ร่วมกัน ย่อมก่อให้เกิดปัญหาครอบครัวจะมีสุขได้ เพราะด้วยเหตุจากการประพฤติตนของสามีและภรรยา บุคคลทั้งสองนี้เป็นผู้ที่มีความสามารถดลบันดาลให้ครอบครัวนั้น ๆ เป็นสวรรค์ที่น่าอยู่หรือเป็นนรกก็ได้ ดังนั้นการเลือกใครมาเป็นคู่ครองของตนนั้น พระพุทธเจ้าทรงแสดงสมชีวิกถา 4 ข้อ คือเหตุที่ทำให้คู่สมรสครองเรือนได้ยืดยาว 1. สมศรัทธา ให้เลือกบุคคลที่มีความเชื่อเลื่อมใสในศาสนาหรือสิ่งเคารพบูชาต่าง ๆ เหมือนกัน มีความคิดเห็นในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเหมือนกัน มีจุดมุ่งหมายในชีวิตเหมือนกัน ตลอดจนมีรสนิยมตรงกัน 2. สมศีลา ให้เลือกบุคคลที่มีความประพฤติ ศีลธรรม จรรยามารยาท มีพื้นฐานการอบรมพอเหมาะสอดคล้องกัน ไปกันได้ หรืออยู่ในระดับเดียวกัน จะได้ไม่เป็นเหตุให้เกิดความรังเกียจิซึ่งกันและกัน 3. สมจาคา ให้เลือกบุคคลที่มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ โอบอ้อมอารี มีใจกว้าง มีความเสียสละ มีความพร้อมที่จะช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น บุคคลที่เสมอกันด้วยจาคะนี้จะทำให้ครอบครัวอยู่เย็นเป็นสุข เพราะเมื่อคนเราอยู่ด้วยกันก็ต้องเสียสละทั้งทรัพย์สินเสียสละความสุขของตน เพื่อเกื้อกูลซึ่งกันและกัน 4. สมปัญญา ให้เลือกบุคคลที่มีปัญญาเสมอกัน คือ รู้จักเหตุ รู้จักผล รู้จักดี รู้จักชั่ว รู้จักสิ่งที่เป็นประโยชน์ สิ่งที่ไม่ใช่ประโยชน์ มีการใช้ความคิดเพื่อแก้ปัญหา นอกเหนือจากการเลือกคู่โดยใช้หลักสมชีวิกถา 4 แล้ว พระพุทธเจ้าทรงสอนให้เลือกคนที่มีลักษณะ 4 อย่างดังต่อไปนี้มาเป็นคู่ครอง เพื่อประโยชน์สุขในปัจจุบันชาติ (ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์) 1. เลือกบุคคลที่มีความขยันในการประกอบอาชีพ 2. เลือกบุคคลที่เป็นคนประหยัด รู้จักออมทรัพย์ 3. เลือกบุคคลที่รู้จักคบคนดีเป็นเพื่อน 4. เลือกบุคคลที่มีการเลี้ยงชีวิตตามสมควรแก่กำลังทรัพย์ที่หามาได้ ไม่ให้ฝืดเคืองนัก ไม่ให้ฟุ้งเฟ้อนัก เรื่องที่ 2 สมชีวิธรรม 4 สมชีวิธรรม 4 คือ หลักธรรมคู่ชีวิต เป็นหลักธรรมที่ทำให้คู่สมรสใช้ชีวิตอยู่ด้วยกันจนเฒ่าจนแก่ มีดังนี้ สมศรัทธา เลือกบุคคลที่มีความเลื่อมใสในศาสนา หรือเคาพรบูชาสิ่งต่างๆเหมือนกันมีความคิดเห็นเหมือนกัน มีรสนิยมตรงกัน มีจุดมุ่งหมายในชีวิตเหมือนกัน หรือถ้าจะนับถือศาสนาต่างกันต้องให้เกียรติและเคารพสิทธิความเชื่อของอีกฝ่ายหนึ่ง ไม่ดูถูกเหยียดหยาม หรือก้าวก่ายความเชื่อถือของอีกฝ่ายหนึ่ง สรุปได้ว่าการมีศรัทธาสมกันจะมีแนวคิด มีความเชื่อ มีค่านิยม และมีเจตคติไปทางเดียวกันและที่สำคัญคือ ยอมรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น ไม่ดื้อดึงดันว่าความคิดของตนเองถูกต้อง สมศีล เลือกบุคคลที่มีความประพฤติ มีศีลธรรม จรรยามารยาท และมีพื้นฐานการดำรงชีวิตที่คล้ายคลึงกัน หรืออยู่ในระดับเดียวกัน ฝ่ายหนึ่งทำบุญตักบาตรประจำ อีกฝ่ายจะทำหรือไม่ทำก็ได้ ไม่บังคับซึ่งกันและกัน ส่วนเรื่องที่ไม่ถูกต้องหรือไม่ดีงามที่เคยประพฤติก่อนแต่งงาน ต้องปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น เช่น การเที่ยวกลางคืน การดื่มสุรา เป็นต้น สมวาจา เลือกบุคคลที่มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีจิตใจโอบอ้อมอารี มีใจกว้าง มีความเสียสละและมีความพร้อมที่จะช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น บุคคลที่มีลักษณะเช่นนี้ จะทำให้คนในครอบครัวอยู่เย็นเป็นสุข คนเราอยู่ด้วยกันจะต้องมีการเสียสละทั้งทรัพย์สิน เสียสละความสุขส่วนตนและช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน สมปัญญา เลือกบุคคลที่มีสติปัญญาเท่ากัน หรือใกล้เคียงกัน เป็นผู้ที่รู้จักเหตุ รู้จักผล รู้จักชั่ว รู้จักว่าสิ่งที่มีประโยชน์ และสิ่งใดไม่เป็นประโยชน์ ใช้ความคิดในการแห้ไขปัญหา ยอมรับฟังตุผล เรื่องที่ 3 ฆาราวาสธรรม คำว่า ครอบครัว เป็นคำที่สำคัญและมีความหมายซ่อนปริศนาธรรมอยู่ภายใน แยกมาจากคำว่า ครอบ กับคำว่า ครัว คำว่า ครอบ มีความหมายว่า การเอาของที่มีลักษณะภายในโปร่งคล้ายๆ ขันคว่ำปิดเอาไว้ และ คำว่า ครัว มีความหมายว่า เรือนหรือโรงทำกับข้าว ในที่นี้คือ บ้านหรือเรือนนั่นเอง ดังนั้น ครอบครัว หมายถึง การครอบคนสองคนไว้ในบ้านหรือเรือนเดียวกันไม่ให้จากกันไปไหน เมื่อทราบความหมายอย่างนี้แล้ว ก็จะทำให้เห็นภาพชัดว่า การมีครอบครัวก็คือการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันภายใต้หลังคาบ้านหรือเรือนเดียวกันไปจนกว่าชีวิตจะหาไม่ การที่คนสองคนใช้ชีวิตอยู่ด้วยกันนั้น ย่อมเป็นเรื่องที่ยากพอสมควร เพราะความคิดเห็นของคนทั้งสองอาจมีไม่เหมือนกัน จำเป็นต้องมีการปรับหรือจูนความคิดเห็นเข้าหากัน เพื่อลดความบาดหมางกัน หรือโกรธเคืองกัน หากสามารถสร้างความคิดเห็นให้เป็นอย่างเดียวกันได้ ก็จะนำไปสู่การสร้างครอบครัวให้มีความสุข ดังนั้น จึงควรทราบหลักธรรมที่ใช้สำหรับการดำเนินชีวิตครอบครัว เพื่อสร้างความรัก ความเข้าใจกันให้มากขึ้น หลักธรรมที่อยากจะนำมาเสนอไว้ในที่นี้คือ หลักฆราวาสธรรม (ธรรมะสำหรับผู้ครองเรือน) ประกอบด้วย ฆาราวาสธรรม คำว่า “ฆาราวาส” หมายถึงคนทั่วๆไปที่ไม่ใช่นักบวช ได้แก่ ผู้ครองเรือน ฆาราวาสธรรม หมายถึง ธรรมของผู้ครองเรือน เป็นข้อปฏิบัติสำหรับการมีชีวิตอยู่ร่วมกับคนอื่นได้อย่างมีความสุข ฆาราวาสธรรม ที่สำคัญ มี 4 ประการ คือ สัจจะ มีความสัตย์ต่อตนเอง มีความรับผิดชอบ ประพฤติปฏิบัติต่อผู้อื่น ทมะ ได้แก่ การฝึกฝนตนเองและข่มใจตนเองในด้านต่างๆปรับปรุงตนให้เจริญก้าวหน้า ยับยั้งจิตใจตนเองไม่ให้หลงมัวเมาในอบายมุขต่างๆ ขันติ มีความอดทนต่อความยากลำบากทั้งกายและจิตใจ จาคะ มีความเสียสละ จิตใจกว้างขวาง เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เสียสละทรัพย์สินสิ่งของส่วนตนเพื่อประโยชน์ส่วนรวม หน้าที่ที่ต้องปฏิบัติต่อกันของสามี-ภรรยา เมื่อผ่านขั้นตอนการเลือกคู่แล้ว การอยู่ร่วมกันเป็นสามีภรรยา ทั้งคู่จะต้องมีหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติต่อกัน ดังนี้ สามีมีหน้าที่ 5 ประการ 1. ให้ความนับถือ ยอมรับฐานะแห่งภรรยา 2. ยกย่องให้เกียรติ ไม่ดูหมิ่นเหยียดหยาม 3. มีความซื่อสัตย์ ไม่นอกใจ 4. มอบความเป็นใหญ่ 5. หาเครื่องประดับ เครื่องแต่งกายมามอบให้ ภรรยามีหน้าที่ 5 ประการ 1. จัดดูแลงานบ้านให้เรียบร้อย 2. ใส่ใจสงเคราะห์คนข้างเคียงของสามี 3. ซื่อสัตย์ ไม่ประพฤติผิดนอกใจ 4. ช่วยประหยัดดูแลรักษาทรัพย์ที่หามาได้ 5. ขยัน ไม่เกียจคร้านในงานทั้งปวง สามีภรรยาเป็นบุคคลที่พึ่งเป็นพึ่งตายซึ่งกันและกัน ฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงทรงสั่งสอนให้มีความซื่อสัตย์ต่อกัน ไม่ประพฤตินอกใจกันและกัน เพราะการทำเช่นนั้นเป็นการทำร้ายจิตใจของกันและกัน ท่านทรงสอนให้คู่สมรสมีสัจจะคือจริงใจ หรือซื่อสัตย์ต่อกัน สอนให้มีจาคะ เสียสละให้ปันกัน ได้ทรัพย์มาก็จัดสรรทรัพย์ที่หาได้ร่วมกัน ใช้ร่วมกัน ไม่ตระหนี่ถี่เหนียว ท่านทรงสอนให้มีทมะ คือรู้จักข่มใจ รู้จักควบคุมอารมณ์ ระงับอารมณ์ หรือความรู้สึกต่อเหตุบกพร่องของกันและกัน และเมื่ออยู่ร่วมกันบางช่วงของชีวิตคู่ คนใดคนหนึ่งอาจจะเจ็บป่วยประสบเคราะห์กรรมต่าง ๆ คู่สมรสก็ต้องมีความอดทน(ขันติ) ต่อเหตุการณ์ต่างๆ อดทนต่อกัน คุณธรรมทั้ง 5 นี่ คือ ฆราวาสธรรม ซึ่งถ้าสามีภรรยาปฏิบัติตามแล้ว ครอบครัวก็จะมีความสุข และความสุขของคู่ครองไม่มีอะไรมากไปกว่า 1. สุขที่เกิดจากการมีทรัพย์ 2. สุขที่เกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์ 3. สุขที่เกิดจากความไม่เป็นหนี้ 4. สุขที่เกิดจากการทำงานไม่เป็นโทษ เมื่อปรารถนาที่จะครองชีวิตคู่ให้มีความสุขแล้ว ทั้งสามีและภรรยาคงต้องหมั่นหาทรัพย์โดยทางสุจริต เพราะการทำงานสุจริต และการมีทรัพย์เป็นความสุข จากนั้นคงต้องอดทนต่อกิเลส ความอยากได้วัตถุสิ่งของต่าง ๆ ที่เกินความจำเป็น ความอยากได้นี้ผ่านมาทางการโฆษณาทางทีวี จากเพื่อนฝูง และระบบการขายของเงินผ่อน มิฉะนั้นจะทำให้มีการจ่ายทรัพย์ที่เกินต่อฐานะของครับครัว ก่อความเป็นหนี้ ทำให้ไม่มีความสุข คอยแต่จะคิดหมุนเงิน จัดสรรเงิน ผ่อนนั่น ผ่อนนี่ จนเงินเดือนไม่พอใช้ ก่อให้เกิดทุกข์ เมื่อมนุษย์ยังมีกิเลสตัณหาอยู่ ความสุขจากการครองเรือนเป็นความสุขที่มนุษย์แสวงหา และแทบจะกล่าวได้ว่าเป็นจุดมุ่งหมายของชีวิตทุกชีวิต ที่ปรารถนาจะได้คู่ครองที่ดีมีความสุขจากการครองเรือน เมื่อมีความปรารถนาเช่นนี้อยู่ก็ต้องสร้างเหตุปัจจัย เพราะความสุขของครอบครัวอยู่ที่การกระทำ หรือความประพฤติของสามีและภรรยาเป็นหลัก บุคคลทั้งสองต้องมีคุณธรรมดังกล่าวแล้วข้างต้น จึงจะเป็นเหตุซึ่งนำผลมาให้คือความสุขในการครองเรือน

บทที่ 5 ทิศ 6 ปัจฉิมทิศ?

ทิศ 6 ปัจฉิมทิศ บุคคลประเภทต่างๆที่เราต้องเกี่ยวข้องสัมพันธ์ ดุจทิศที่อยู่รอบตัวจัดเป็น 6 ทิศ ดังนี้ ปุรัตถิมทิส ทิศเบื้องหน้า ได้แก่ บิดา มารดา ทักขิณทิส ทิศเบื้องขวา ได้แก่ ครูอาจารย์ ปัจฉิมทิส ทิศเบื้องหลัง ได้แก่ สามี ภรรยา อุตตรทิส ทิศเบื้องซ้าย ได้แก่ มิตรสหาย อุปริมทิส ทิศเบื้องบน ได้แก่ พระสงฆ์ สมณพราหมณ์ เหฏฐิมทิส ทิศเบื้องล่าง ได้แก่ ลูกจ้างกับนายจ้าง ปุรัตถิมทิส ทิศเบื้องหน้า ได้แก่ บิดา มารดา มารดาบิดาอนุเคราะห์บุตรธิดา ดังนี้ บุตรธิดาพึงบำรุงมารดาบิดา ดังนี้ 1.ห้ามปรามจากความชั่ว 1. ท่านเลี้ยงเรามาแล้วเลี้ยงท่านตอบ ให้ตั้งอยู่ในความดี 2. ช่วยทำกิจของท่าน ให้ศึกษาศิลปวิทยา 3. ดำรงวงศ์สกุล หาคู่ครองที่สมควรให้ 4. ประพฤติตนให้เหมาะสมกับความเป็นทายาท มอบทรัพย์สินสมบัติให้ในโอกาสอันสมควร 5. เมื่อท่านล่วงลับไปแล้วทำบุญอุทิศให้ท่าน ทักขิณทิส ทิศเบื้องขวา ได้แก่ ครูอาจารย์ ครูอาจารย์อนุเคราะห์ศิษย์ ดงนี้ ศิษย์พึงบำรุงครูอาจารย์ ดังนี้ ฝึกฝนแนะนะให้เป็นคนดี 1. ลุกต้อนรับแสดงความเคารพ สอนให้เข้าใจแจ่มแจ้ง 2. เข้าไปหา สอนศิลปวิทยาให้สิ้นเชิง 3. ใฝ่ใจเรียน ยกย่องให้ปรากฏในหมู่เพื่อน 4. ปรนนิบัติ สร้างเครื่องคุ้มครองกันภัยในสารทิศ คือ 5. เรียนศิลปวิทยาโดยเคารพ สอนให้ศิษย์ปฏิบัติได้จริง นำวิชาไปประกอบอาชีพทำการงานได้ ปัจฉิมทิส ทิศเบื้องหลัง ได้แก่ สามี ภรรยา สามีพึงบำรุงภรรยา ดังนี้ ภรรยาอนุเคราะห์สามี ดังนี้ 1.ยกย่องสมฐานะภรรยา 1. จัดงานบ้านให้เรียบร้อย 2ไม่ดูหมื่น 2. สงเคราะห์ญาติมิตรทั้งสองฝ่ายด้วยดี 3.ไม่นอกใจ 3. ไม่นอกใจ 4.มอบความเป็นใหญ่งานในบ้านให้ 4. รักษาสมบัติที่หามาได้ 5.หาเครื่องประดับมาให้เป็นของขวัญ 5. ขยันไม่เกียจคร้านในงานทั้งปวงตามโอกาส อุตตรทิส ทิศเบื้องซ้าย ได้แก่ มิตรสหาย พึงบำรุงมิตรสหาย ดังนี้ มิตรสหายอนุเคราะห์ตอบ ดังนี้ เผื่อแผ่แบ่งปัน 1. เมื่อเพื่อนประมาทช่วยรักษาป้องกัน พูดจามีน้ำใจ 2. เมื่อเพื่อนประมาทช่วยรักษาทรัพย์สมบัติของเพื่อน ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน 3. ในคราวมีภัย เป็นที่พึ่งได้ มีตนเสมอร่วมสุขร่วมทุกข์ด้วย 4. ไม่ละทิ้งในยามทุกข์ยาก ซื่อสัตย์จริงใจต่อกัน 5. นับถือตลอดถึงวงศ์ญาติของมิตร อุปริมทิส ทิศเบื้องบน ได้แก่ พระสงฆ์ สมณพราหมณ์ คฤหัสถ์พึงบำรุงพระสงฆ์ ดังนี้ พระสงฆ์อนุเคราะห์คฤหัสถ์ ดังนี้ จะทำสิ่งใดก็ทำด้วยเมตตา 1. ห้ามปรามจากความชั่ว จะพูดสิ่งใดก็พูดด้วยเมตตา 2. ให้ตั้งอยู่ในความดี จะคิดสิ่งใดก็คิดด้วยเมตตา 3. อนุเคราะห์ด้วยความปรารถนาดี ต้อนรับด้วยความเต็มใจ 4. ให้ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง อุปถัมภ์ด้วยปัจจัย 5. ทำสิ่งที่เคยฟังแล้วให้แจ่มแจ้ง บอกทางสวรรค์ สอนวิธีดำเนินชีวิตให้ประสบความสุขความเจริญ เหฏฐิมทิส ทิศเบื้องล่าง ได้แก่ ลูกจ้างกับนายจ้าง นายจ้างพึงบำรุงลูกจ้าง ดังนี้ ลูกจ้างอนุเคราะห์นายจ้าง ดังนี้ จัดการงานให้ทำตามกำลังความสามารถ 1. เริ่มทำงานก่อน ให้ค่าจ้างรางวัลสมควรแก่งานและความเป็นอยู่ 2. เลิกงานทีหลัง จัดสวัสดิการดีมีช่วยรักษาพยาบาลในยามเจ็บไข้ 3. เอาแต่ของที่นายให้ ได้ของแปลกๆพิเศษมาก็แบ่งปันให้ 4. ทำการงานให้เรียบร้อยและดียิ่งขึ้น ให้มีวันหยุดและผักผ่อนหย่อนใจตามโอกาสอันควร 5. นำความดีของนายไปเผยแพร่ เรื่องที่ 2 ความรับผิดชอบของสมาชิกในครอบครัว ความรับผิดชอบของสมาชิกในครอบครัว มีดังนี้ การศึกษา บิดา มารดา มีหน้าที่ที่จะต้องให้การศึกษาแก่บุตร เพื่อเป็นพื้นฐานในการ ประกอบสัมมาชีพในอนาคตและบุตรพึงมีหน้าที่ที่จะต้องศึกษาเล่าเรียนด้วยความเอาใจใส่และพากเพียรให้สำเร็จสมดังที่บิดามารดาปูพื้นฐานส่งเสียให้เล่าเรียน การเลี้ยงดู นับตั้งแต่การให้อาหารและจัดอาหารถูกหลักโภชนาการ การดูแลสุขภาพอนามัย ที่อยู่อาศัยสะอาด จัดบรรยากาศบ้านให้อบอุ่น เอาใจใส่แก่ลูกและสมาชิกในครอบครัวไม่ให้เกิดความรู้สึกว่าถูกทอดทิ้ง พ่อแม่ต้องเข้าใจพัฒนาการของเด็ก และความต้องการของเด็ก เพื่อช่วยให้ไม่เกิดความคับข้องใจดูแลให้มีเครื่องใช้ที่จำเป็นครบถ้วนและให้ค่าใช้จ่ายเหมาะสมกับฐานะ การักษาความปลอดภัยของสมาชิกในครอบครัวเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง บิดา มารดา จะต้องระมัดระวังรอบคอบในการเก็บรักษาเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ ซ่อมแซมเครื่องมือเครื่องใช้ที่ชำรุดให้อยู่ในสภาพที่ใช้การได้ แนะนำวิธีการใช้สิ่งของต่างๆ และฝึกการใช้ที่ถูกต้องจนเป็นนิสัย แนะนำการป้องกันอันตรายที่พึงเกิดขึ้นได้ และรู้จักแหล่งที่จะขอความช่วยเหลือ ทั้งนี้เพื่อให้สมาชิกปลอดภัยจากอุบัติเหตุทั้งปวง ไม่มีลูกมาก เพราะถ้ามีลูกมากเกินไป การเลี้ยงดูให้การศึกษา และการอบรมบ่มนิสัยอาจทำได้ไม่เต็มที่ ร่วมกันพัฒนา คุณภาพของครอบครัวและคุณภาพของสังคม ถ้าหากคุณภาพของสังคมดีก็ย่อมไม่เดือดร้อนถึงครอบครัว และทำนองเดียวกันถ้าหากคุณภาพของสังคมทุกครอบครัวดี สังคมก็อยู่เย็นเป็นสุข พาไปสู่คุณธรรม สังคมจะเป็นสุขได้ต่อเมื่อทุกคนมีคุณธรรม ถ้าพ่อแม่เป็นบุคคลไม่มี่คุณธรรมก็ย่อมจะทำให้ครอบครัวเดือดร้อน และสมาชิกในครอบครัวก็จะเตลิดไปสู่ความชั่วทั้งหลาย เรื่องที่ 3 การสร้างประชาธิปไตยในครอบครัว การสร้างประชาธิปไตย คือ การรับฟังความคิดเห็นของครอบครัว พ่อแม่ควรจะเข้าใจว่าแม้เด็กจะมีอายุยังน้อย แต่ความคิด ความอ่าน อารมณ์ละจิตใจ ร่างกายและความต้องการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาก้าวหน้าไปสู่วุฒิภาวะตามขั้นตอนของอายุ ต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงในตัวเองตามวัย ยังจะต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมอย่างรวดเร็ว แม้แต่พ่อแม่เองก็ยังปรับตัวแทบไม่ทันต่อความเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม ดังนั้น พ่อแม่ควรจะต้องยอมรับฟังความคิดเห็นและการกระทำบางอย่างซึ่งเป็นการเรียนรู้และประสบการณ์ของเด็กเองและในขณะเดียวกันให้เด็กมีโอกาสรับรู้ความคิดเห็นของพ่อแม่ และพิจารณาดุตามเหตุตามผล ร่วมกันคิดว่าคิดว่าทำอย่างไรจึงจะอยู่ร่วมกันด้วยความสุขเป็นที่พอใจของทุกฝ่าย โดยการสร้างกติกาของครอบครัวร่วมกัน พ่อแม่ควรปฏิบัติต่อลูกว่าลูกมีความสามารถ มีความรู้สึกนึกคิด เพียงแต่ตะล่อมให้ถูกทำนองคลองธรรม เรื่องที่ 4 การวางแผนเลี้ยงดูสมาชิกในครอบครัว เพื่อจะให้ครอบครัวมีความสุขไม่เกิดความขัดแย้งและการแตกแยก จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะมีการวางแผนล่วงหน้า มิใช่เพียงแต่แก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปวันหนึ่งๆเท่านั้น การวางแผนจะต้องคำนึงถึง เศรษฐกิจของครอบครัวในปัจจุบันและอนาคต มีการเก็บออมสำหรับวันข้างหน้า เช่น การฝากเงิน สะสมเพื่อการศึกษาของบุตร เป็นต้น การวางแผนครอบครัว ว่าควรจะมีบุตรกี่คน จึงจะสามารถสร้างบุตรให้เป็นพลเมืองที่มีคุณภาพได้ในอนาคต เพราะบุตรจะต้องมีสุขภาพแข็งแรง จะต้องมีการศึกษาดี มีการกินดีอยู่ดีพอสมควร

เกี่ยวกับผู้สอน

นางสาวกัลยา สุขเพียง ชื่อเล่น ครูเปิ้ล ตำแหน่ง ครู กศน.ตำบลวังพิณพาทย์ สถานที่ทำงาน กศน.อำเภอสวรรคโลก 10/2 ถ.ประชาสงเคราะห์ ต.เมืองสวรรคโลก อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย 64110 ข้อมูลการติดต่อ เบอร์โทร 0924096916
0 (0 การให้คะแนน)

18 รายวิชา

224 ผู้เรียน

เรียน

ระยะเวลาการลงทะเบียน: Lifetime