0(0)

รายวิชาการพัฒนาอาชีพให้มีความเข้มแข็ง (อช21003) ภาคเรียนที่ 2/2566 ระดับ ม.ต้น ครูกัลยา สุขเพียง

สารบัญรายวิชา

5 บทเรียน

บทที่ 1 เรื่องศักยภาพธุรกิจ?

เรื่องที่ 1 ความจำเป็นของการวิเคราะห์ศักยภาพธุรกิจ ศักยภาพของธุรกิจ หมายถึง ธุรกิจที่ทุกบุคคลที่มีความสามารถพัฒนาสินค้านั้น ๆ ให้อยู่ใน ตลาดได้อย่างมั่นคงความจำเป็นที่จะต้องวิเคราะห์ศักยภาพของธุรกิจ ทำให้สามารถขยายตลาดได้กว้างขวางกว่าเดิม ทำให้ลดความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจ มีแนวทางในการดำเนินงานอย่างรอบคอบ ปลอดภัยจากการขาดทุน เป็นการสื่อสารเกี่ยวกับทิศทางของธุรกิจให้แก่ผู้เกี่ยวข้องหรือองค์กรที่สนับสนุนเงินให้ ทราบ เพื่อให้เกิดความมั่นใจ ในการขยายธุรกิจมีความเป็นไปได้ องค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์กับความมั่นคงของอาชีพ จะต้องมีความตรงกันกับปัจจัย ที่ส่งผลต่อศักยภาพในอาชีพ หากมีองค์ประกอบที่ไม่ตรง จำเป็นที่จะต้องจัดการให้ตรงกันหรือสัมพันธ์ กันก็จะทำให้ศักยภาพของอาชีพสูงขึ้น ศักยภาพของอาชีพสามารถบอกเป็นตัวเลขและอธิบายสภาพที่ปรากฏไต้จะทำให้เรา มองเห็นข้อบกพร่องและสามารถแก้ไขข้อบกพร่องพัฒนาอาชีพสู่ความมั่นคงไต้ ความหมายของศักยภาพในอาชีพ ศักยภาพในอาชีพ หมายถึง ภาวะแฝงหรืออำนาจแฝงที่มีอยู่ในปัจจัยดำเนินการอาชีพ ได้แก่ ทุน บุคลากร วัสดุอุปกรณ์ และระบบการจัดการนำมาจัดการให้ตรงกับองค์ประกอบความมั่นคง ในอาชีพ จะสามารถทำให้อาชีพมั่นคงและปรากฏให้ประจักษ์ได้ แผนภูมิแสดงโครงสร้างศักยภาพการขยายอาชีพสู่ความมั่นคง มีรายละเอียด ดังนี้ ปัจจัยนำเข้าเพื่อการขยายอาชีพในแต่ละปัจจัย จะมีตัวแปรร่วม ดังนี้ 1.1 ทุน (1) เงินทุน (2) ที่ดิน/อาคารสถานที่ (3) ทุนทางปัญญา – การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า – องค์ความรูที่สร้างขึ้น – ภาพลักษณ์ของผลผลิตและสถานประกอบการที่จะสร้างความพอใจกับลูกค้า 1.2 บุคลากร (1) หุ้นส่วน (2) แรงงาน 1.3 วัสดุอุปกรณ์ (1) วัตถุดิบ (2) อุปกรณ์เครื่องมือ 1.4 การจัดการ (1) การจัดการการผลิต (2) การจัดการการตลาด การจัดองค์ประกอบพัฒนาอาชีพ มีปัจจัยและตัวแปร ตังนี้ 2.1 องค์ประกอบค้านการจัดการลดความเสี่ยงผลผลิต (1) ความหลากหลายทางชีวภาพ (2) การเพิ่มผลผลิต (3) การจัดการหมุนเวียนเปลี่ยนรูป (4) การจัดการรายได้ให้เวียนกลับมาสู่การขยายอาชีพ 2.2 ข้อตกลง/มาตรฐานพัฒนาอาชีพ (1) คุณภาพผลผลิต (2) การลดต้นทุน (3) การส่งมอบ (4) ความปลอดภัย ศักยภาพการขยายอาชีพ เป็นตัวเลขบ่งชี้ความตรงกันหรือความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยนำเข้า กับ การจัดองค์ประกอบพัฒนาอาชีพ ตังนี้ 3.1 ประสิทธิภาพรวมของการดำเนินการขยายอาชีพ ซึ่งเป็นตัวเลขผันแปร ระหว่าง 1 ถึง 1 โดยมีเกณฑ์การประเมินตังนี้ ต่ำกว่า 0.5 = การขยายอาชีพ มีศักยภาพต่ำกว่าต้องแก้ไข สูงกว่า 0.5 – 0.75 = การขยายอาชีพมีศักยภาพ สูงกว่า 0.75 = การขยายอาชีพมีศักยภาพสูง 3.2 ประสิทธิภาพแต่ละปัจจัย ต้องมีค่า 0.5 ขึ้นไปถึงจะยอมรับได้ แต่ถ้าหากต่ำกว่า ก็ควรดำเนินการแก้ไขพัฒนา x ดำเนินการวิเคราะห์เพื่อสรุปศักยภาพการขยายอาชีพด้วยการใช้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 – 5 คน ตรวจสอบพิจารณาความตรงกันระหว่างองค์ประกอบพัฒนาอาชีพในแต่ละข้อกับปัจจัยนำเข้า ขยายอาชีพ โดยมีเกณฑ์พิจารณาดังนี้ให้คะแนน 1 หมายถึง มีความตรงกัน สัมพันธ์กัน ให้คะแนน 0 หมายถึง เฉยๆไม่มีความเห็น ให้คะแนน-! หมายถึง ไม่ตรงกัน ดำเนินการประมวลผล เพื่อสรุปผลและอภิปรายผลศักยภาพการขยายอาชีพด้วยการ นำผลการวิเคราะห์ของทุกคนมาคิดหาค่าเฉลี่ย การระบุปัจจัยและองค์ประกอบที่มีและไม’มีศักยภาพได้ จากการนำผลการวิเคราะห์และ ประเมินศักยภาพในธุรกิจมาพิจารณาอภิปรายเหตุและผลที่นำไปสู่การพัฒนา ดังขั้นตอนต่อไปนี้ ตรวจสอบผลการวิเคราะห์องค์ประกอบที่มีคะแนนต่ำกว่าเกณฑ์ที่มีองค์ประกอบ อะไรบ้าง พิจารณาองค์ประกอบที่พบว่าต่ำกว่าเกณฑ์แล้วนำมาพิจารณาสภาพภายในว่า ความตรงกับกับปัจจัยนำเข้าขยายอาชีพมีสภาพเป็นอย่างไรแล้วคิดทบทวนหาเหตุ หาผล ว่ามาจากอะไร
บทที่ 1 เรื่องศักยภาพธุรกิจ
การมอบหมายงานแบบฝึกหัดบทที่ 1 (จำนวน 10 คะแนน)

บทที่ 2 การจัดทำแผนพัฒนาการตลาด?

การจัดการการตลาด 2.1 การกำหนดทิศทางการตลาด เป็นการศึกษาตลาดจากปัจจัยภายนอกและภายในทำให้ผู้ประกอบการวางแผนการตลาดได้อย่างมั่นใจและสามารถบอกรายละเอียดในการดำเนินงานได้อย่างชัดเจน การวิจัยการตลาดและข้อมูลการตลาด การวิจัยการตลาดหรือการศึกษาตลาดจะต้องพิจารณาถึงพฤติกรรมผู้บริโภค มีขั้นตอนในการวิจัย ดังนี้ การศึกษาโอกาสหรือการศึกษาตลาด ผู้ประกอบการจะต้องศึกษาใน 2 เรื่อง คือ 1.1 การศึกษาโอกาสทางการตลาด เป็นการศึกษาพฤติกรรม ผู้บริโภค 1.2 การศึกษาสถานการณ์ทางการตลาด เป็นการศึกษาสิ่งแวดล้อมภายในและภายนอก ของกิจการ ประกอบด้วย 1) การศึกษาจุดแข็ง เป็นการศึกษาถึงข้อดีหรือจุดแข็งของสินค้าหรือบริการ 2) การศึกษาจุดอ่อน เป็นการศึกษาข้อเสียหรือปัญหาที่เกิดจากองค์ประกอบทาง การตลาด 3) การศึกษาโอกาส เป็นการศึกษาข้อได้เปรียบหรือสิ่งที่เอื้ออำนวยให้แก่กิจการ 4) การศึกษาอุปสรรค เป็นการศึกษาปัญหา อุปสรรคที่จะเกิดขึ้น การกำหนดวัตถุประสงค์ทางการตลาด การเลือกตลาดเป้าหมาย การศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภค การศึกษาส่วนประสมทางการตลาด ได้แก่ 5.1 ด้านผลิตภัณฑ์ 5.2 ด้านการส่งเสริมการตลาด 5.3 ด้านแผนการจัดจำหน่าย 5.4 ด้านแผนราคา การวางแผนการตลาด ที่ดีมีประสิทธิภาพ จะสร้างความน่าเชื่อถือให้กับกิจการและผู้ที่จะร่วมลงทุน แผนการตลาดจะต้องกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย และสามารถอธิบายวิธีการที่จะดึงดูดและรักษาลูกค้าทั้งรายเก่าและรายใหม่ไว้ได้ การวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาด หมายถึง การกำหนดวัตถุประสงค์การเลือกตลาดเป้าหมาย การพัฒนากลยุทธ์เป็นการวางแผนระยะยาว ให้เกิดความอยู่รอด กำไร ความเจริญเติบโต และความมั่นคงตลอดไป กำหนดเป้าหมายทางการตลาด เมื่อทำการตลาดทุกครั้ง จำเป็นที่จะต้องกำหนดกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้การตลาดที่จะทำนั้นออกมาอย่างเป็นระบบระเบียบและประสบความสำเร็จมากขึ้น สิ่งที่จะต้องทำเมื่อเราต้องกำหนดเป้าหมายทางการตลาดนั่นก็คือ พิจารณาเกี่ยวกับปัจจัย 3 ประการ คือ ขนาดและการเติบโต ความน่าสนใจในส่วนของโครงสร้างตลาด และวัตถุประสงค์ทรัพยากรของกิจการ จากนั้นประเมินการตลาดต่างๆ แล้วจะทำการเลือกกลุ่มเป้าหมาย สำหรับตลาดกลุ่มเป้าหมายจะต้องมีลักษณะที่กลุ่มผู้ซื้อนั้นมีความต้องการหรือคุณสมบัติบางอย่างร่วมกัน และกลยุทธ์การตลาดประกอบด้วย 3 ทางเลือกต่อไปนี้ • กลยุทธ์ครอบคลุมตลาดด้วยการดำเนินการที่ไม่แตกต่าง (undifferentiated marketing) หรืออาจเรียกอีกชื่อหนึ่งได้ว่า กลยุทธ์ตลาดแบบรวม นั่นคือการนำเสนอการตลาดทั้งหมดด้วยผลิตภัณฑ์ชนิดเดียว โดยผู้ประกอบการจะต้องมองถึงความเหมือนที่ผู้บริโภคมีมากกว่ามองเห็นถึงความต่าง จากนั้นนำความต้องการและความคิดเห็นออกมาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อจัดจำหน่ายและทำการโฆษณาแบบรวม เป็นต้น • กลยุทธ์ครอบคลุมตลาดด้วยการดำเนินการที่แตกต่าง (differentiated marketing) ผู้ประกอบการต้องเลือกกลุ่มตลาดเฉพาะกลุ่มว่ามีความต้องการที่จะให้เป็นไปในรูปแบบใด แล้วแยกออกมาเพื่อนำเสนอ ให้เกิดความแตกต่างอย่างน่าสนใจ ตัวอย่างเช่น รองเท้า Nike ที่มีการนำเสนอว่า รองเท้าคู่ใดเหมาะกับกีฬาชนิดใดบ้าง วิ่ง ตีกอล์ฟ ปั่นจักรยาน เป็นต้น • กลยุทธ์ครอบคลุมตลาดด้วยการดำเนินการเฉพาะส่วน (concentrated marketing) ผู้ประกอบการที่จะทำการตลาดรูปแบบนี้มักจะใช้กับธุรกิจที่มีการใช้ทรัพยากรอย่างจำกัด เป็นมีตลาดเฉพาะกลุ่มเล็กๆ โดยจะอาศัยอยู่ในกลุ่มการตลาดใหญ่ และจะเป็นการแบ่งส่วนการตลาดเพียงแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น ะดับกลยุทธ์ทั้ง 3 ระดับ กลยุทธ์เป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญที่สุดในการทำธุรกิจเพื่อให้องค์กรสามารถขับเคลื่อนได้ตามเป้าหมายและกรอบเวลาที่กำหนดไว้ ซึ่งสามารถแบ่งออกมาได้เป็น 3 ระดับของการออกแบบกลยุทธ์ได้แก่ กลยุทธ์ระดับองค์กร (Corporate Strategy) กลยุทธ์ระดับธุรกิจ (Business Strategy) และกลยุทธ์ระดับปฏิบัติการ (Operational Strategy) โดยแต่ละระดับจะใช้สำหรับการวางแผนในแต่ละส่วน เพื่อให้ครอบคลุมกับการทำงานของทั้งองค์กร . ระดับที่ 1 กลยุทธ์ระดับองค์กร (Corporate Strategy) . คือการมองภาพรวมเพื่อกำหนดเป้าหมายหลักขององค์กรและทิศทางในการดำเนินงานให้บรรลุตามเป้าหมาย ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดวิสัยทัศน์ (Vision) และพันธกิจ (Mission) ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 รูปแบบด้วยกันได้แก่ • Growth Strategy – กลยุทธ์เพื่อเน้นการเติบโตด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น การขยายตลาด การร่วมพันธมิตร เป็นต้น • Stability Strategy – กลยุทธ์แบบคงตัวที่ไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลงหรือลงทุนอะไรเพิ่มเติม แต่พยายามรักษามาตรฐานผลการดำเนินงานให้คงที่ • Retrenchment Strategy – กลยุทธ์แบบหดตัว ซึ่งมักจะพบในกลุ่มบริษัทที่มีความต้องการที่ลดลง อาทิ กลุ่มธนาคารเมื่อมีการเข้ามาของ FinTech ทำให้สาขาส่วนใหญ่จำเป็นต้องปิดตัวลงและให้ความสำคัญกับการใช้เทคโนโลยีมากขึ้น . ระดับที่ 2 กลยุทธ์ระดับธุรกิจ (Business Strategy) . การสร้างจุดแข็งทางการแข่งขันในธุรกิจเพื่อที่จะให้องค์กรสามารถขับเคลื่อนได้ตามเป้าหมาย ไม่ว่าจะเป็นการตัดสินใจที่สำคัญเกี่ยวกับวิธีการเติบโต การสร้างธุรกิจหลักใหม่ การระบุเครื่องมือใหม่ของการทำงาน การจัดสรรทรัพยากรและการบรรลุประสิทธิภาพด้านต้นทุน ซึ่งจะพบบ่อยครั้งได้แก่ 5 กลยุทธ์ดังนี้ • Cost Leadership – กลยุทธ์สร้างราคาต้นทุนที่ต่ำกว่า เพื่อให้สามารถผลิตสินค้าได้ในราคาที่ถูกกว่าคู่แข่งในตลาด และก้าวเป็นผู้ที่สามารถกำหนดราคาสินค้าในตลาดได้ • Differentiation – กลยุทธ์การสร้างความแตกต่าง ด้วยการหา Positioning ใหม่ขององค์กรที่ยังไม่มีคู่แข่งอยู่หรือลงไปเล่นด้วยมากนัก เพื่อให้ดึงดูดความสนใจและเจ้าะกลุ่มลูกค้าใหม่ได้ • Customer Centric – กลยุทธ์การปรับตัวตามความต้องการของลูกค้าผ่านการเอาลูกค้าเป็นที่ตั้ง ไม่ว่าจะเป็นการคิดค้นผลิตภัณฑ์หรือออกแบบบริการให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้อยู่เสมอ • Niche Market – กลยุทธ์การเจาะตลาดเฉพาะกลุ่มด้วยการกำหนดกลุ่มลูกค้าที่มีความเฉพาะ ไม่จำเป็นต้องขายทุกคนบนโลก แต่เลือกเฉพาะกลุ่ม ซึ่งข้อดีคือจะทำให้องค์กรของเรามีเอกลักษณ์เฉพาะตัวได้อย่างชัดเจน และไม่จำเป็นต้องแข่งกับองค์กรอื่นมากนัก • Cost Focus – กลยุทธ์ที่เป็นการประยุกต์รวมกันของ Cost Leadership และ Niche market ที่เน้นขายให้กับกลุ่มที่เฉพาะเจาะจงกว่าในต้นทุนที่ต่ำ เช่น สายการบินราคาประหยักสำหรับนักศึกษา . ระดับที่ 3 กลยุทธ์ระดับปฏิบัติการ (Operational Strategy) . การพัฒนาการทำงานของภายในองค์กรเพื่อให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขันไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของความเร็ว ประสิทธิภาพและการบริหารต้นทุน รวมไปถึงการระบุและจัดลำดับความสำคัญของการริเริ่มการปรับปรุงการดำเนินงานให้เกิดความพร้อมขององค์กร ซึ่งกลยุทธ์ระดับนี้จะมีความแตกต่างกันออกไปในแต่ละหน้าที่ เช่น • Implementation (ฝ่ายปฏิบัติการ) – กลยุทธ์เพื่อการพัฒนาสายผ่านการผลิตให้ได้ผลผลิตที่รวดเร็วควบคู่ไปกับคุณภาพ และเตรียมพร้อมสำหรับการจัดลำดับความสำคัญ การพัฒนาความคิดริเริ่มการเปลี่ยนแปลง และการวางแผนพัฒนาการเปลี่ยนแปลง • Marketing (การตลาด) – กลยุทธ์เพื่อการวางแผน Brand positioning และ Brand identity เพื่อให้เป็น Top-of-mind ในตลาด รวมถึงการบริหารค่าใช้จ่ายให้คุ้มค่ากับการลงทุน (Return on Investment) • Financial (การเงิน) – กลยุทธ์เพื่อการบริหารจัดการกระแสเงินสดซึ่งเปรียบเสมือนกับเส้นเลือดของธุรกิจอย่างไรให้เพียงพอต่อค่าใช้จ่าย รวมไปถึงการมองหาโอกาสของแหล่งเงินทุน เพื่อให้องค์กรสามารถดำเนินงานได้อย่างราบรื่น . การสร้างกลยุทธ์ที่ดีในปี 2021 คือการช่วยให้องค์กรต่าง ๆ ขับเคลื่อนการเติบโตโดยการกำหนดทิศทางกลยุทธ์ที่ประสบความสำเร็จ และผสานความเชี่ยวชาญในท้องถิ่นเข้ากับเครื่องมือเทคโนโลยี พร้อมทั้งสร้างวัฒนธรรมที่มุ่งเน้นการปรับปรุงเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันอย่างยั่งยืน การวิเคราะห์กลยุทธ์เป็นการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมขององค์การ โดยทำการวิเคราะห์ปัจจัยของสภาพแวดล้อมภายนอก และปัจจัยของสภาพแวดล้อมภายในที่มีผลกระทบและอิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อการการบริหารขององค์การ แม้ว่าสภาพแวดล้อมรอบองค์การจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาตามพลวัตของสังคม แต่ผลการวิเคราะห์อาจช่วยให้พอต่อการกำหนดทิศทางการบริหารองค์การ ให้เกิดประสิทธิผลได้พอสมควร

บทที่ 3 การจัดทําแผนพัฒนาการผลิตหรือการบริการ?

การกําหนดทิศทาง เป้าหมาย กล ยุทธ์ทางการตลาดแล้ว ดังนั้นในหน่วยนี้จะเป็นการกําหนดคุณภาพผลผลิตหรือการบริการให้สอดคล้อง กับความต้องการของตลาดขึ้นอยู่กับเป้าหมาย คือ ลูกค้า เป็นกลุ่มใด วัยใด เพศใด อาชีพใด มีระดับ การศึกษาใด การกําหนดคุณภาพผลผลิต ความหมายของคุณภาพ ความหมายของคุณภาพ ถูกกําหนดขึ้นตามการใช้งานหรือตามความคาดหวังของผู้ กําหนด เช่น มีความเหมาะสมกับการใช้งาน มีความทนทาน ให้ผลตอบแทนสูงสุด บริการดีและ ประทับใจหรือเป็นไปตามมาตรฐานที่ตั้งใจไว้ แบ่งเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้ 1. คุณภาพตามหน้าที่ หมายถึง ประสิทธิภาพการทํางาน ความเหมาะสมในการใช้งาน ความทนทาน เช่น พัดลมเครื่องนี้มีมอเตอร์ที่สามารถใช้ได้อย่างต่อเนื่องถึง 24 ชั่วโมง 2. คุณภาพตามลักษณะภายนอก หมายถึง รูปร่างสวยงาม สีสันสดใส เรียบร้อย เหมาะ กับการใช้งาน โครงสร้างแข็งแรง ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่มักเน้นคุณภาพภายนอก โดยเน้นที่สีสันสดใส หรือรูปลักษณ์ให้โดดเด่นเพื่อดึงดูดความสนใจของผู้ซื้อ ในอดีตคุณภาพมักจะถูกกําหนดขึ้นจากความต้องการของผู้ผลิต แต่ปัจจุบันสภาพการ แข่งขันในตลาด มีมาก หากคุณภาพไม่ตรงกับความต้องการของผู้ซือ้ การผลิตสินค้าและบริการก็อาจจะ ต้องล้มเลิกกิจการไป ดังที่ได้เกิดขึ้นมาในปัจจุบัน สินค้าบางประเภทแข่งขันกันที่คุณภาพ บางประเภท แข่งขันกันที่ราคา แต่บางประเภทแขง่ขันกันที่ความแปลกใหม่ ดังน้ัน การผลิตหรือให้บริการใด ๆ จะต้องมี การศึกษาสภาพตลาดอย่างรอบคอบ เพื่อกําหนดคุณภาพ ขั้นตอนการกําหนดคุณภาพ การกําหนดคุณภาพมีความสําคัญอย่างยิ่ง เพราะการกําหนดคุณภาพไม่ได้กําหนดจาก บุคคลใด บุคคลหนึง่ หรือกลุ่มคน หรือสถาบันเท่านั้น แต่การกําหนดคุณภาพต้องคํานึงถึงคนหลายกลุ่มหลายสถาบัน การกําหนดคุณภาพสินค้าและบริการ มีขั้นตอนดําเนินการ 3 ขั้นตอน ไ้แก่ 1. การศึกษาความต้องการของผู้ใช้สินค้าและบริการอย่างกว้างขวางและครอบคลุมผู้ซื้อ หรือผู้ใช้บริการที่มีความหลากหลาย 2. การออกแบบผลิตภัณฑ์หรือพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับความต้องการทีศ่ึกษา มาอย่างจริงจัง 3. จัดระบบการผลิตและควบคุมระบบการผลิตให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ การกําหนดคุณภาพการบริการ การบริการ หมายถึง การให้ความช่วยเหลือ หรือการดําเนินการเพื่อประโยชน์ของผู้อื่น การบริการที่ดี ผู้รับบริการก็จะได้รับความประทับใจ และชื่นชมองค์กร ซึง่เป็นสิ่งดีสิง่หนึ่งอันเป็นผลดี กับองค์กรของเรา เบื้องหลังความสําเร็จเกือบทุกงาน มักพบว่างานบริการเป็นเครือ่งมือสนับสนุนงาน ด้านต่าง ๆ เช่น งานประชาสัมพันธ์ งานบริการวิชาการ เป็นต่น ดังนัน้ ถ้าบริการดี ผู้รับบริการเกิดความ ประทับใจ เกิดภาพลักษณ์ที่ดีต้อองค์กร (อาศยา โชติพานิช. ออนไลน์, 2533) คุณภาพของงานบริการ (Service Quality) ปัจจัยที่บ่งชี้คุณภาพของการบริการ ได้แก่ 1. สามารถจับต้องได้ โดยปกติบริการเป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้ ทําให้การรับรู้ในคุณภาพ ค้อนข้างไม่ชัดเจน ดังนั้นบริการที่ดีควรสร้างหลักฐานให้เห็นชัดเจนว่า บริการนั้นมีคุณภาพหลักฐานที่ จะสร้างนั้น ได้แก่ อาคาร อุปกรณ์ เครือ่งอํานวยความสะดวก และบุคลากร เช่น การจัดที่นั่งคอยการ บริการ การบริการอย่างดี 2. น่าเชื่อถือ ในที่นี้หมายถึง ความถูกต้องในการคิดค่าบริการ ร้านอาหารที่คิดราคาตรง กับจํานวนอาหารที่ลูกค้าสั่ง ลูกค่าย่อมให้ความเชื่อถือ และจะกลับไปรับประทานอาหารที่ร้านนั้นอีก ตรงกันข้ามกับร้านอาหารที่คิดเงินเกินกว่าความเป็นจริง ย่อมทําให้ลูกค้าหมดความเชื่อถือ และไม่ กลับไปใช้บริการที่ร้านอาหารนั้นอีก เป็นต้น 3. มีความรู้ ผู้ให้บริการที่มีคุณภาพต้องเป็นผู้มีความร้ในเรื่องนั้น เช่น ช่างซ่อมรองเท้า ต้องมีความรู้ในเรือ่งการซ่อมรองเท้า ท่าทางขณะซ่อมรองเท้า ต้องดูว่ามีความสามารถ มีความ กระฉับกระเฉง คล่องแคล้ว ซึ่งทําให้ผู้เอารองเท้าไปซ่อมเกิดความมั่นใจ เป็นต้น 4. มีความรับผิดชอบ ตัวอย่างเช่น อู่ซ่อมรถยนต่อสัญญากับลูกค้าว่า จะซ่อมรถยนต์ให้ เสร็จภายใน 3 วัน อู่แห่งนั้นจะต้องทําให้เสร็จภายในเวลา 3 วัน ช่างซ่อมทีวีที่ซ่อมผิด ทําให้ทีวีเสีย ต้อง รับผิดชอบให้อยู่ในสภาพที่ดี โดยไม่มีความผิดให้เจ้าของทีวี 5. มีจิตใจงาม ผู้ให้บริการทีม่ีคุณภาพต้องเป็นผู้มีจิตใจงาม จึงจะเป็นผู้กระตือรือร้นใน การให้บริการผู้อื่น เต็มใจช่วยเหลือโดยไม่รังเกียจ ทุน หมายถึง เงินลงทุนในการดําเนินงานธุรกิจ(ผลิตหรือบริการ) ทุนถือว่าเป็นปัจจัยสําคัญในการประกอบกิจการอาชีพให้ดําเนินงานไปอย่างมีประสิทธิภาพ และมีความเจริญเตบิโตอย่างต่อเนื่อง ต้นทุนการผลิต หมายถึง ทุน ในการดําเนินกิจการ แบ่งได้ 2 ประเภท คือ 1. ทนุคงที่ คือการที่ผู้ประกอบการจัดหาทุน เพื่อใช้ในการจัดหาสินทรัพย์ถาวร เช่น ดอกเบี้ยเงินกู้ ที่ดิน อาคาร เครื่องจักร เป็นต้น ทุนคงที่ สามารถแบ่งได้ 2 ลักษณะ คือ 1.1 ทุนคงที่ที่เป็นเงินสด เป็นจํานวนเงินที่ต้องจ่ายเป็นค่าดอกเบี้ยเงินกู้ เพื่อนํามาใช้ ในการดาํเนนิงานธรุกิจ 1.2 ทุนคงที่ที่ไม่เป็นเงินสด ได้แก่ พื้นที่ อาคารสถานที่ โรงเรือน รวมถึงค่าเสื่อม ของเครื่องจักร 2. ทุนหมุนเวียน คือ การที่ผู้ประกอบการจัดหาทุน เพื่อใช้ในการดําเนินการจัดหา สินทรัพย์หมุนเวียน เช่น วัตถุดิบในการผลิตผลผลิตหรือการบริการ วัสดุสิ้นเปลือง ค่าแรงงาน ค่าขนส่ง ค่า ไฟฟ้า ค่าโทรศพัท เป็นต้น ทนุหมนุเวยีนแบง่ออกเป็น 2 ลักษณะ คือ 2.1 ทนุหมนุเวียนทีเป็นเงินสด ได้แก่ 2.1.1 ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการประกอบอาชีพ ดังนี้ 1) วัสดุอุปกรณ์อาชีพในกลุ่มผลิตผลผลิต เช่น งานอาชีพเกษตรกรรม เช่น ค่า ปุ๋ย พันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ ค่าน้ํามัน เป็นต้น 2) วัสดุอุปกรณ์อาชีพในกลุ่มบริการ เช่น อาชีพรับจ้างซักรีดเสื้อผ้า เช่น ค่า ผงซักฟอก ค่าน้ํายาซักผ้า เป็นต้น 2.1.2 ค่าจ้างแรงงาน เป็นค่าจ้างแรงงานในการผลิตหรือบริการ เช่น ค่าแรงงานใน การไถดิน ค่าจ้างลูกจ้างในร้านอาหาร 2.1.3 ค่าเช้าที่ดิน/สถานที่ เป็นค่าเช่าที่ดิน/สถานที่ในการประกอบธุรกิจ 2.1.4 ค้าใช้จ่ายอื่นๆ เป็นค่าใช้จ่ายในกรณีอื่นที่นอกเหนือจากรายการต่าง ๆ 2.2 ทุนหมุนเวียนที่ไม่เป็นเงินสด ได้แก่ ค่าใช้จ่ายในครัวเรือน เป็นแรงงานในครัวเรือนส่วนใหญ่ ในการประกอบการ ธุรกิจจะไม่นํามาคิดเป็นต้นทุน จึงไม่ทราบข้อมูลการลงทุนที่ชัดเจน โดยการคิดค่าแรงในครัวเรือน กําหนดคิดในอัตราค่าแรงขั้นต่ําของท้องถิ่นนั้นๆ ค่าเสียโอกาสที่ดิน กรณีเจาของธุรกิจมีที่ดินเป็นของตนเอง การคิดต้นทุนให้คิด ตามอัตราค่าเช่าที่ดินในท้องถิ่นหรือบริเวณใกล้เคียงในการดําเนินกิจการงานอาชีพ การบริหารเงินทุนหรือด้านการเงินนั้น เป็นสิง่ที่ ผู้ประกอบการต้องให้ความสําคัญเป็นอย่างมาก เพราะมีผลต่อความมั่นคงของอาชีพว่าจะก้าวหน้าหรือ ล้มเหลวได้ ดังนัน้ การใช้ทุนแต่ละชนิดต้องผ่านการวิเคราะห์ว่า จะต้องใช้ชนิดใด คุณภาพอย่างไร ปริมาณเท่าไร จึงจะเหมาะสมกับอาชีพ

บทที่ 4 การพัฒนาธุรกิจเชิงรุก?

ความสำคัญและความต้องการของผู้บริโภค การวางแผนการขายสินค้าหรือบริการใดๆ ผู้บริหารจะต้องมีข้อมูลมาประกอบการตัดสินใจ ข้อมูลเกี่ยวกับผู้บริโภคจะถูกนำมาใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์และการวางแผนการตลาดและนักการ ตลาดจำเป็นต้องให้ความสนใจเกี่ยวกับผู้บริโภคและความต้องการของผู้บริโภคเพราะผู้ผลิตส่วนใหญ่จะผลิตสินค้าที่คล้ายคลึงกันและขายให้กับผู้บริโภคกลุ่มเดียวกันการกำหนดรูปแบผลิตภัณฑ์ตรายี่ห้อ โดยยึดถือความต้องการของผู้บริโภคจะเป็นเครื่องช่วยให้ผู้บริโภคตัดสินใจไต้ง่ายขึ้น นักการตลาด ทราบกันดีอยู่แล้วว่าผู้บริโภคทุกคนมีรสนิยมไม่เหมือนกันซึ่งมีความแตกต่างกันไปเห็นไต้ชัดเจนในเรื่องความต้องการของผู้บริโภคนักการตลาดต้องมีความเข้าใจถึงความต้องการของผู้บริโภคซึ่งต้องชี้ให้เห็น ว่าความต้องการเกิดขึ้นจากอะไร ความต้องการของผู้บริโภคแบ่งออกไต้ 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ 1. ความต้องการทางต้านร่างกาย คือความหิว การนอน การพักผ่อน การอบอุ่น 2. ความต้องการด้านอารมณ์หรือจิตวิทยา คือ ความปลอดภัย ความรัก การยอมรับ ความพอใจนักการตลาดจึงต้องเข้าใจลึกขึ้งถึงรายละเอียดของความต้องการทั้งสองประเภทเพื่อเอามาเป็นจุดขายสินค้าและเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ทางการตลาดด้านการโฆษณา โดยปกติสินค้าแต่ละชนิดจะมีเอกลักษณ์เฉพาะอยู่แล้ว เช่น ความนิยมของอาหารไทยใน ต่างประเทศ เป็นที่นิยมแบบดาวรุ่งทุ่งแรงมาดลอดระยะเวลานาน ไม่เพียงแต่ในสหรัฐอเมริกาเท่านั้นแต่รวมทั้งในยุโรป ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น ตะวันออกกลางและอินเดียอาจจะเป็นเพราะอาหารไทยมีเอกลักษณ์ที่ มีรสชาติถูกปากได้รับการยอมรับ ดังนี้ 1. เอกลักษณ์ต้านรสชาติ ที่มีความกลมกล่อมทั้ง 3 รส คือ เปรี้ยว หวาน เผ็ด ไต้อย่างลง ตัวพอดี โดยไม่เน้นหนักไปในรสใดรสหนึ่ง สร้างความประทับใจให้กับผู้บริโภค ทำให้รู้สึกอยาก กลับมาทานอีก อาหารบางชนิดมีเอกลักษณ์ของกลิ่นสมุนไพรที่เป็นพืชผักในเมืองไทย เครื่องเทศต่าง ๆที่ ใช้ปรุงอาหาร ถือว่าโดดเด่น ไม่ฉุนเกินไป แต่มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ของเครื่องเทศที่สอดแทรก บางครั้งมี การปรับรสชาติบ้าง เพื่อให้ตรงกับผู้บริโภค เช่น ไม่เผ็ดเกินไป เพราะต่างชาติจะไม่นิยมรับประทาน อาหารรสจัด 2. ความหลากหลายของอาหารไทย อาหารไทยนั้นนมีทั้งอาหารคาวหวาน สารพัดชนิดที่ สามารถเลือกมานำเสนอได้ไม่รู้จบ มีการแข่งขันกัน นอกจากจะรสชาติแล้วยังมีการนำวัสดุมาตัดแปลงให้เป็นประโยชน์ใช้แทนกันได้หรือการจัดตกแต่งอาหารก็เป็นที่ดึงดูดลูกค้าขึ้นอยู่กับการเข้าถึงรสนิยม ของผู้บริโภค 3. อาหารไทยไม่เลี่ยนและไม่อ้วน ทั้งนี้เพราะอาหารไทยมักมีผักปนอยู่เสมอ พร้อมกับ เครื่องเคียงต่าง ๆ จนเป็นที่เถืองลือว่า อาหารไทยเป็นอาหารสุขภาพ เช่น เมี่ยงคำ น้ำพริกกะปิ จึงเป็น อาหารที่เหมาะกับยุคนี้และแนวโน้มของการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ 4. การบริการที่ประทับใจ ซึ่งเป็นส่วนเสริมที่สำคัญมากของธุรกิจการเปิดร้านขายอาหาร ไทย จึงเป็นอีกมิติหนึ่งที่มีภาพลักษณ์ที่ดีให้คับอาหารไทยด้วยการบริการแบบมีมารยาทอันดีงามของคนไทย จึงเป็นการช่วยส่งเสริมให้อาหารไทยยังคงครองความนิยมต่อไป เรื่องนี้เป็นกรณีตัวอย่างในการแทรกความนิยมเข้าสู่ความต้องการของผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี โดยรู้ความต้องการของผู้บริโภค แล้วจึงมีการพยายามตัดแปลงสินค้าให้สอดคล้องคับความต้องการนั้น ๆ William H.Davidowกล่าวว่า “เครื่องมือที่เยี่ยมที่สุด ประดิษฐ์มาจากห้องปฏิบัติการ ผลิตภัณฑ์ ที่เยี่ยมที่สุดมาจากฝ่ายการตลาด” การทำธุรกิจทุกขนาดจะต้องทำการแบ่งส่วนตลาดเป้าหมายได้ เมื่อถึงเวลาที่จะพัฒนาและนำ ผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาด ฝ่ายการตลาดต้องแสดงบทบาทสำคัญในกระบวนการนี้ไม่ใช่ฝ่ายวิจัยและพัฒนา อย่างเดียวเป็นผู้รับผิดชอบการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ซึ่งฝ่ายการตลาดมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างมาก ทุก ขั้นตอนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ธุรกิจทุกธุรกิจมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์อยู่ตลอดเวลา การออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่แทนที่ผลิตภัณฑ์ เดิมจะทำเพื่อเพิ่มยอดขายในอนาคตและลูกค้าเองก็ต้องการผลิตภัณฑ์ใหม่ ซึ่งธุรกิจคู่แข่ง ก็ใช้ความ พยายามที่จะผลิตสินค้าที่ตรงคับความต้องการของลูกค้าออกจำหน่ายและจะออกผลิตภัณฑ์ใหม่ไต้จาก การเข้าครอบครองส่วนแบ่งตลาด จากการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ – การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ หมายถึง ผลิตภัณฑ์ใหม่ในสายผลิตภัณฑ์เดิมเป็นการนำผลิตภัณฑ์ ใหม่เข้ามาแทนผลิตภัณฑ์ในสายผลิตภัณฑ์เดิม เช่น เปลี่ยนขนาดบรรจุภัณฑ์เปลี่ยนรสชาติ – การปรับปรุงผลิตภัณฑ์เดิม คือ การปรับปรุงผลิตภัณฑ์เดิมให้เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ – การวางตำแหน่งสินค้าใหม่เป็นการนำผลิตภัณฑ์เดิมที่มีอยู่ออกขายให้ลูกค้าเป้าหมายกลุ่มใหม่ – การลดต้นทุน คือ การทำผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีคุณสมบัติเหมือนเดิมแต่ต้นทุนต่ำลง ขั้นตอนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ มี 8 ขั้นตอน 1. การสร้างความคิดใหม่ 2. การเลือกความคิด 3. การทดสอบความคิด 4. การวางกลยุทธ์ทางการตลาด 5. การวิเคราะห์ธุรกิจ 6. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ 7. การทดสอบตลาด 8. การนำผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาด ในช่วงการดำเนินแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 7-8 แม้จะปรากฏผลรูปธรรม ส่วนหนึ่งเป็นการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ที่ตรวจวัดด้วยอัตราเพิ่มของผลผลิตมวลรวมภายในประเทศ (จีดี พี) แต่ผลรูปธรรมอีกส่วนหนึ่งกลับเป็นความต่อเนื่องของสภาพปัญหาการกระจายรายได้ไม่เท่าเทียมกัน ระหว่างชนบทกับเมือง และระหว่างผู้ผลิตภาคเกษตรกรรม (ระดับครัวเรือนรายย่อย) กับ ภาคอุตสาหกรรมและการบริการ ผลรูปธรรมส่วนหลังข้างด้นปรากฏสะสมปัญหา จนกลายเป็นอุปสรรคสำคัญของการพัฒนา ประเทศชัดเจนมากขึ้นตามลำดับ จนถูกระบุเป็นข้อสังเกตเรื่อง “ความยากจน” ของประชากรส่วนใหญ่ ของประเทศที่มีสัดส่วนการถือครองทรัพย์สินรายได้ต่ำสุด เมื่อเปรียบเทียบกับสัดส่วนการถือครองของ ประชากรร่ำรวยจำนวนน้อยของประเทศ รายงานของคณะกรรมการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) ยอมรับผลสรุป ของการพัฒนาข้างต้น ไว้ในช่วงปลาย แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 ด้วยเช่นกัน ปัญหาความยากจน (รายได้ไม่เพียงพอต่อรายจ่าย) แพร่ระบาดจากชนบท ชุมชนเกษตรกร เข้าสู่สังคม เมืองมากขึ้น รวมทั้งแพร่ระบาดเข้าสู่แวดวงอาชีพอื่น ๆ นอกเหนือจากเกษตรกรรายย่อยมากขึ้น ตามลำดับในช่วงก่อนและหลังวิกฤติเศรษฐกิจ 2540 โดยสภาพัฒน์ได้พยายามปรับกลยุทธ์การพัฒนา เช่น การพัฒนาที่ถือ “มนุษย์” เป็นศูนย์กลางจนกระทั้งได้เริ่มปรับและกำลังจะปรับปรุงให้เกิดกลยุทธ์การ พัฒนาแบบเศรษฐกิจพอเพียงมากขึ้นตามลำดับ โดยถือตามหลักปรัชญา แนวทฤษฎี และโครงการ ต้นแบบตามแนวพระราชดำริที่ได้รับการยอมรับนับถือจากองค์การสหประชาชาติ ดังที่มีรายงานข่าว เผยแพร่ไปยังประชาคมโลกแล้ว เพราะเหตุที่ประชาชนจำนวนมากยังคงอยู่ในภาวะยากจนคือ รายได้ไม่พอเพียงต่อการใช้จ่าย เพื่อดำรงชีวิตครอบครัว ในขึ้นพื้นฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวชนบทที่ดำรงอาชีพเกษตรกร ดังนั้น การ แก้ไขปัญหาความยากจนด้วยการยกระดับรายได้ของประชากรกลุ่มนี้ให้สูงขึ้น สู่ภาวะพอเพียงจึงเป็น ส่วนสำคัญของยุทธศาสตร์การพัฒนา แบบเศรษฐกิจพอเพียงในขั้นด้นส่วนหนึ่ง โดยไม่ยุติกระบวนการ ทางเศรษฐกิจส่วนอื่นที่จำเป็น เช่น การแลกเปลี่ยนทางการค้าระหว่างประเทศ และการลงทุนที่อยู่ใน ขอบเขตเหมาะสมภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งจำแนกขั้นตอนดำเนินการพัฒนาไว้ต่อเนื่อง เป็น ลำดับชัดเจน โดยไม่ปิดกั้นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และไม่มุ่งหมายจะให้เกิดการหยุดชะงัก หรือ ถอยหลังเข้าคลองทางเศรษฐกิจ รวมทั้งมิได้มุ่งหมายให้ประเทศมีแต่การผลิตแบบเกษตรกรรมเพียงส่วน เดียว โครงการตามแนวพระราชดำริจำนวนมาก ที่สร้างความเตามทฤษฎีใหม่และปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียง เป็นโครงการที่มีลักษณะผูกพันกับวิถีชีวิตชุมชนของชาวชนบทในภาคเกษตรกรรม เนื่องจาก ตลอด 3-4 ทศวรรษที่ผ่านมา ชุมชนเกษตรกรรมโดยทั่วไปในประเทศเผชิญกับปัญหารายได้ไม่ เพียงพอต่อรายจ่ายอย่างกว้างขวางรุนแรง แต่โครงการที่มีลักษณะเป็นการพัฒนาผลผลิตทางการเกษตร จำนวนมากเหล่านั้น เช่น โครงการหลวงดอยอ่างขาง และโครงการหลวงดอยอินทนนท์ ฯลฯ มีความ ชัดเจนในแนวคิดเรื่องการผลิตที่มีคุณภาพเพียงพอ สำหรับการชายออกสู่ตลาดภายนอชุมชน เพื่อสร้าง รายได้ที่เพียงพอและยั่งยืนแทนการปลูกฝิ่นในอดีต แนวคิดที่ชัดเจนเกี่ยวกับการผลิตทางการเกษตรที่พอเพียง สำหรับการจัดจำหน่วยสู่ตลาด ภายนอกชุมชนดังกล่าว ทำให้เห็นว่าปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงส่งเสริมการแลกเปลี่ยนแบบเกื้อกูลกันทาง เศรษฐกิจ (ระหว่างเกษตรกร พ่อค้า และผู้บริโภค) ระหว่างประชาชนที่มีอาชีพต่าง ๆ กัน และไม่ใช่ แนวคิดที่ปิดนกั้นไว้เฉพาะชุมชนชนบท และแวดวงเกษตรกรตามลำพังตามที่คนในสังคมเมืองที่มิใช่ เกษตรกรจำนวนหนึ่งพากันวิตกกังวลว่า ตนเองจะไม่ได้รับประโยชน์จากการดำเนินชีวิตตามปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง นอกเหนือไปจากนั้น ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลักความคิดที่ส่งเสริม “พลวัต” มากกว่าแนะนำให้ประชากรทางเศรษฐกิจ ตั้งอยู่ในภาวะ “สถิต” หรือหยุดนึ่ง อยู่กับสภาพการณ์ทาง เศรษฐกิจในขณะหนึ่ง ๆ แต่การที่ประชาชนพึ่งตนเองได้จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนวิถีการดำรงชีวิตจาก แผนการกินดี อยู่ดี เป็นแผน อยู่พอดีกินพอดี ตามแนวพระราชดำริ “การปรับเปลี่ยนแผนการผลิต” จากการผลิตเพื่อการพาณิชย์มาเป็นการ “ผลิตเพื่อยังชีพ” เนื่องจากการผลิตเพื่อการพาณิชย์ทำให้ประชาชนต้องพึ่งระบบทุนนิยม ชะตาชีวิตของประชาชน ขึ้นอยู่ กับกลไก ของตลาดทำให้เกิดการเอารัดเอาเปรียบประชาชน “เพื่อลดผลกระทบ” ที่เกิดจากความผันผวน ของตลาดเป้าหมายการผลิตต้องปรับไปเป็นผลิตเพื่อกินเพื่อใช้ เมื่อมีส่วนเกินจึงจะนำออกขาย การผลิต เพื่อกินเพื่อใช้จำเป็นต้องกระจายการผลิตในครัวเรือน เพื่อลดความเสี่ยงและเพิ่มความมั่นคงในชีวิตอย่าง ยั่งยืน เส้นทางชีวิตของอาชีพ เราเริ่มต้นจากการเรียนรู้เข้าสู่อาชีพทำให้อาชีพขับเคลื่อนไปสู่การขยาย อาชีพ เราผ่านประสบการณ์ เรียนรู้แก้ปัญหาต่อสู้กับบการแข่งขันมากมาย จนถึงจุดจุดหนึ่งที่เราต้องการ มากกว่านั้น คือ ความมั่นคง เราจึงมีความจำเป็นที่จะต้องจัดระบบพัฒนาอาชีพเข้าสู่ความมั่นคง การพัฒนาอาชีพเข้าสู่ความมั่นคงของผู้ประสบความสำเร็จมีมากมาย จะมีลักษณะการกระทำที่ สอดคล้องกันเป็นส่วนใหญ่ว่า ความมั่นคงของอาชีพขึ้นอยู่กับองค์ประกอบอย่างน้อย 3 ประการ คือ (1) การลดความเสี่ยงในผลผลิต (2) ความมุ่งมั่นพัฒนาอาชีพ และ(3) การยึดหลักคุณธรรม

บทที่ 5 โครงการพัฒนาอาชีพให้มีความเข้มแข็ง?

การกำกับดูแลการขยายอาชีพเป็นกิจกรรมของผู้ประกอบการที่จะต้องมีระบบ สารสนเทศให้มองเห็นความก้าวหน้าความสำเร็จของงานในแต่ละภารกิจว่าไปถึงไหน ด้วยการทำ กิจกรรมลักษณะความสำเร็จในแผนกลยุทธ์มากำหนดระยะเวลาที่ต้องใช้จริง เขียนเป็นผังการไหลของ งานใช้เฝ้าระวังการดำเนินงาน การดำเนินการกำกับ ดูแลการขยายอาชีพ 1. การจัดทำผังการไหลของงานของแต่ละภารกิจ ด้วยการ 1.1 นำข้อความเป้าหมายกลยุทธ์ออกมาเป็นหัวเรื่องสำคัญ เหตุผลของการทำโครงการพัฒนาอาชีพสู่ความมั่นคง ในการเรียนรู้ที่ผ่านมาเป็นเรื่องของการทำแผนธุรกิจตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงทที่ให้ ความสำคัญกับการใช้เหตุผล การกำหนดทิศทางธุรกิจให้มีความพอดีและมีภูมิคุ้มคัน การกำหนด แผนปฏิบัติสร้างความรอบรู้และขับเคลื่อนแผนสู่ความสำเร็จอย่างมีคุณธรรม ซึ่งเป็นเรื่องภายในของ ผู้ประกอบการขยายอาชีพเท่านั้น แต่การทำธุรกิจที่จะต้องพัฒนาออกไปจำเป็นต้องใช้ทุนเพิ่มเติมหรือ ต้องได้รับความช่วยเหลือจากภาครัฐหรือเอกชน การให้ความช่วยเหลือดังกล่าวผู้ให้ต้องการทราบ รายละเอียดการดำเนินงานช่วยเหลือจากภาครัฐหรือเอกชน การให้ความช่วยเหลือดังกล่าวผู้ให้ต้องการ ทราบรายละเอียดการดำเนินงานมีผลลัพธ์เป็นอย่างไร มีผลที่เกิดอะไรบ้างและกระทบต่อสังคมชุมชน อย่างไร คุ้มค่าที่จะให้การสนับสนุนหรือไม่ หรือมีโอกาสที่จะสร้างกำไร นำรายได้มาคืนสถาบันทาง การเงินไต้หรือไม่ ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีความรู้ ความเข้าใจในการเขียนโครงการพัฒนาอาชีพ เพื่อ นำเสนอขอรับความช่วยเหลือหรือสร้างความเชื่อมั่นให้กับแหล่งทุน โครงการเป็นเอกสารภาพรวมของแผนธุรกิจ เพื่อใช้นำเสนอต่อสังคมในการเผยแพร่ความคิด หรือใช้นำเสนอเพื่อขอความช่วยเหลือ สนับสนุนเงินทุน ซึ่งประกอบด้วยสาระที่แสดงให้เห็นความสำคัญ และคุณค่าของการดำเนินงาน ซึ่งประกอบด้วย 1. ชื่อโครงการ 2. เหตุผล หลักการ 3. เป้าประสงค์ 4. วัตถุประสงค์ 5. ผลได้ของโครงการ 6. วิธีดำเนินงาน 7. งบประมาณดำเนินการ 8. ผลดำเนินโครงการ การเขียนโครงการ 1. การเขียนชื่อโครงการ โดยทั่วไป มี 2 องค์ประกอบ คือ (1) ข้อความบ่งบอกว่าทำอะไร (2) ข้อความว่าเป็นของ ใครและ(3) นำเสนอใคร “โครงสร้างขยายอาชีพเกษตรอินทรีย์ ชุมชนบ้านครองหาด นำเสนอขอการสนับสนุนจากทางอำเภอครองหาด” 2. การเขียน ความสำคัญและหลักการ เป็นสาระส่วนที่บอกความสำคัญของการจัดทำโครงการและหลักการดำเนินการ ซึ่งมี โครงสร้างการเขียน ดังนี้ 2.1 โครงสร้างการเขียนความสำคัญ การเขียนความสำคัญในการขยายอาชีพ ควรจะเป็น สาระสำคัญในธุรกิจ ซึ่งประกอบด้วย 2.1.1 เขียนบ่งบอกสภาวะแวดล้อมอาชีพ ได้แก่ (1) สภาพที่ดิน สิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมการดำเนินโครงการ (2) ผลิตผลอะไรที่เหมาะสมในการผลิต (3) ลักษณะคุณภาพผลผลิตที่ลูกค้าต้องการ (4) ลูกค้าเป็นใคร อย่างไร (5) ขายให้กับใคร ส่วนแบ่งทางการตลาดเป็นอย่างไร (6) จะสามารถเข้าไปยึดตลาดส่วนแบ่งตลาดได้ร้อยละเท่าไร 2.1.2 เขียนสรุปให้เห็นความสำคัญที่เกี่ยวข้องคับ (1) การสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับชุมชน (2) การมีส่วนร่วมสร้างความพอเพียงด้านต่าง ๆ ให้กับชุมชน 2.2 การเขียนหลักการ เป็นข้อความต่าง ๆ เพื่อบ่งบอกว่า โครงการจะทำอะไร ให้ใคร ทำแค่ไหน และทำอย่างไร ดังนี้ 2.2.1 จะทำอะไร ให้ใคร ดังตัวอย่าง (1) มุ่งเน้นผลิตผักผลไม้ระบบเกษตรอินทรีย์ขายให้กับกลุ่มผู้รักษาสุขภาพ 2.2.2 ทำอย่างไรดังตัวอย่าง (1) ให้ความสำคัญลับการประยุกต์ระบบนิเวศธรรมชาติเข้าสู่ระบบการเกษตร 2.2.3 ทำที่ไหน ดังตัวอย่าง (1) การดำเนินงาน จะเริ่มต้นที่แปลงเกษตรของผู้ทำแล้วส่งเสริมการเรียนเขยาย เครือข่ายการปลูกผักอินทรีย์ออกไป 3.การเขียนเป้าหมายโครงการ 3.2 การเขียนข้อความเป้าหมายโครงการ ควรพิจารณาสิ่งต่อไป (1) ข้อความบ่งชี้ว่าทำอะไร ต้องเป็นเรื่องสำคัญ เป็นหัวเรื่องหลักของโครงการ (2) ปริมาณงานที่ระบุต้องมีข้อความสามารถทำได้จริง (3) ระยะเวลาสำเร็จต้องเหมาะสมกับปริมาณงาน และมีความเป็นไปไต้จริงที่จะทำ สำเร็จ 4. การเขียนวัตถุประสงค์โครงการ เป็นข้อความที่ขยายภาพของเป้าหมายโครงการให้มองเห็นภาระงานที่จะต้องทำให้ สำเร็จ โดยมีรายละเอียดการคิด การเขียน ดังนี้ 5. การเขียนผลได้ของโครงการ การเขียนผลได้ของโครงการเป็นการเขียนสิ่งที่จะเกิดขึ้นอันเนื่องมาจากโครงการอย่างมี เหตุมีผล ด้วยการนำวัตถุประสงค์โครงการมาวิเคราะห์กำหนดผลได้ที่ควรจะเกิดตามตัวอย่าง วัตถุประสงค์ที่ 1 1. ฝึกอบรมเกษตร 2. มีผู้ผ่านการ’แกอบรม 60 คน 2. เข้าใจและเห็นความสำคัญของเกษตรอินทรีย์ 2.1 บอกวิธีการพัฒนาคุณภาพดินได้ 2.2 บอกวิธีการเพาะปลูกพืชในระบบ เกษตรอินทรีย์ได้ 2.3 บอกวิธีการอารักขาพืชในระบบ เกษตรอินทรีย์ได้ 2. การเขียนวิธีดำเนินงาน เป็นการเขียนเรียงลำดับในแต่ละจุดประสงค์ โดยมีขั้นตอนการเขียนดังนี้ 2.1 ยกข้อความ วัตถุประสงค์และผลได้โครงการมาเป็นตัวตั้ง 2.2 ดำเนินการวิเคราะห์ผลได้แต่ละตัวเพื่อกำหนด กิจกรรม ขั้นตอนวิธีการดำเนินงาน ได้เกิดผลได้ 2.3 ระบุเกณฑ์ชี้วัดความสำเร็จของงาน 2.4 กำหนดระยะเวลาดำเนินงานที่เป็นจริง ตัวอย่างการเขียนวิธีดำเนินงาน 6. การเขียนวิธีดำเนินงาน เป็นการเขียนเรียงลำดับในแต่ละจุดประสงค์ โดยมีขั้นตอนการเขียนดังนี้ 6.1 ยกข้อความ วัตถุประสงค์และผลได้โครงการมาเป็นตัวตั้ง 6.2 ดำเนินการวิเคราะห์ผลได้แต่ละตัวเพื่อกำหนด กิจกรรม ขั้นตอนวิธีการดำเนินงาน ได้เกิดผลได้ 6.3 ระบุเกณฑ์ชี้วัดความสำเร็จของงาน 6.4 กำหนดระยะเวลาดำเนินงานที่เป็นจริง ตัวอย่างการเขียนวิธีดำเนินงาน 7. การเขียนงบประมาณดำเนินการเป็นการนำกิจกรรมขั้นตอนดำเนินการมาวิเคราะห์รายละ เอียดของรายจ่ายแล้วจัดทำเอกสารบรรจุในโครงการ ดังตัวอย่าง 8. การเขียนผลดำเนินโครงการ เป็นการนำผลได้ว่า คิดวิเคราะห์ว่า ล้าการดำเนินงานเกิดผลได้ตามที่กำหนด จะมีผลที่ เกิดอะไรบ้าง และมีผลกระทบอย่างไรที่ทำให้มองเห็นคุณค่าของโครงการ ดังตัวอย่างนี้

เกี่ยวกับผู้สอน

นางสาวกัลยา สุขเพียง ชื่อเล่น ครูเปิ้ล ตำแหน่ง ครู กศน.ตำบลวังพิณพาทย์ สถานที่ทำงาน กศน.อำเภอสวรรคโลก 10/2 ถ.ประชาสงเคราะห์ ต.เมืองสวรรคโลก อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย 64110 ข้อมูลการติดต่อ เบอร์โทร 0924096916
0 (0 การให้คะแนน)

18 รายวิชา

224 ผู้เรียน

เรียน

ระยะเวลาการลงทะเบียน: Lifetime