0(0)

คณิตศาสตร์ รหัสวิชา พค31001 มัธยมศึกษาตอนปลาย ตำบลป่ากุมเกาะ ภาคเรียนที่ 1/2565

หลักสูตรรายวิชา

สาระสําคัญ

มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับจํานวนและตัวเลข เศษส่วน ทศนิยมและร้อยละ การวัด เรขาคณิต สถิติ และความน่าจะเป็นเบื้องต้น

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

1. ระบุหรือยกตัวอย่างเกี่ยวกับจํานวนและตัวเลข เศษส่วน ทศนิยมและร้อยละ การวัด เรขาคณิต สถิติ และความน่าจะเป็นเบื้องต้นได้

2. สามารถคิดคํานวณและแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับจํานวนนับเศษส่วน ทศนิยม ร้อยละ การวัด เรขาคณิตได้

สารบัญรายวิชา

22 บทเรียน

บทที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ?

สาระสำคัญ 1. โครงสร้างของจำนวนจริงประกอบไปด้วย จำนวน ตรรกยะ จำนวนอตรรกยะ และจำนวนเต็ม 2. สมบัติของจำนวนจริงที่เกี่ยวกับการบวกและคูณ ประกอบไปด้วยสมบัติปิด สมบัติการเปลี่ยนกลุ่ม สมบัติการสลับที่ การมีอินเวอร์ส การมีเอกลักษณ์และสมบัติ การแจกแจง 3. สมบัติการเท่ากันจะใช้เครื่องหมาย “=” แทนการมีค่าเท่ากัน 4. สมบัติการไม่เท่ากันจะใช้เครื่องหมาย “ ≠ , , ≤ , ≥” 5. ค่าสัมบูรณ์ใช้สัญลกัษณ์ “ | |” แทนค่าสัมบูรณ์ซึ่ง |x| = x ถ้า x>0 , 0 ถ้า x= 0 , -x ถ้า x< 0
เรื่องที่ 1 โครงสร้างของจำนวนจริง4:06
เรื่องที่ 2 สมบัติจำนวนจริง3:30
เรื่องที่ 3 สมบัติการไม่เท่ากัน13:31
เรื่องที่ 4 ค่าสัมบูรณ์5:56

บทที่ 2 เลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนตรรกยะ?

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง 1. อธิบายความหมายและบอกความแตกต่างของจํานวนตรรกยะและอตรรกยะได้ 2. อธิบายเกี่ยวกับจํานวนจริงที่อยูในรูปเลขยกกําลังที่มีเลขชี้กําลังเป็นจํานวนตรรกยะ และ จํานวนจริงในรูปกรณฑ์ได้ 3. อธิบายความหมายและหาผลลัพธที่เกิดจากการบวก การลบ การคูณ การหาร จํานวนจริงที่ อยู่ในรูปเลขยกกําลังที่มีเลขชี้กําลังเป็นจํานวนตรรกยะ และจํานวนจริงในรูปกรณฑ์ได้

บทที่ 3 เซต?

สาระสําคัญ 1. เซต โดยทั่วไปหมายถึง กลุ่ม คน สัตว์ สิ่งของ ที่รวมกันเป็นกลุ่ม โดยมีสมบัติบางอย่าง ร่วมกัน และบรรดาสิ่งทั้งหลายที่อยู่ในเซตเราเรียกว่า “ สมาชิก” ในการศึกษาเรื่องเซตจะ ประกอบไปด้วย เซต เอกภพสัมพัทธ์ สับเซตและเพาเวอร์เซต 2. การดําเนินการบนเซต คือ การนําเซตต่าง ๆ มากระทําร่วมกันเพื่อให้เกิดเป็นเซตใหม่ ซึ่ง ทําได้ 4 วิธีคือ การยูเนี่ยน การอินเตอร์เซคชั่น ผลต่างระหว่างเซต และการคอมพลีเมนต์ 3. แผนภาพเวนน์ – ออยเลอร์ จะช่วยให้การพิจารณาเกี่ยวกับเซตได้ง่ายขึ้นโดยใช้หลักการคือ 3.1 ใช้รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแทนเอกภพสัมพัทธ์ “U” 3.2 ใช้วงกลมหรือวงรีแทนเซตต่าง ๆ ที่เป็นสมาชิกของ “U” และเขียนภายในสี่เหลี่ยมผืนผ้า

บทที่ 4 การให้เหตุผล?

สาระสําคัญ 1. การให้เหตุผลแบบอุปนัยเป็นการสรุปผลภายหลังจากค้นพบความจริงที่ได้จากการสังเกต หรือการทดลองหลาย ๆ ครั้งจากทุกๆ กรณีย่อยแล้วนําบทสรุปมาเป็นความรู้แบบทั่วไปเรา เรียกข้อสรุปแบบนี้ว่า “ ข้อความคาดการณ์” 2. การให้เหตุผลแบบนิรนัยไม่ได้คำนึงถึงความจริงหรือความเท็จแต่จะคํานึงเฉพาะข้อสรุปที่ ต้องสรุปออกมาได้เท่านั้น ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง 1. อธิบายและใช้การให้เหตุผลแบบอุปนัยและนิรนัยได้ 2. บอกได้ว่าการอ้างเหตุผลสมเหตุสมผลหรือไม่ โดยใช้แผนภาพเวนน์ –ออยเลอร์ได้

บทที่ 5 อัตราส่วนตรีโกณมิติและการนําไปใช้?

สาระสําคัญ 1. ถ้ารูปสามเหลี่ยมคู่ใดคล้ายกัน อัตราส่วนของด้านที่อยู่ตรงข้ามมุมที่เท่ากันจะเท่ากัน 2. ในรูปสามเหลี่ยมมุมฉากทุกรูป อัตราส่วนความยาวด้าน 2 ด้าน จะถูกกําหนดค่าต่างๆไว้ดังนี้ 2.1 ค่าไซน์ของมุมใด (sine) จะเท่ากับอัตราส่วนระหว่างความยาวของด้านตรงข้ามมุม นั้น กับความยาวของด้านตรงข้ามมุมฉาก 2.2 ค่าโคไซนของมุมใด (cosine) จะเท่ากับอัตราส่วนระหว่างความยาวด้านประชิตมุม กับความยาวด้านตรงข้ามมุมฉาก 2.3 ค่าแทนเจนต์ของมุมใด (tangent) จะเท่ากับ อัตราส่วนระหว่างความยาวของด้านตรง ข้ามมุมกับความยาวของด้านประชิต มุมนั้นๆ 3. นอกจากอัตราส่วนตรีโกณมิติหลัก 3 ค่านี้แล้ว ส่วนกลับของ sine , cosine และ tangent เรียกว่า cosecant , secant และ cotangent ตามลําดับ 4. อัตราส่วนตรีโกณมิติของมุม 30,45 และ 60 องศา มีค่าเฉพาะของแต่ละอัตราส่วน สามารถ พิสูจน์ได้ 5. การแก้ปัญหาโจทย์ที่เกี่ยวข้อง จะทําโดยการเปลี่ยนปัญหาโจทย์ให้เป็นประโยคสัญลักษณ์ และ ใช้อัตราส่วนตรีโกณมิติในการช่วยหาคําตอบโดยเฉพาะการนําไปใช้แก้ปัญหาเกี่ยวกับการวัดระยะทาง และความสูง

บทที่ 6 การใช้เครื่องมือและการออกแบบผลิตภัณฑ์?

สาระสําคัญ 1. การเลือกใช้เครื่องมือต่าง ๆ ในการสร้างรูปเรขาคณิต 2. ในชีวติประจําวัน การออกแบบวัสดุหรือครุภัณฑ์ อาคารที่พักอาศัย หรืออาคารสํานักงานต่าง ๆ จะเกี่ยวข้องกับรูปแบบ การเลื่อนขนาน การหมุน และการสะท้อน 3. การมีบรรจุภัณฑ์ของสินค้าที่ดี สวยงาม น่าสนใจ จะมีส่วนช่วยในการการเพิ่มมูลค่าของสินค้านั้น ๆ ได้

บทที่ 7 สถิติเบื้องต้น?

สาระสําคัญ 1. ข้อมูลสถิติ หมายถึง ตัวเลขหรือข้อความที่แทนข้อเท็จจริงของลักษณะที่เราสนใจ 2. ระเบียบวิธีการทางสถิติ จะประกอบไปด้วย การเก็บรวบรวมข้อมูล การนําเสนอข้อมูล การ วิเคราะห์และการตีความของข้อมูล 3. การเก็บรวบรวมข้อมูล หมายถึง กระบวนการกระทําเพื่อจะให้ได้ข้อมูลที่ต้องการศึกษาภายใต้ขอบเขตที่กําหนด 4. การนําเสนอข้อมูลที่เก็บรวบรวมมา จะมี 2 แบบ คือ การนําเสนออย่างเป็นแบบแผนและการนําเสนออย่างไม่เป็นแบบแผน 5. การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง เป็นการหาค่ากลางด้วยวิธีต่าง ๆ กัน เพื่อใช้เป็นตัวแทนของข้อมูลทั้งชุด ค่ากลางที่นิยมใช้มี 3 วิธี ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่ามัธยฐานและค่าฐานนิยม

บทที่ 8 ความน่าจะเป็น?

สาระสําคัญ 1. การนับจํานวนผลลัพธ์ทั้งหมดที่เกิดจากการกระทํา หรือการทดลองใดๆ ต้องอาศัยกฎเกณฑ์การนับจึงจะทําให้ง่ายและสะดวก รวดเร็ว 2. ความน่าจะเป็น คือ จํานวนที่แสดงให้ทราบว่าเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง มีโอกาสเกิดขึ้นมาก หรือน้อยเพียงใด สิ่งที่จําเป็นต้องทราบทําความเข้้าใจ คือ - การทดลองสุ่ม (Random Experiment) - แซมเปิ้ลสเปซ (Sample Space) - เหตุการณ์ (Event) 3. ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ใดๆ เป็นการเปรียบเทียบจํานวนสมาชิกของเหตุการณ์นั้นๆ กับ จํานวนสมาชิกของแซมเปิ้ลสเปซ ซึ่งเป็นค่าที่จะช่วยในการพยากรณ์หรือการตัดสินใจได์

บทที่ 9 การใช้ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ในงานอาชีพ?

สาระสําคัญ การประกอบอาชีพในสังคมและในกลุ่มประชาคมอาเซียนนั้น มีหลากหลายสาขาอาชีพทั้งในด้าน อุตสาหกรรม เกษตรกรรม พณิชยกรรม ความคิดสร้างสรรค์ และการบริหารจัดการ อาชีพในวงการ ดังกล่าวล้วนมีการใช้ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์เข้าไปเกี่ยวข้องเกือบทุกกลุ่มอาชีพ ซึ่งผู้เรียน สามารถนําความรู้และทักษะที่ได้เรียนคณิตศาสตร์ในระดบัมัธยมศึกษาตอนปลายมาประยุกต์ใช้

เกี่ยวกับผู้สอน

คุณครู จุฑามาศ ล้วนงาม เกิด 26 มีนาคม 2519 สถานที่อยู่ปัจจุบัน 43 หมู่ 5 ตำบลศรีสัชนาลัย อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย 64190 ตำแหน่ง ครู กศน.ตำบลป่ากุมเกาะ สถานที่ทำงาน กศน.อำเภอสวรรคโลก 10/2 ถนนประชาสงเคราะห์ ตำบลเมืองสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย 64110  
5.00 (5 การให้คะแนน)

83 รายวิชา

1650 ผู้เรียน

เรียน

ระยะเวลาการลงทะเบียน: Lifetime