0(0)

การเงินเพื่อชีวิต 3 รหัสวิชา สค32029 ระดับ ม.ปลาย กศน.ตำบลหนองกลับ

หลักสูตรรายวิชา

เงินเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของประชาชนทุกคน เนื่องจากเป็นสื่อ ที่ใช้สำหรับแลกเปลี่ยนกับสินค้าและบริการต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในชีวิตประจำวัน นอกจากนั้น“เงิน” ยังเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการลงทุนเพื่อเพิ่มพูนรายได้ อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันนี้สภาพสังคม เศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว มีวิธีทางการเงินใหม่ ๆ พัฒนาขึ้นอย่างหลากหลาย เช่น บัตรเครดิต บัตรเครดิต บัตรเอทีเอ็ม การทำธุรกรรมทาง โทรศัพท์ ทางอินเทอร์เน็ต การลงทุนการเงินประเภทต่าง ๆ เป็นต้น และเมื่อมีการพัฒนา ทางการเงินเพิ่มขึ้น ภัยทางการเงินก็เพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว เช่น เงินนอกระบบ แชร์ลูกโซ่การเงินออนไลน์ เป็นต้น จึงต้องพัฒนาทักษะความสามารถด้านการเงินให้มีความรู้ ความเข้าใจ

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

1.อธิบายข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องการเงินได้อย่างถูกต้อง

2.วิเคราะห์ เปรียบเทียบ การชำระเงินผ่านช่องทางต่างๆตลอดจนบัญชีเงินฝากประเภทต่าง ๆ และเลือกใช้ได้อย่างเหมาะสม

3.คำนวณอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ และดอกเบี้ยบัญชีเงินฝากได้

4. ประยุกต์ใช้และเลือกใช้ความรู้ทางการเงินมากำหนดเป้าหมายมาออกแบบ วางแผนการเงินของตนเองได้อย่างเหมาะสม

5.มีความรับผิดชอบต่อการใช้จ่าย จัดการการเงินได้อย่างเหมาะสมจั คุ้มค่า ตระหนักถึงสิทธิและหน้าที่ทางการเงิน

สารบัญรายวิชา

31 บทเรียน

ว่าด้วยเรื่องของเงิน

ความหมายและประโยชน์”เงิน”
ประเภทของเงิน
การฝากเงิน ประกันภัย การลงทุน
การชำระเงินทางอิเลคทรอนิกส์
ผู้ให้บริการทางการเงิน
ผู้ให้บริการทางการเงิน
การมอบหมายงาน – บทที่ 1 (10 คะแนน)

การวางแผนการเงิน?

วิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้คนเราต้องใช้เงินในการดำรงชีพมากขึ้น จนทำให้ หลายครอบครัวเกิดปัญหาเงินไม่พอใช้ เราจึงจำเป็นต้องวางแผนการเงินเพื่อแก้ไขปัญหา ซึ่งในที่สุดแล้วอาจช่วยสร้างความมั่นคงและมั่งคั่งให้เราได้ด้วย โดยเริ่มจากการประเมินตนเอง เพื่อให้ทราบฐานะการเงินและรู้จักการใช้จ่ายของตนเองผ่านการจดบันทึกรายรับ-รายจ่าย แล้วตั้งเป้าหมายการเงินให้สอดคล้องกับฐานะทางการเงินและความสามารถของตนเอง รวมไปถึง รู้จักการออมเงินและระบบการออมเงินต่าง ๆ การวางแผนการเงินเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้ราสามารถจัดการชีวิตอย่างเป็น ระบบ ให้มีรายได้เพียงพอกับรายจ่าย มีเงินใช้เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน มีเงินออมไว้ซื้อสิ่งต่าง ๆ หรือ ลงทุน รวมไปถึงมีเงินไว้ใช้จ่ายยามแก่ชรา การวางแผนการเงินในแต่ละวัย ไม่ว่าจะอยู่ในช่วงวัยไหน อายุเท่าไหร่ ก็ต้องเกี่ยวข้องกับเงิน ดังนั้น ทุกคน จึงควรวางแผนการเงิน แต่อายุที่แตกต่างทำให้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตแตกต่างกันไป คนใน แต่ละวัยจึงอาจมีการวางแผนการเงินที่ไม่เหมือนกัน ขั้นตอนการวาง แผนการเงิน การวางแผนการเงินสามารถทำได้จาก 5 ขั้นตอน ดังนี้ 1. ประเมินฐานะการเงินของตนเอง เพื่อให้ทราบฐานะทางการเงินในปัจจุบัน แล้วใช้ข้อมูลดังกล่าวเพื่อกำหนดเป้าหมายการเงินในขั้นตอนต่อไป 2. ตั้งเป้าหมายการเงิน เพื่อกำหนดแผนปฏิบัติ โดยเป้าหมายที่ดีจะต้องชัดเจน และสอดคล้องกับความสามารถทางการเงิน 3. จัดทำแผนการเงิน เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมายการเงิน ที่ตั้งไว้ 4. ปฏิบัติตามแผนอย่างเคร่งครัด เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ ซึ่งเป็นช่วงที่ ต้องมีวินัยเป็นอย่างมาก เพราะถึงแม้จะตั้งเป้าหมายไว้ดีอย่างไร แต่หากขาดการปฏิบัติจริงจัง และต่อเนื่อง ก็อาจเผลอใจไปกับสิ่งที่อยู่นอกแผนได้ 5. ตรวจสอบและปรับแผนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ บางครั้งสถานการณ์ การเงินของเราอาจแย่ลง ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติตามแผนได้ ก็ควรทบทวนแล้วปรับแผนเพื่อให้ สามารถปฏิบัติตามแผนและบรรลุเป้าหมายโดยไม่รู้สึกกดดันจนเกินไปได้ แต่ขณะเดียวกัน หาก สถานการณ์เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น เช่น สามารถออมเงินได้มากขึ้น ก็ควรปรับแผน ให้ออมมากขึ้น

สินเชื่อ?

ในยุคปัจจุบันผลิตภัณฑ์สินเชื่อมีความหลากหลายและประชาชนสามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้น จึง ทำให้การเป็นหนี้เป็นเรื่องที่พบเห็นได้โดยทั่วไป แม้การก่อหนี้จะมีประโยชน์ เพราะเป็นตัวช่วย ของหลาย ๆ คนในยามฉุกเฉิน หรือท าให้ได้สิ่งที่ต้องการง่ายขึ้น แต่หากเป็นหนี้โดยขาดความ ระมัดระวังและการไตร่ตรองที่ดี ก็อาจสร้างปัญหาขึ้นได้ ดังนั้น เมื่อเจอสถานการณ์ที่คิดว่าการ ก่อหนี้น่าจะเป็นทางออก ก็ควรคิดให้รอบคอบถึงความจ าเป็นและความสามารถในการช าระหนี้ นอกจากนี้ หนี้ที่จะเกิดขึ้นนั้นควรเป็นหนี้ที่ดี คือเป็นหนี้ที่ช่วยสร้างรายได้ สร้างอนาคต เมื่อพร้อมที่จะก่อหนี้แล้ว ก็ควรมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องสินเชื่อเพื่อให้สามารถเลือกสินเชื่อได้ ตรงตามความต้องการ และมีวินัยทางการเงินเมื่อได้รับสินเชื่อ เพื่อให้จ่ายคืนได้ตรงเวลา เต็มจำนวน และมีประวัติเครดิตดี แต่หากลูกหนี้เกิดปัญหาไม่สามารถชำระหนี้ได้เพราะภาระหนี้ ที่มากเกินกว่าจะจ่ายได้ หรือเกิดเหตุสุดวิสัย ก็ควรรีบหาทางแก้ไขซึ่งมีหลายวิธี เช่น แก้ไขด้วย ตนเอง เจรจากับเจ้าหนี้ หรือขอค าปรึกษาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

สิทธิและหน้าที่ของผู้ใช้บริการทางการเงิน?

ผู้ใช้บริการทางการเงินมีสิทธิที่พึงตระหนัก 4 ประการเพื่อให้สามารถเลือกใช้บริการทางการเงินได้อย่างเหมาะสมและตรงกับความต้องการของตนเอง และยังมีหน้าที่ที่ควรปฏิบัติด้วยความรับผิดชอบอีก 5 ประการเพื่อลดความเสี่ยงและความเสียหายที่อาจเกิดจากการใช้บริการทางการเงิน รวมถึงรู้จักบทบาทหน้าที่ของศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ( ศคง.) และหน่วยงานที่รับเรื่องร้องเรียนอื่น ๆ

ภัยทางการเงิน?

รูปแบบการดำารงชีวิตและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้มิจฉาชีพพัฒนาสารพัดกลโกงเพื่อหลอกขโมยเงินจากเหยื่อ โดยมักจับจุดอ่อนของเหยื่อ คือ ความกลัว ความโลภ และความไม่รู้มาเป็นตัวช่วย ผู้ใช้บริการทางการเงินจึงจำเป็นต้องรู้เท่าตามทันกลโกงของมิจฉาชีพ ไม่ว่าจะเป็นกลโกงที่มา ใ น รู ป แ บ บ ข อ ง ก า ร เ งิ น น อ ก ร ะ บ บ ที่ มี ทั้ ง ห นี้ น อ ก ร ะ บ บ แ ล ะ แ ช ร์ ลู ก โ ซ่ ภั ย ใกล้ตัวภัยออนไลน์ และภัยที่แฝงมากับบัตรอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ เพื่อให้สามรถป้องกันตนเองจากภัยเหล่านี้ได้ รวมไปถึงรู้จักหน่วยงานหรือองค์กรที่ให้ค าปรึกษาหากตกเป็นเหยื่อภัยทางการเงิน

ติวออนไลน์

เกี่ยวกับผู้สอน

5.00 (7 การให้คะแนน)

57 รายวิชา

1197 ผู้เรียน

เรียน

ระยะเวลาการลงทะเบียน: Lifetime