5.00(1)

วิชา การพัฒนาความเป็นผู้นำ รหัสวิชา สค33032 ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ภาคเรียนที่ 2/2566 ศกร.ตำบลย่านยาว

สารบัญรายวิชา

4 บทเรียน

บทที่ 1 แนวคิดพื้นฐานด้านการพัฒนาความเป็นผู้นำ

เนื้อหาบทที่ 1 แนวคิดพื้นฐานด้านการพัฒนาความเป็นผู้นำ
แบบฝึกหัดบทที่ 1 แนวคิดพื้นฐานด้านการพัฒนาความเป็นผู้นำ (10 คะแนน)

บทที่ 2 ความหมายและความสำคัญของความเป็นผู้นำ

บทที่ 3 การบริหารจัดการสู่ความเป็นผู้นำ

บทที่ 4 คุณลักษณะ ทักษะและพฤติกรรมของผู้นำที่มีประสิทธิผล?

คุณลักษณะ ทักษะและพฤติกรรมของผู้นำที่มีประสิทธิผล คุณลักษณะและทักษะ  ที่เหมาะสมที่จะสามารถขึ้นสู่ตำแหน่งผู้นำ  และสามารถปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งผู้นำได้อย่างมีประสิทธิผล   คุณลักษณะที่มีความสอดคล้องกับผู้นำ  กล่าวคือ  การมีคุณลักษณะที่เหมาะสมและสอดคล้องจะช่วยให้ผู้นำมีแนวโน้มที่จะเกิดประสิทธิผลมากขึ้น  แต่ก็ไม่อาจจะรับประกันได้แน่นอนว่าจะต้องมีประสิทธิผลเสมอไป  เพราะผู้นำที่มีคุณลักษณะเฉพาะตัวแบบหนึ่งก็อาจจะมีประสิทธิผลได้ในสถานการณ์หนึ่ง  แต่ในอีกสถานการณ์หนึ่งอาจจะไร้ประสิทธิผลก็ได้  และยิ่งไปกว่านั้นผู้นำสองคนที่มีแบบแผนของคุณลักษณะเฉพาะตัวที่แตกต่างกันก็สามารถที่จะมีประสิทธิผลในสถานการณ์เดียวกันก็ได้ พฤติกรรมของผู้นำที่มีประสิทธิผล ความมีประสิทธิผลทางการบริหาร  ประกอบด้วยคุณลักษณะ  แรงขับ  ทักษะ  ความรู้  ภาพลักษณ์ตนเอง  และพฤติกรรมเฉพาะด้านบางประการ  มีลักษณะทางบุคลิกภาพหลายประการที่สามารถแยกผู้บริหารที่มีประสิทธิผลออกจากผู้บริหารที่ไม่มีประสิทธิผลได้  กล่าวคือ  ผู้บริหารที่มีประสิทธิผลจะมุ่งความมีประสิทธิภาพสูง ซึ่งประกอบด้วย การมีแรงจูงใจด้านความสำเร็จสูง  การมีมาตรฐานการทำงานของตนเองสูง  รวมทั้งมีความยึดมั่นต่อวัตถุประสงค์ของงาน  ผู้บริหารที่มีประสิทธิผลยังมีความต้องการอำนาจทางสังคมสูง อีกด้วย  โดยจะสังเกตเห็นได้จากความปรารถนาด้านอำนาจสูง  ให้ความใส่ใจต่อสัญลักษณ์ของอำนาจ  มีพฤติกรรมแสดงออกแบบเปิดเผยตรงไปตรงมา  พยายามมีอิทธิพลต่อผู้อื่น  ให้ความใส่ใจต่อชื่อเสียงของผลผลิตและบริการขององค์การ  ผู้บริหารที่มีประสิทธิผลจะมีความมั่นใจในตนเองสูง  ซึ่งสามารถสังเกตเห็นได้จากการเชื่อมั่นในความคิดและความสามารถของตนเอง  หรือจากพฤติกรรมการตัดสินใจอย่างเด็ดเดี่ยวมากกว่าที่จะลังเลหรือขาดความเด็ดขาด  มักจะยืนยันอย่างหนักแน่นต่อข้อเสนอของตน  มีอากัปกิริยาที่ไม่โลเล  มีท่วงทีที่เหมาะสมสง่างามน่าเลื่อมใสศรัทธา และประการสุดท้ายที่สำคัญก็คือ  ผู้บริหารที่มีประสิทธิผลจะแสดงออกในความเชื่อว่าตนเองเป็นผู้มีประสิทธิภาพสูง และมีความเชื่อในอำนาจและความสามารถภายในตนสูง ซึ่งจะสังเกตเห็นได้จากการเป็นฝ่ายริเริ่มกระทำก่อนหรือแสดงพฤติกรรมเชิงรุก มากกว่ารอให้เหตุการณ์มาถึง  หรือเป็นฝ่ายถูกกระทำหรือมีพฤติกรรมเชิงรับ ชอบริเริ่มขั้นตอนและวิธีการเอาชนะอุปสรรค  โดยใช้วิธีการหาข้อมูลจากแหล่งต่างๆ  และพร้อมที่จะแสดงความรับผิดชอบไม่ว่าผลออกมาจะสำเร็จหรือล้มเหลวก็ตาม           ในด้านสมรรถนะที่เกี่ยวกับทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ที่ทำให้ผู้บริหารที่มีประสิทธิผลต่างไปจากผู้บริหารที่ไม่มีประสิทธิผลนั้นพบว่า  ผู้บริหารที่มีประสิทธิผลมักมีทักษะการนำเสนอด้วยวาจาสูง  โดยสามารถใช้สัญลักษณ์การใช้คำพูดเปรียบเทียบเพื่อจูงใจตลอดจนการใช้กิริยาท่าทางได้อย่างเหมาะสมในการสื่อสารได้ผลดี  ผู้บริหารที่มีทักษะด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลสูง  จะสามารถใช้อำนาจทางสังคมได้อย่างมีประสิทธิผล  รวมทั้งความสามารถในการสร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกับผู้อื่น  สามารถทำให้ได้รับความร่วมมือช่วยเหลือจากผู้อื่นสามารถในการแก้ปัญหาได้ด้วยวิธีการสังสรรค์  และสามารถใช้แบบตัวอย่างบทบาทของตนให้มีอิทธิพลต่อผู้อื่น  ทักษะด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลสำคัญอีกประการหนึ่งที่พบในผู้บริหารที่มีประสิทธิผล  ได้แก่   ความสามารถในการบริหารด้วยกระบวนการกลุ่ม  การสร้างเอกลักษณ์และพัฒนาให้เกิดน้ำใจ การทำงานแบบทีมงานโดยแสดงออกด้วยพฤติกรรม   เช่น  สร้างเอกลักษณ์ประจำกลุ่มขึ้น  ยึดแนวทางที่เป็นผลประโยชน์ร่วมกันและการแสวงหาวิธีการทำงานร่วมกัน  ให้ความสนับสนุนเพื่อให้เกิดความสำเร็จด้วยการทำงานแบบทีม  และแสดงการยอมรับด้วยการแสดงความชื่นชมต่อผลงานที่ประสบความสำเร็จของสมาชิกต่อสาธารณชน           นอกจากนี้ผู้บริหารที่มีประสิทธิผลยังพบว่า  มีทักษะด้านมโนทัศน์ในระดับสูง  ซึ่งประกอบด้วยความสามารถในการคิดเชิงเหตุผลแบบอุปนัย สามารถเข้าใจความสัมพันธ์ขององค์ประกอบย่อยต่างๆ  ที่ประกอบขึ้นเป็นเหตุการณ์หรือสถานการณ์  มีความสามารถในการถ่ายทอดสื่อความหมายด้วยการนำเสนอเป็นรูปแบบ  เป็นมโนทัศน์ หรือเป็นประเด็นสาระสำคัญ  หรือใช้การอุปมาเปรียบเทียบให้ชัดเจนขึ้น  รวมทั้งมีความสามารถในการหาคำตอบด้วยวิธีสร้างสรรค์  สามารถมองปัญหาและเข้าใจปัญหาได้อย่างทะลุปรุโปร่ง  มีความสามารถในการคิดเชิงเหตุผลแบบนิรนัย โดยการใช้มโนทัศน์ หรือรูปแบบ มาอธิบายความหมายของเหตุการณ์หรือวิเคราะห์สถานการณ์  มีความสามารถในการแยกแยะระหว่างข้อมูลที่ไม่สามารถสอดคล้องได้  และสามารถดึงสิ่งที่ทำให้เกิดความเบี่ยงเบนแผนงานออกไปได้       ในยุคเศรษฐกิจสารสนเทศพบว่า องค์กรที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดจะต้องดำเนินธุรกิจที่ใช้ความรู้เป็นฐาน (Knowledge-based) ที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับองค์กร ในสภาวะแวดล้อมเช่นนี้ทำให้สถานศึกษาจำเป็นต้องปรับตัวเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้อย่างแท้จริง (True learning organization) เป็นที่ซึ่งสร้างความท้าท้ายให้กับผู้เรียนให้หันมาสนใจกับกิจกรรมทางวิชาการ อีกทั้งยังเป็นสถานที่ซึ่งครูผู้สอนร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับผู้บริหารในเรื่องการเรียนจัดการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน โดยเฉพาะการนำเทคโนโลยีใหม่และกลยุทธ์การสอนที่มีประสิทธิ ผลที่สุดเข้ามาใช้ในการจัดการศึกษา เช่นเดียวกัน ในโลกที่สถานศึกษาต้องเป็นองค์กรที่ใช้ความรู้เป็นฐานเช่นนี้ ผู้นำต้องมีหน้าที่สำคัญในการส่งเสริมคุณภาพของการคิด (Quality of thinking) ของทุกคนที่รวมกันเป็นชุมชนของโรงเรียน ลดเลิกการบริหารแบบควบคุมสั่งการให้น้อยลง แต่หันมาสร้างโอกาสแห่งการเรียนรู้โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างความสามารถของครู และบุคลากรให้คนเหล่านี้กลายเป็นผู้นำที่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าและนำการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นได้อย่างมีผลงานที่สร้างสรรค์ การสร้างวัฒนธรรมใหม่และการปรับปัจจัยเกื้อหนุนต่าง ๆ ของโรงเรียนที่ทำให้ทุกคนสามารถแสดงภาวะผู้นำได้อย่างกว้างขวาง ทั่วทั้งโรงเรียนจึงเต็มไปด้วยผู้นำ (“leader – full” organization) แนวคิดดังกล่าวจะบรรลุผลได้ก็ต่อเมื่อผู้นำสูงสุดของโรงเรียนจะต้องมีแนวคิดใหม่และทักษะภาวะผู้นำใหม่ กล่าวคือโรงเรียนแบบเก่าส่วนใหญ่ยังบริหารจัดการแบบรวมศูนย์ ตัดสินใจสั่งการจากบนสู่ล่าง (Top – down) และให้คุณค่าความสำคัญสูงในเรื่อง “ความมีประสิทธิภาพ” (Doing things right) มากยิ่งกว่าเรื่อง “ความมีประสิทธิผล (Doing the right thing) นิยมชมชอบต่อการรักษาสถานภาพเดิม (Maintaining the status quo) ทั้ง ๆ ที่รู้ว่าการทำเช่นนั้นไร้ประสิทธิภาพ มีผลดีเพียงน้อยนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาวะปัจจุบันที่โรงเรียนต่างเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงที่มีความซับซ้อน ไม่ชัดเจนและขาดความแน่นอน ผลเสียอย่างใหญ่หลวงจึงตกกับโรงเรียนอย่างมิอาจหลีกเลี่ยงได้ ในศตวรรษที่ 21 นี้ เศรษฐกิจแบบสารสนเทศเป็นฐานทั่วโลกเกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องด้วยอัตราความเร็วสูง ภาคธุรกิจอุตสาหกรรมมีความจำเป็นต้องมีพนักงานที่มีฝีมือระดับสูง (High performance employees) จำนวนมาก ทุนทางปัญญา หรือ Intellectual capital จึงกลายเป็นทรัพยากรสำคัญที่สุดขององค์กรและของประเทศชาติ กล่าวคือ ชาติใดที่ทุ่มเททรัพยากรและให้ความสำคัญสูงในการจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพของเยาวชน ย่อมประกันได้ว่าชาตินั้นจะมีระดับความสำเร็จทางเศรษฐกิจสูงอย่างแน่นอน ดังนั้นภาวะท้าทายต่อผู้นำทางการศึกษาก็คือ จะทำอย่างไรให้เด็กทุกคนมีระดับผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการอยู่ในระดับสูง แทนที่เคยมีเด็กเพียงจำนวนน้อยนิดที่ประสบผลสำเร็จเช่นนั้น ปัญหาใหม่ที่เผชิญหน้าก็คือ ขณะที่เราก้าวเข้าสู่ยุคศตวรรษที่ 21 แต่บรรดาโรงเรียนและวิธีสอนที่มีอยู่นั้นถูกออกแบบมาเพื่อยุคศตวรรษที่ 19 เท่านั้น ทุกวันนี้ โรงเรียนส่วนใหญ่มิได้จัดระบบที่เกื้อหนุนและกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้อย่างเหมาะสม กล่าวคือ โครงสร้างบริหารที่ล้าสมัยของโรงเรียนถูกจัดแบบราชการที่มีสายบังคับบัญชาลดหลั่นหลายระดับ มีระบบค่านิยมแบบเก่า การพัฒนาวิชาชีพครู มีปัญหาก้าวไม่ทันกับการเปลี่ยนแปลง ส่วนในโรงเรียนครูถูกจัดให้สอน (ทำงาน) คนเดียวแบบโดดเดี่ยว ขาดโอกาสทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม กับครูคนอื่นเพื่อแก้ปัญหาทางการสอน ขาดการแบ่งปันสารสนเทศซึ่งกันและกัน ขาดการร่วมเรียนรู้ ตลอดจนร่วมกันทำแผนปรับปรุงผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน เป็นต้น ในส่วนของนักเรียนก็ไม่ได้รับมอบหมายงานวิชาการอย่างมีมาตรฐานทางวิชาการสูงที่ควรเป็นให้ทำ งานที่มอบนักเรียนทำทางวิชาการส่วนใหญ่ ยังขาดความรู้สึกน่าท้าทายและให้ความสนุกเพลิดเพลินแก่ผู้เรียน เป็นต้น ด้านการบริหารเวลาพบว่ายังใช้เวลาเรียนไปอย่างขาดประสิทธิผล ส่วนเทคโนโลยีที่ช่วยส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนการสอนพบว่า ขาดแคลนหรือมีแต่ใช้ประโยชน์ไม่เต็มที่ นอกจากนี้หลักสูตรเตรียมผู้บริหารการศึกษายังขาดความเข้าใจสภาพจริงของปัญหาตลอดจนแนวทางปรับปรุงแก้ไขปัญหาเหล่านี้ ภายใต้กระบวนทัศน์การจัดการศึกษาปัจจุบัน ความจริงที่เราพบก็คือ มีนักเรียนส่วนหนึ่งประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ นักเรียนบางส่วนมีผลการเรียนรู้ที่ลดหลั่นลงไปโดยมีอีกกลุ่มหนึ่งที่ล้มเหลวจากการเรียนรู้ที่โรงเรียนจัดให้ และโดยความรับผิดชอบแล้วโรงเรียนจะต้องมีหน้าที่สำคัญยิ่งที่ต้องทำให้นักเรียนทุกคนมีความรู้และทักษะที่จำเป็นเป็นต่อความสำเร็จต่อไปในอนาคต ปัญหาใหญ่เช่นนี้จำเป็นที่เราจะต้องปรับเปลี่ยนแนวคิดใหม่เกี่ยวกับการเรียนการสอน โดยกำหนดเป็นจุดเน้นสำคัญสูงสุดของสถานศึกษาคือ การทำให้นักเรียนรู้ และผู้นำของโรงเรียนต้องมีความสามารถในการริเริ่มการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นระบบ พร้อมกับดำเนินการทุกวิถีทางที่จะช่วยยกระดับผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนให้สูงขึ้น ทั้งนี้การที่ทุกคนจะเป็นผู้นำทางวิชาการ (Instructional leaders) ได้นั้น ทั้งผู้บริหารและคณะครูอาจารย์จะต้องร่วมกันคิด ค้นหารูปแบบใหม่ (New model) ที่ใช้เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ในโรงเรียน และร่วมมือกันปฏิบัติการสอนภายใต้รูปแบบใหม่นั้น ดังนั้น โรงเรียนในวันนี้หรือเมื่อวานนี้ ย่อมไม่เหมาะสมกับความต้องการของสังคมอีกต่อไป การปรับโรงเรียนให้สอดคล้องกับโลกอนาคต จำเป็นต้องมีกลยุทธิ์ใหม่ (New strategies) มีกระบวนการบริหารจัดการใหม่ (New processes) และต้องมีทัศนคติใหม่ (New mindset) กล่าวโดยรวม เราต้องการกระบวนทัศน์ใหม่ด้านภาวะผู้นำทางวิชาการ มีความจำเป็นต้องปรับโรงเรียนให้เป็นองค์การที่รอบรู้โดยมีจุดเน้นอยู่ที่การเรียนรู้ของนักเรียนมากกว่าของครูหรือบุคคลอื่นในโรงเรียน ด้วยเหตุนี้บรรดากฎระเบียบ ตลอดจนบทบาท (Roles) และกระบวนการทำงานทั้งหลายของโรงเรียนจะต้องถูกออกแบบให้สนับสนุนและส่งเสริมการใช้ความสามารถสูงสุดของครู เพื่อให้สามารถออกแบบการจัดกิจกรรมและประสบการณ์การเรียนรู้อย่างมีคุณภาพให้แก่นักเรียนทุกคน ทฤษฎีภาวะผู้นำแบบสร้างสรรค์ (Formative Leadership Theory) ได้รับการพัฒนาโดย Ash และ Persall บนพื้นฐานความเชื่อที่ว่า “ในโรงเรียนหนึ่งอาจมีผู้นำได้หลายคน ซึ่งแสดงบทบาทการใช้ภาวะผู้นำในลักษณะต่าง ๆ มากมาย บทบาทภาวะผู้นำจึงมิได้จำเพาะเจาะจงแต่ผู้บริหารเท่านั้น” แต่หน้าที่ของผู้บริหารคือการสร้างโอกาสการเรียนรู้ให้แก่ครูอาจารย์และบุคลากรต่าง ๆ เพื่อเป็นช่องทางให้คนเหล่านี้ได้พัฒนาตนเองเข้าสู่การเป็นผู้นำที่สร้างสรรค์ (Productive leaders) ทฤษฎีภาวะผู้นำแบบสร้างสรรค์นี้มีมุมมองว่า “ครูคือผู้นำ (Teacher as leaders) โดยมีครูใหญ่คือผู้นำของผู้นำ (Leader of leaders) “อีกทอดหนึ่ง โดยนัยดังกล่าว หน้าที่สำคัญของผู้บริหาร จึงไม่เพียงแต่ส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการส่งเสริมเรียนรู้ของครูอาจารย์และบุคลากรซึ่งเป็นผู้ใหญ่ของโรงเรียนอีกด้วย การเป็นผู้นำแบบสร้างสรรค์ (The formative leader) นั้นจำเป็นจะต้องอาศัยทักษะการเอื้ออำนวยความสะดวก (Facilitation skills) อยู่ในระดับสูง ทั้งนี้เพราะสาระที่เป็นภารกิจหลักของทฤษฎีนี้ ได้แก่ การทำงานแบบทีมในการสืบเสาะหาความรู้ (Team inquiry) การเรียนรู้แบบทีม (Team learning) การร่วมมือร่วมใจกันแก้ปัญหา (Collaborative problem solving) การจินตนาการสร้างภาพของอนาคตที่ควรเป็น (Imaging future possibilities) การพิจารณาตรวจสอบความเชื่อร่วมกัน (Examining shared beliefs) การใช้คำถาม (Asking questions) การรวบรวมวิเคราะห์และแปลความข้อมูล (Collecting analyzing, and interpreting data) ตลอดจนกระตุ้นครูอาจารย์ตั้งวงสนทนาอย่างสร้างสรรค์ในเรื่องการเรียนการสอน เป็นต้น ภารกิจดังกล่าวเหล่านี้ ล้วนแสดงออกถึงพฤติกรรมภาวะผู้นำแบบสร้างสรรค์ทั้งสิ้น ต่อไปนี้จะกล่าวถึง หลักการ 10 ประการของการเป็นผู้นำแบบสร้างสรรค์ซึ่งแสดงว่า ทฤษฎีภาวะผู้นำมีกระบวนการทัศน์ใหม่ของการเป็นผู้นำเชิงคุณภาพ (Quality leadership)

บทที่ 5 ผู้นำ : คุณลักษณะและทักษะ

ติวข้อสอบ

เกี่ยวกับผู้สอน

ครูวชิรญา ศรีสวัสดิ์ เกิดวันที่ 22 มีนาคม 2526 บ้านเลขที่ 116 ม.6 ต.ย่านยาว อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย ตำแหน่ง ครู กศน.ตำบลย่านยาว สถานที่ทำงาน กศน.อำเภอสวรรคโลก 10/2 ถ.ประชาสงเคราะห์ ต.เมืองสวรรคโลก อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย 64110
5.00 (9 การให้คะแนน)

73 รายวิชา

1794 ผู้เรียน

ความคิดเห็นจากผู้เรียน

5.0

Total 1 Ratings

5
1 คะแนน
4
0 คะแนน
3
0 คะแนน
2
0 คะแนน
1
0 คะแนน
เรียน

ระยะเวลาการลงทะเบียน: Lifetime