0(0)

การเงินเพื่อชีวิต รหัสวิชา สค12021

  • ลงทะเบียนแล้ว 12
  • อัปเดตล่าสุด 11 มีนาคม 2022

หลักสูตรรายวิชา

เงินเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของประชาชนทุกคน เนื่องจากเป็นสื่อกลางที่ใช้
สำหรับแลกเปลี่ยนกับสินค้าและบริการต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในชีวิตประจำวัน นอกจากนั้น
“เงิน” ยังเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการลงทุน เพื่อเพิ่มพูนรายได้ อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันนี้สภาพ
สังคม เศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว มีวิธีทางการเงินใหม่ ๆ ถูกพัฒนาขึ้นอย่าง
หลากหลาย เช่น บัตรเครดิต บัตรเครดิต บัตรเอทีเอ็ม การทำธุรกรรมทางโทรศัพท์ ทาง
อินเทอร์เน็ต การลงทุนทางการเงินประเภทต่าง ๆ เป็นต้น และเมื่อมีการพัฒนาทางการเงิน
เพิ่มขึ้น ภัยทางการเงินก็เพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว เช่น เงินกู้นอกระบบ แชร์ลูกโซ่ ภัยการเงิน
ออนไลน์ เป็นต้น จึงต้องพัฒนาทักษะความสามารถด้านการเงินให้มีความรู้ ความเข้าใจ สามารถ
ออกแบบวางแผน และตัดสินใจทางการเงิน ตลอดจนหลีกเลี่ยง ความเสี่ยงภัยทางการเงิน อันเป็น
ประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตในปัจจุบัน

สารบัญรายวิชา

23 บทเรียน

แบบทดสอบก่อนเรียน

แบบทดสอบก่อนเรียน

บทที่ 1 ว่าด้วยเรื่องของเงิน?

เงินเป็นสิ่งสำคัญที่มีผลต่อการดำรงชีวิตในยุคปัจจุบัน เพราะเป็นสิ่งที่ใช้ในการ ซื้อหาสิ่งของหรือบริการเพื่อให้สามารถดำรงชีพ หรือเพื่อความสะดวกสบาย เงินที่รู้จักกันส่วนใหญ่ มี 2 ชนิด คือ ธนบัตรและเหรียญกษาปณ์โดยในประเทศไทยใช้สกุลเงินบาท อย่างไรก็ดี หากต้อง เดินทางหรือทำการค้าที่ต่างประเทศ ก็จะต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับเงินตราของประเทศอื่น ๆ ด้วย เมื่อได้รับเงินจากแหล่งต่าง ๆ เช่น จากการประกอบอาชีพ สิ่งที่ควรทำ คือแบ่งเงิน บางส่วนไปเก็บออมเพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ เช่น ไว้ใช้ยามฉุกเฉิน เป็นค่าใช้จ่ายหลังเกษียณหรือ เลิกทำงาน แต่บางครั้งการเก็บออมเงินไว้ใช้ยามฉุกเฉินอาจไม่เพียงพอที่จะรองรับเหตุการณ์ ไม่คาดฝัน จึงอาจต้องพิจารณาความจำเป็นในการทำประกันภัยเพื่อรองรับความเสี่ยงที่ไม่คาดคิด เช่น ประสบอุบัติเหตุ หรือเสียชีวิต ซึ่งหากเกิดเหตุการณ์นั้นบริษัทประกันภัยจะเป็นผู้จ่าย สินไหมทดแทนให้ตามเงื่อนไขที่ตกลงไว้ในกรมธรรม์ ด้วยยุคสมัยปัจจุบันเปลี่ยนไป มีการนำเทคโนโลยีมาอำนวยความสะดวกเพื่อให้ ใช้เงินได้ง่ายขึ้น ไม่ต้องพกพาเงินสดจำนวนมาก เช่น บัตรเดบิต และบัตรเครดิต ซึ่งแต่ละชนิด ออกแบบมาเพื่อลักษณะการใช้งานที่ต่างกัน นอกจากเงินจะมีบทบาทสำคัญต่อชีวิตประจำวันของทุกคน ยังเป็นสิ่งสำคัญ ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจทั้งระบบ ทั้งในด้านการลงทุน การผลิต และการจ้างงาน จึงมี ผู้ให้บริการทางการเงินในระบบจำนวนมากซึ่งมีบทบาทหน้าที่แตกต่างกันไปในการตอบสนอง ระบบเศรษฐกิจในแต่ละด้าน โดยสถาบันการเงินมีทั้งที่รับฝากเงิน และไม่ได้รับฝากเงิน ซึ่งผู้ใช้บริการทางการเงินสามารถวางใจและเชื่อถือได้ เนื่องจากมีหน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับ ดูแลอย่างใกล้ชิด

บทที่ 2 การวางแผนการเงิน

บทที่ 3 สินเชื่อ

บทที่ 4 สิทธิและหน้าที่ของผู้ใช้บริการทางการเงิน

บทที่ 5 ภัยทางการเงิน

แบบทดสอบหลังเรียน

เกี่ยวกับผู้สอน

ที่อยู่ 80 หมู่ที่ 6 ตำบลนาุท่ง อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย
4.43 (7 การให้คะแนน)

44 รายวิชา

1868 ผู้เรียน

เรียน

ระยะเวลาการลงทะเบียน: Lifetime