2.1 องค์ประกอบการวัดและประเมินผลความมั่นคงในอาชีพ
การประเมินความมั่นคงในอาชีพ ผู้รับผิดชอบในการวัดและประเมินผลที่ดีที่สุด คือ ตัวผู้ประกอบอาชีพเอง เพราะการวัดและประเมินผลความมั่นคงในอาชีพ เป็นเรื่องที่บูรณาการ สิ่งต่าง ๆ ภายในตัวของผู้ประกอบการอาชีพเอง ตั้งแต่การเรียนรู้ว่าตนเองจะทำอย่างไร การคิดเห็นคุณค่าของกิจกรรมความมั่นคงความจดจำในกิจกรรมและความรู้สึกพอใจต่อกิจกรรมเป็นเรื่องภายในทั้งสิ้น บุคคลภายนอกไม่อาจจะรู้เท่าทันดังนั้น ความมั่นคงในอาชีพตัวแปรต้นเหตุที่สำคัญ คือ ใจของผู้ประกอบการอาชีพเอง จึงจำเป็นที่จะต้องมีหลักการประเมินสภาวะใจของตนเองอย่างเป็นระบบที่ประกอบด้วยตัวแปร 4 ตัว ดังนี้ 1. การรับรู้ (วิญญาณ) 2. ความคิด (สังขาร) 3. จำได้ หมายรู้ (สัญญา) และ 4. ความรู้สึก (เวทนา)
1. วิธีการรับรู้ที่ใช้ศึกษาภารกิจสร้างความมั่นคง
2. ประเมินคุณค่าว่าดีหรือไม่ดีของภารกิจความมั่นคงที่จะดำเนินการ
3. ประเมินความจำว่าตนเองเอาใจใส่ต่อภารกิจความมั่นคงมากน้อยเพียงใด
4. ประเมินความรู้สึกที่ตนเองพึงพอใจหรือชอบต่อภารกิจความมั่นคงแบบใด
2.2 วิธีการวัดผลและประเมินผลความมั่นคงในอาชีพ
เป็นการนำตัวแปรมากำหนดตัวชี้วัด วิธีการวัดแล้วเขียนเป็นแบบวิเคราะห์ประเมินตนเอง โดยมีขั้นตอนดำเนินการ
1. การวิเคราะห์ตัวแปรกำหนดตัวชี้วัด เช่น
1.1 ตัวแปรด้านวิธีการรับรู้ ตัวบ่งชี้ คือ วิธีการเรียนรู้ที่ประกอบการ
(1) การรับรู้จากการเห็นของจริงจากการสืบค้นจากเอกสาร (ทางตา)
(2) การรับรู้จากการฟังคำบรรยาย ฟังเสียงที่เกิดในกิจกรรม (ทางหู)
(3) การรับรู้กลิ่นทางจมูก (จมูก)
(4) การรับรู้จากการชิมรส (ปาก)
(5) การรับรู้จากการสัมผัสทางกาย (กาย)
(6) การรับรู้จากการคิดทางใจ (ใจ)
1.2 ตัวแปรด้านการนึกคิดถึงคุณค่า มีตัวบ่งชี้ 3 ตัว คือ
(1) คิดว่าดี
(2) ไม่มีความคิด เฉย ๆ
(3) คิดว่าไม่ดี
1.3 ตัวแปรด้านความจำได้หมายรู้ มีตัวแปร 3 ตัว คือ
(1) จำได้ทั้งหมด
(2) จำได้บางส่วน
(3) ไม่จำ จำไม่ได้
1.4 ตัวแปรด้านความรู้สึกพอใจ มีตัวแปร 3 ตัวประกอบด้วย
(1) ชอบพึงพอใจ
(2) เฉย ๆ
(3) ไม่ชอบ ไม่พึงพอใจ
2. วิเคราะห์ตัวบ่งชี้กำหนดวิธีการวัด ตัวอย่าง เช่น
(1) ตัวชี้วัดการรับรู้ วัดว่าใช้วิธีการรับรู้แบบใดบ้าง ดังนั้นในเรื่องของความมั่นคงในอาชีพ ตัวบ่งชี้การรับรู้ คือจำนวนของวิธีการรับรู้ที่นำเข้ามาใช้แล้วให้คะแนน 1
(2) ตัวชี้วัด การนึกคิดถึงคุณค่า วัดด้วยการตัดสินใจที่ตนเองเป็นแบบใด
– คิดว่าดี ให้คะแนน 1
– เฉย ๆ ให้คะแนน 0
– คิดว่าไม่ดี ให้คะแนน -1
(3) ตัวชี้วัดด้านการจำ วัดด้วยการประมาณค่าว่าตนเองเป็นแบบใด
– มากให้ 1 คะแนน
– ปานกลาง ให้ 0 คะแนน
– น้อย ให้ -1 คะแนน
(4) ตัวชี้วัดด้านความรู้สึกพอใจ วัดด้วยการประมาณค่าที่ตนเองเป็นแบบใด
– พึงพอใจ ให้ 1 คะแนน
– เฉย ๆ ให้ 0 คะแนน
– ไม่ชอบ ให้ -1 คะแนน
3. เขียนแบบวัดความมั่นคงในอาชีพ
แบบวัดและประเมินผลมีหลายแบบ สำหรับการวัดผลความมั่นคงในอาชีพเป็นแบบประเมินตนเอง ที่มีองค์ประกอบร่วม 2 องค์ประกอบ คือ
(1) ภารกิจและกิจกรรม
(2) ตัวแปรด้านนามธรรมหรือใจของผู้ประเมินตนเอง และตัวบ่งชี้วัดองค์ประกอบทั้ง 2 ด้านดังกล่าว ได้ถูกนำมาจัดเป็นแบบวัดผลความมั่นคงในอาชีพ ดังตัวอย่าง
4. การประเมินผล เป็นกิจกรรมการวิเคราะห์ ตีค่า แปรผล และสรุปผล ดังนี้
4.1 การวิเคราะห์ผล จากแบบวัดผล มีรายละเอียด ดังนี้
(1) ตัวแปรด้านการรับรู้ในแบบวัดกำหนดไว้เพียง 3 วิธีการ การวิเคราะห์ผลโดยนับจำนวนวิธีการที่ใช้จริง โดยให้คะแนนวิธีการละ 1 คะแนน
(2) ตัวแปรด้านการคิดถึงคุณค่า ประกอบด้วย
– คิดว่าเป็นสิ่งดี ให้คะแนน = 1
– คิดว่าเฉย ๆ ให้คะแนน = 0
– คิดว่าไม่ดี ให้คะแนน = -1
(3) ตัวแปรด้านการจำได้ หมายรู้ ประกอบด้วย
– จำได้มากกว่าร้อยละ 80 ให้คะแนน = 1
– จำได้ปานกลางร้อยละ 50-79 ให้คะแนน = 0
– จำได้ต่ำกว่าร้อยละ 50 ให้คะแนน = -1
(4) ตัวแปรด้านความรู้สึก ประกอบด้วย
– ถ้าเห็นว่าพึงพอใจ ให้คะแนน = -1
– ถ้าเห็นว่าเฉย ๆ ให้คะแนน = 0
– ถ้าเห็นว่าไม่ชอบ ให้คะแนน = -1
4.2 การตีค่าผลการวิเคราะห์ มีรายละเอียด ดังนี้
4.2.1 ตัวแปรด้านนามธรรม
(1) ผลงานด้านนามธรรมหรือใจของผู้ประเมินตนเอง
(2) การตีค่าผลการวิเคราะห์ด้านการรับรู้ต่อภารกิจความมั่นคงธุรกิจ
(3) การตีค่าผลการวิเคราะห์ด้านการนึกคิดคุณค่าของระบบความมั่นคงธุรกิจ
(4) การตีค่าด้านความจำได้หมายรู้ต่อระบบความมั่นคงธุรกิจ
(5) การตีค่าด้านความรู้สึกต่อภารกิจความมั่นคงธุรกิจ
4.2.2. ด้านภารกิจ ในแต่ละภารกิจมีส่วนร่วมต่อความมั่นคงของธุรกิจอย่างไร
2.3 การแปรผลการประเมินตนเอง
การวัดและประเมินผลเป็นเรื่องของการประเมินตนเองเพื่อให้รู้จักและเข้าใจตนเอง เพราะกิจกรรมสร้างความเข้มแข็ง มั่นคงในธุรกิจ เป็นเรื่องที่เจ้าของธุรกิจ จะต้องเอาใจใส่ จะบอกว่า ภารกิจนี้ไม่ชอบคงไม่ได้ แต่การประเมินต้องถามใจว่าเราเป็นอย่างไรกันแน่ แล้ววัดและประเมินผลไปตามสภาพจริง ส่วนผลจะออกมาอย่างไรแล้วเราจะทำอย่างไรอยู่ที่ตัวเราเอง จึงขอยกตัวอย่างผลการวิเคราะห์ ตีค่าแปรผล และอภิปรายผลของเจ้าของธุรกิจท่านหนึ่ง